รมว.วัฒนธรรมสั่งสำนักจดหมายเหตุแห่งชาติส่งเจ้าหน้าที่จดบันทึกเหตุการณ์และภาพการกู้ภัยทีมหมูป่าเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติ ให้เห็นถึงการหลอมรวมความสมานสามัคคีของคนไทย และเห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อวันพุธ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตนได้สั่งการไปยังสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในการส่งเจ้าหน้าที่ นักจดหมายเหตุ เพื่อทำการจดบันทึกเหตุการณ์และภาพประวัติศาสตร์การช่วยชีวิตกลุ่มเยาวชนและผู้ช่วยโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 คนที่ติดในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่มีคนทั้งโลกต่างให้ความสนใจ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีพระเมตตา และทรงห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว
อีกทั้งเป็นการหลอมรวมความสมานสามัคคี การส่งพลังน้ำใจจากทุกฝ่าย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาช่วยเหลือ พร้อมให้กำลังใจกับทั้ง 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำ นอกจากนี้ ยังมีการประสานงานระดับชาติในการระดมความร่วมมือกันวางแผนการดำเนินงานอย่างมีระบบตามมาตรฐานสากล
นายวีระกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ จะมีการประมวลสถานการณ์และลำดับเหตุการณ์อย่างรอบด้าน ไล่เรียงตามวันเวลา ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.2561 ซึ่งทีมหมูป่าอะคาเดมีติดในถ้ำ ภารกิจการวางแผนการค้นหา กู้ภัย ช่วยชีวิต การระดมพลังจิตอาสา การลงพื้นที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การประสานงานกับทีมผู้ช่วยเหลือจากต่างประเทศ การรายงานข่าวจากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนให้สัมภาษณ์ความรู้สึกของพ่อแม่ผู้ปกครองเยาวชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
"เมื่อทุกคนออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว จะมีการสัมภาษณ์ความรู้สึกของทั้ง 13 ชีวิตด้วย อย่างไรก็ตาม ได้เน้นย้ำว่าการดำเนินงานบันทึกจดหมายเหตุ จะต้องไม่กระทบต่อการทำงานของทีมช่วยเหลือ เบื้องต้นจะรวบรวมข้อมูลจากสื่อต่างๆ ทุกช่องทาง จากนั้นจะมีการนำมาประมวลเหตุการณ์ต่อไป" รมว.วธ.กล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง โพล พฤติกรรมคนติดตามข่าวสารช่วยเด็กนักเรียนออกจากถ้ำหลวง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวน 1,052 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน-3 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา
เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.7 ตื่นเช้าขึ้นมา เปิดโทรทัศน์รับข่าวสารเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ร้อยละ 39.7 เปิดโทรศัพท์มือถือ และรองๆ ลงไปคือ วิทยุ คอมพิวเตอร์ และหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ และเมื่อถามว่าติดตามข่าวอะไรอันดับแรก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.1 ระบุตื่นเช้าขึ้นมาติดตามข่าวเด็กนักเรียนติดถ้ำ รองลงมาคือ ร้อยละ 7.5 ติดตามข่าวอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยของประชาชน และเพียงร้อยละ 6.5 เท่านั้นที่สนใจติดตามข่าวดูด ส.ส.เข้าพรรคการเมือง, ร้อยละ 4.0 ติดตามข่าวฟุตบอลโลก ในขณะที่ร้อยละ 1.1 ติดตามข่าวดารา บันเทิง และร้อยละ 0.8 ติดตามข่าวหุ้น เศรษฐกิจ ตามลำดับ
เมื่อถามว่า ติดตามข่าวช่วยเด็กนักเรียนติดถ้ำผ่านสื่อใดอันดับแรก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.5 ยังคงติดตามข่าวช่วยเด็กติดถ้ำผ่านสื่อกระแสหลักทั่วไป เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ในขณะที่ร้อยละ 34.5 ติดตามข่าวผ่านสื่อโลกโซเชียลฯ ได้แก่ เว็บไซต์ข่าว ไลน์ ยูทูบ ทวิตเตอร์ เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 เพิ่งจะรู้ว่าถ้ำหลวงยาวประมาณ 7 กิโลเมตร หลังมีข่าวเด็กนักเรียนติดถ้ำหลวง ในขณะที่เพียงร้อยละ 12.1 รู้มาก่อนแล้ว
นอกจากนี้ เนื้อหาข่าวที่ประชาชนสนใจติดตามช่วยเหลือเด็กนักเรียนติดถ้ำ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.7 ระบุข่าวการปฏิบัติการของหน่วยซีลของไทยช่วยเด็กนักเรียนติดถ้ำ รองลงมาคือร้อยละ 66.4 ระบุพลังความรักความสามัคคีของคนในชาติ, ร้อยละ 55.1 ระบุ การปฏิบัติการของทีมงานชาวต่างชาติ เช่น อังกฤษ สหรัฐ จีน ฯลฯ, ร้อยละ 47.8 ระบุการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ค้นหาเด็กนักเรียน, ร้อยละ 45.5 ระบุการใช้ความเชื่อ ความศรัทธา สิ่งเหนือธรรมชาติ, ร้อยละ 32.8 ระบุเทคนิคการนำเสนอข่าว ความน่าสนใจของการนำเสนอข่าว และร้อยละ 28.9 ระบุอื่นๆ เช่น สุขภาพ และการดูแลช่วยเหลือทางการแพทย์ การพัฒนาถ้ำหลวง การใช้ประโยชน์แหล่งธรรมชาติของถ้ำหลวง เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ระบุเห็นด้วยให้ถ้ำหลวงเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยว ยาวตลอดจนปากถ้ำ ถึงจุดพบเด็กนักเรียนติดอยู่ในถ้ำ ในขณะที่ร้อยละ 4.3 ไม่เห็นด้วย
เมื่อถามถึงสิ่งที่นักเรียนควรทำหลังจากได้รับการช่วยเหลือจนสุขภาพดีแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ระบุควรแสดงความจงรักภักดีต่อในหลวง และสถาบันหลักของชาติ รองลงมาคือร้อยละ 71.1 ระบุควร ขอบคุณเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการช่วยเหลือ, ร้อยละ 70.4 ระบุขอบคุณพ่อแม่พี่น้องประชาชนทั้งประเทศ, ร้อยละ 68.1 ระบุบำเพ็ญประโยชน์ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน, ร้อยละ 66.7 ระบุสัญญาว่าจะมีวินัย ปฏิบัติตามระเบียบ ไม่ทำผิดกฎเกณฑ์, ร้อยละ 64.5 ระบุสัญญาว่าจะเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ, ร้อยละ 59.4 ระบุตั้งใจเรียน, ร้อยละ 57.1 ระบุฝึกฝนเป็นนักฟุตบอลที่เก่งของประเทศ และร้อยละ 54.9 ระบุช่วยดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |