โรคนอนกรนในเด็ก....อย่านิ่งนอนใจ


เพิ่มเพื่อน    

สุขภาพการนอนของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากเด็กมีปัญหาด้านการนอนย่อมส่งผลกระทบถึงพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ อารมณ์ สติปัญญา โดยเฉพาะปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เด็กประมาณ 3-12% พบมีอาการนอนกรน และพบบ่อยในช่วงอายุก่อนวัยเรียนหรือในระดับช่วงวัยอนุบาล ปัจจุบันภาวะการนอนกรนที่เป็นอันตรายในเด็กพบมากขึ้นประมาณ 10% มักพบในช่วงอายุก่อนวัยเรียน และช่วงวัยอนุบาล ผู้ปกครองควรเฝ้าสังเกต หากลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ หงุดหงิดง่าย สมาธิสั้น เป็นต้น

พญ.ภัสสรา เลียงธนสาร แพทย์กุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า อาการนอนกรน (Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS) คือ ความผิดปกติของระบบการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับ เกิดจากทางเดินหายใจมีการอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมักเกิดเป็นพักๆ ในขณะหลับ จึงทำให้เกิดการรบกวนต่อระบบการระบายลมหายใจและระบบการนอนหลับ 

ภาวะนอนกรนในเด็ก (Snoring Children) พบได้ประมาณ 2% ของประชากร และพบได้ทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเท่าๆ กัน แต่จะพบในแบบที่ไม่เป็นอันตรายบ่อยกว่า ซึ่งทั้งนี้แพทย์จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยเด็กที่นอนกรนในลักษณะอันตราย หรือมีความผิดปกติของการหายใจ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ การนอนกรนอาจเป็นอันตรายได้ หากการนอนกรนนั้นเกิดร่วมกับภาวะการหายใจที่ลดลง หรือหยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome) 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1.ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากการหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจแคบหรือตัน 2.ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากความผิดปกติของสมองที่ควบคุมการหายใจหรือกล้ามเนื้อ ซึ่งในแบบแรกจะพบได้ค่อนข้างบ่อยกว่า ในช่วงอายุประมาณ 2-6 ขวบ เพราะทางเดินหายใจของเด็กในวัยนี้ยังมีขนาดเล็ก หากยิ่งมีอาการป่วย เป็นหวัดบ่อยๆ จะยิ่งทำให้ต่อมทอนซิลกับต่อมอะดีนอยด์โตขึ้นจากการอักเสบ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง ทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ต้องใช้พลังในการหายใจค่อนข้างมาก เวลานอนจะกระสับกระส่าย ทำให้ตื่นนอนบ่อย ส่งผลให้การนอนหลับในตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ, นอนหลับได้ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบมาถึงการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก 

ภาวะเสี่ยงอาการหยุดหายใจในขณะหลับมีสาเหตุมาจากต่อมทอนซิล (Tonsils) และต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid) โต ซึ่งเป็นผลมาจากการอักเสบซ้ำๆ จากการอาการภูมิแพ้ หรือเป็นหวัดบ่อยๆ ในเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก นอกจากนี้ยังมีสาเหตุร่วม ได้แก่ เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (โรคอ้วน), เด็กที่มีความผิดปกติของโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจ เช่น กรามมีขนาดเล็ก มีทางเดินหายใจที่แคบกว่าปกติ, มีความผิดปกติของสมองที่ทำให้การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ, เด็กที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่างๆ, เด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม อย่างดาวน์ซินโดรม รวมถึงเด็กที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง นอกจากภาวะนอนกรน หรือการหยุดหายใจขณะหลับ ยังส่งผลให้มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ทำให้เรียนหนังสือไม่เต็มที่

การนอนธรรมดาอาจสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นการนอนกรนธรรมดา (Primary snoring) หรือบางส่วนนั้นถือเป็นปกติและไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก แต่เมื่อใดก็ตามที่เป็นภาวะหยุดหายใจในขณะหลับจากการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ถือเป็นภาวะที่อันตรายมากสำหรับเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะการอุดกั้นสมบูรณ์จะส่งผลทำให้กลายเป็นคนนอนหลับยาก หากไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีจะส่งผลกระทบเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็กและมีปัญหาโรคหัวใจในอนาคตได้ ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการเด็กได้ เช่น การนอนกรนเกิดขึ้นเป็นบางช่วงของการหลับ, นอนกรนเป็นประจำแต่อาจไม่ถึงกับทุกคืน, นอนอ้าปากหายใจ หายใจแรง หายใจสะดุดหรือหายใจเป็นเฮือกๆ มีอาการไอ หรือมีอาการสำลักตอนนอน อาการร่วมอื่นๆ เช่น หลังจากตื่นนอนอาจมีปวดศีรษะ สมาธิสั้น ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้ไม่ค่อยดี บางคนอาจปัสสาวะรดที่นอนหรือเดินละเมอ เป็นต้น

นพ.ภาสกร ถาวรนันท์ แพทย์ประจำศูนย์หู คอ จมูก กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในส่วนของการรักษานั้น เริ่มต้นจากการตรวจคัดกรอง แพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติรวมถึงข้อซักถามเพิ่มเติม หากพบว่าเด็กมีภาวะเสี่ยงของโรค หรือทำการเอกซเรย์ในรายที่พบข้อสงสัย อาจใช้วิธีการตรวจ Sleep Test ทดสอบการนอนหลับข้ามคืนในโรงพยาบาลก่อนแล้วถึงจะทำการวินิจฉัย การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการก่อนได้ มีการศึกษาว่าการตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์จะช่วยให้คุณภาพการนอนหลับของเด็กดีขึ้น สุขภาพและพฤติกรรมของเด็กดีขึ้น การควบคุมการทำงานของสมองดีขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ และสมาธิก็จะดีขึ้น หากในรายที่มีปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ไม่สามารถผ่าตัดได้ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) เพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับ เป็นการรักษาที่ได้ผลดีเช่นกัน โดยเครื่องอัดแรงดันบวกทำงานโดยการเป่าลมเข้าไปในทางเดินหายใจผ่านทางหน้ากากที่ผู้ป่วยสวมขณะหลับ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยป้องกันการอุดกั้นของทางเดินหายใจได้ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีไหนนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา.   

ขอบคุณาภพจาก http://mariannetheuma.com/sleep/


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"