โกงจัดซื้อครุภัณฑ์-กองทุนเสมาฯคืบใกล้สรุป


เพิ่มเพื่อน    


"โกศล" เผยผลตรวจสอบ โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ฝึกทักษะมัธยมศึกษาตอนต้น คืบหน้ากว่า 90% คาดสรุปเสนอ "รมว.ศธ." ได้ ภายในเดือน ก.ค.นี้ แย้มพบความไม่ชอบมาพากลโยงมาถึงสพฐ.หลายอย่าง ส่วนโกงเงินเด็กกองทุนเสมาฯ  คืบกว่า 80% ป.ป.ง เดินหน้า ยึดทรัพย์ "รจนา"  เผย ส่วนใหญ่ติดจำนองแทบทั้งสิ้น   แย้ม คงต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบหาผู้รับผิดทางละเมิดขึ้น เบื้องต้น เสนอ ข้อมูล "ปลัด ศธ." แล้ว


4ก.ค.61-พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ปรึกษา รมว.ศธ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทุจริตภายในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการจัดซื้อครุภัณฑ์ฝึกทักษะมัธยมศึกษาตอนต้น งบประมาณ 6 แสนบาทต่อโรงเรียน วงเงิน 279 ล้านบาท ของเขตพื้นที่การศึกษาในภาคอีสาน ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายอรรถพล ตรึกตรอง ผู้ตรวจราชการ ศธ.ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้มารายงานว่าเรื่องนี้มีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 90 แล้ว อีกทั้งยังได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ปากคำตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อสั่งการของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ. ใน 4 ประเด็น คือ 1.การจัดสรรงบค่าครุภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการของโรงเรียนหรือไม่ 2.การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมหรือไม่ 3.มีการล็อคสเปกรายการครุภัณฑ์ตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือไม่ และ 4.มีความบกพร่องในการบริหารงบประมาณหรือไม่

พล.ท.โกศล กล่าวต่อว่า สำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้ง 4 ประเด็น พบว่าเข้าข่ายมีมูลความไม่ชอบมาพากลอย่างแน่นอน โดยเฉพาะข้อมูลงบประมาณการจัดสรรค่าครุภัณฑ์ฝึกทักษะ ปี 2561 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นั้น ที่สพฐ.ได้มีการสำรวจโรงเรียนที่เปิดสอนสายอาชีพผ่านแอพพลิเคชั่นว่ามีโรงเรียนใดบ้าง มีนักเรียนจำนวนเท่าไร โดยมีโรงเรียนได้รายงานข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นดังกล่าวทั้งหมดทั่วประเทศ จำนวน 717 โรง แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกลับพบ สพฐ.จัดสรรงบฯ ดังกล่าวในโรงเรียน 458 โรง และในจำนวนนี้ไม่ได้เกิดจากการร้องขอครุภัณฑ์แม้แต่โรงเรียนเดียว ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่าเหตุใด สพฐ.ถึงไม่นำฐานข้อมูลจากแอพลิเคชั่นนี้ มาใช้เป็นฐานในการจัดสรรงบฯ ขณะเดียวกันเรื่องนี้คณะกรรมการตรวจสอบก็พบมีการล็อกสเปกเกิดขึ้น เพราะเขตพื้นที่ได้มีการเรียกประชุมจัดทำแพ็คเกจครุภัณฑ์ให้โรงเรียนไว้แล้ว และโรงเรียนที่ได้รับจัดสรรไม่ตรงกับความต้องการ อีกทั้งโรงเรียนหลายแห่งได้รับการจัดสรรครุภัณฑ์มากกว่า 2 รายการ

