สนช.ลุยพรบ.สงฆ์3วาระรวด


เพิ่มเพื่อน    

    สนช.ถกด่วนแก้ พ.ร.บ.สงฆ์ 3 วาระรวด   กฤษฎีกาชี้แต่งตั้ง "มส." เป็นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ ไม่เพิ่มพระราชภาระ เครือข่ายพุทธฯ บี้ตีตกกฎหมาย อ้างผิดวินัยสงฆ์ร้ายแรง หวั่นฮั้ว-ซื้อขายสมณศักดิ์
    ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) แถลงภายหลังการประชุมว่า ในวันที่ 5 ก.ค.นี้ จะมีการประชุม สนช. พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 สามวาระรวด โดยไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทั้งนี้ จะมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชี้แจง 
    ทั้งนี้ เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา http://www.krisdika.go.th/wps/portal/general ได้เผยแพร่สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ กรณีที่มีผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ จะเป็นการเพิ่มพระราชภาระของพระมหากษัตริย์โดยไม่สมควรนั้น 
    คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า บทบัญญัติที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ รวมถึงการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) นั้น เป็นพระราชอำนาจมาแต่โบราณกาลตามโบราณราชประเพณี ซึ่งรัฐธรรมนูญตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ได้บัญญัติรับรองไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก กรณีดังกล่าว จึงเป็นพระราชอำนาจที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ มิใช่พระราชภาระที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติมแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี คณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้แก้ไขถ้อยคำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นตามความมุ่งหมายดังกล่าว 
    สำหรับความคิดเห็นของพระภิกษุและประชาชนทั่วไปที่ให้ความเห็นว่า ไม่ควรให้นักการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้ง มส. เนื่องจากนักการเมืองอาจใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เช่นเดียวกับกฎหมายทั่วไปที่ได้กำหนดให้มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน
    วันเดียวกัน น.ส.เบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความปกป้องพระพุทธศาสนา และองค์กรสื่อสารมวลชนพระพุทธศาสนา พร้อมด้วยนายประพันธุ์ กิตติฤดีกุล ผู้ประสานงานชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา และเครือข่ายองค์กรพุทธทั่วประเทศ ยื่นหนังสือถึง สนช. เพื่อเรียกร้องให้ยุติการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และตีตกร่างกฎหมายดังกล่าวไป เพราะมีเนื้อหาที่ผิดวินัยสงฆ์อย่างร้ายแรง ซึ่ง พ.ร.บ.สงฆ์ จะต้องให้คณะสงฆ์เป็นผู้ร่าง ในลักษณะ “สงฆ์ต้องปกครองสงฆ์” เท่านั้น และยังเห็นว่าการยกร่างกฎหมายที่บังคับใช้กับคณะสงฆ์นั้น ควรประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในภาวะบ้านเมืองปกติ จึงจะชอบด้วยกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจนมีผลกระทบต่อประชาชน พร้อมขอให้ สนช.เข้าชื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 77 และมาตรา 148 หรือไม่ เพราะเห็นว่าการออกกฎหมายดังกล่าวรวบรัดเร่งรีบ
    นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงการแต่งตั้งสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ โดยให้พระสงฆ์ผู้มีพรรษาน้อยมาปกครองสงฆ์ที่มีพรรษามาก จะผิดต่อหลักพระธรรมวินัย และกังวลว่าอาจเกิดการแย่งตำแหน่งวงการสงฆ์ และอาจมีการซื้อขายสมณศักดิ์ตามมา ดังนั้น การยุบอำนาจ มส.เป็นการลดอำนาจการปกครองสงฆ์ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้อำนาจนายกรัฐมนตรีและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแต่งตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ ซึ่งอาจเกิดการฮั้วกับนักการเมืองหรือข้าราชการในการแต่งตั้งได้ จึงเห็นว่าการแต่งตั้งของพระสงฆ์จะต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะสงฆ์ชั้นพระราชาคณะ และให้สมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายและรับสนองพระราชโองการ เพื่อให้ปลอดอำนาจการเมือง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"