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้ตั้งข้อสังเกตระบบการจัดสรรงบประมาณของ สพฐ.พบว่าไม่มีฐานข้อมูลในการจัดสรรงบฯ ต่างๆ และการจัดสรรงบก็ทำล่าช้า เช่น  การจัดสรรงบจะต้องทำให้เสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2560 เพราะในวันที่ 2 ตุลาคม 2560 จะเป็นวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 มีผลบังคับใช้ แต่จากการตรวจสอบพบ ในวันที่ 10 ตุลาคม 2560 สพฐ.กลับแจ้งเฉพาะรหัสงบประมาณไปยังเขตพื้นที่เท่านั้นบัญชีการจัดสรรงบประมาณกลับไปตามลงไปด้วย และเพิ่งมาแจ้งบัญชีการจัดสรรในวันที่ 26 ธันวาคม 2560 ทั้งๆ ที่มาตรการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ระบุว่าต้องก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560  อีกทั้ง ครม.ยังมีมติขยายเวลาให้จัดสรรงบให้แล้วเสร็จอีกในไตรมาสสอง คือ 31 มีนาคม 2561 แต่พบ สพฐ.กลับคิดเปลี่ยนแปลงงบประมาณไปทำอย่างอื่นแล้วก็ไม่ทำ ดังนั้นการลงพื้นที่ของคณะกรรมการฯจึงไม่แปลกใจว่าทำไมงบ สพฐ.ถึงต้องตกไปจำนวนมาก เพราะมีการบริหารงบล่าช้า และเวลาการแจ้งบัญชีจัดสรรงบ กับ การทำคู่มือการบันทึกข้อมูลรหัสงบประมาณและแหล่งของเงินในระบบ e-GP เพื่อรองรับมาตรการเร่งรัดเบิกจ่าย ไม่ได้ไปพร้อมกัน และไม่ยอมทำความเข้าใจกับเขตพื้นที่ ลากเกมมาเรื่อยๆ จนเมื่อมีการแจ้งบัญชีจัดสรรกลับทำเรื่องหาย เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถตอบเรื่องนี้ได้อ้างว่านายสั่ง ซึ่งในที่สุดก็จัดสรรงบจริงในวันที่  26 ธันวาคม 2560 แต่เอาข้อมูลไหนมาจัดสรร ทั้งนี้คณะกรรมการฯ จะสรุปข้อมูลทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือน กรกฎาคมนี้ จากนั้นจะเสนอ รมว.ศธ.พิจารณาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป” ที่ปรึกษา รมว.ศธ.กล่าว

ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบการทุจริตเงินกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต นายอรรถพล ตรึกตรอง ผู้ตรวจราชการศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงกรณีกองทุนเสมาฯ กล่าวว่ามีความคืบหน้า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ท.) ได้มีการดำเนินการเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวนแล้ว ซึ่งมีความคืบหน้า 80% เพราะมีผู้ถูกกล่าวหาบางคนติดคุกไปแล้วในคดีอื่น และในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง) ก็กำลังดำเนินการยึดทรัพย์สินของนางรจนา สินที อดีตข้าราชระดับ 8  ศธ. ซึ่งทรัพย์ที่ยึดได้จากนางรจนามีมูลค่า 3 ล้านบาท และส่วนใหญ่ทรัพย์สินของนางรจนาและเครือข่ายติดจำนองแทบทั้งสิ้น   ดังนั้น ในประเด็นนี้จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบหาผู้รับผิดทางละเมิดขึ้น ซึ่งตนได้ทำข้อมูลเสนอนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัด ศธ.แล้ว เพราะผู้เกี่ยวข้องเป็นข้าราชการหลายสังกัด  แบ่งเป็นหลายกลุ่มคือ ระดับ 11 รัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา ซึ่งก็มีทั้งในสังกัด ศธ.และสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่ระดับ 8-10 เป็นอำนาจของผู้บริหารองค์กรหลักใน 2 องค์กร  ซึ่งนายการุณจึงได้ทำหนังสือขอคำแนะนำไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อพิจารณาให้คำแนะนำ และ ก.พ. ตอบกลับมาแล้วว่าให้ผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้งเป็นคนออกคำสั่งแยกกันไป

 “สำหรับการตั้งคณะกรรมการสอบหาผู้รับผิดชอบนั้นก็เพื่อหาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบจำนวนเท่าไหร่ แต่ดูสถานการณ์แล้วผู้รับผิดชอบน่าจะเป็นผู้เกี่ยวข้องเป็นหลักที่เซ็นอนุมัติงบกองทุนเพื่อเบิกจ่ายเป็นทุนให้แก่นักเรียนในแต่ละครั้ง เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นคงเรียกจากตัวการคือนางรจนาไม่ได้” ประธานคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"