การแสดงที่ผ่านมาของวงTYO
ปีที่แล้ว วงดุริยางค์เยาวชนไทยในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (Thai Youth Orchestra :TYO ) ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)กระทรวงวัฒนธรรม ได้ไปคว้ารางวัลแชมป์โลกเวทีเทศกาลดนตรีเยาวชนนานาชาติครั้งที่ 11 หรือ 11th Summacum laude International Youth Music Festival Vienna2017 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
มาในปีนี้วงTYO ได้รับเชิญจากรัฐบาลประเทศสเปน ให้ร่วมแสดงดนตรีอีกครั้ง ในงานเทศกาลดนตรีสากลของเยาวชนออเคสตรา ปีที่ 6 หรือ International Alicante of Youth Orchertra :FIJO ที่ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2561 ในจำนวนการแสดง 6 รอบ ร่วมกับวงดนตรีซิมโฟนี ออเคสตราอีก 4ประเทศ ได้แก่ สเปน เจ้าภาพ สหรัฐอเมริกา รัสเซียและสวิตเซอร์แลนด์ การเป็นวงสายเลือดภาคพื้นตะวันออกชาติเดียวที่ร่วมเวทีแสดงคอนเสิร์ตครั้้งนี้ของTYO ที่ประชันกับอีก4ประเทศ เชื้อสายตะวันตกที่เป็นต้นตำรับดนตรีคลาสสิก นับเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในวงการดนตรีคลาสสิกไทย และเยาวชนไทยที่ได้ไปแสดงพลังดนตรีในเวทีระดับสากลครั้งนี้
อัครวัฒน์ ศรีณรงค์ หรือเป้ ผู้อำนวยการวงวงดุริยางค์เยาวชนไทยในพระอุปถัมภ์ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
"นับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลต่างชาติมาเชิญTYO ไปแสดง นับเป็นเกียรติประวัติของประเทศและเกียรติประวัติของวง ซึ่งเด็กๆมีความตั้งใจสูงมาก" อัครวัฒน์ ศรีณรงค์ หรือ" เป้" อดีตนักเรียนทุนดนตรีคลาสสิกคนแรกในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ฯ และปัจจุบันเปํนผู้อำนวยการของTYO กล่าว
80 ชีวิตที่ไปร่วมแสดง แบ่งเป็นนักดนตรี 60คนและทีมงาน อีก 20คน นับว่าเป็นคณะใหญ่ แม้อัครวัฒน์ จะบอกว่า ยังไม่ได้เต็มวง หรือเต็มระดับของความเป็นซิมโฟนี แต่ทั้งหมดก็ล้วนมุ่งมั่นโชว์ความเป็นไทยให้ชาวต่างชาติได้ประจักษ์
"เรื่องของวัฒนธรรมไทย ไม่จำเป็นต้องนำเสนอแต่เรื่องไทยๆเท่านั้น เช่น รำไทย นาฎศิลป์ หรือแสดงโชน วัฒนธรรมไทยก็คือ การที่คนไทยไปสร้างชื่อเสียง แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความสามารถ อย่างที่่TYO ไปได้รางวัลที่เวียนนา เมื่อปีที่แล้ว นับเป็นการนำเสนอความเป็นไทย ผ่านความเป็นสากล ดนตรีคลาสสิกไม่ใช่ของประเทศไหนอีกแล้ว ไม่ใช่ของตะวันตก เป็นCross Culture เป็นสมบัติของมนุษยยชาติ เหมือนศิลปะอีกหลายแขนง ซึ่งเยาวชนของเราจะไปแสดงความสามารถให้เห็นว่าเราสามารถเล่นเพลงระดับโลกได้ "อัครวัฒน์กล่าว
ในการแสดง 6รอบ อัครวัฒน์บอกว่า จะเปิดด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี และช่วงสำคัญคือการนำเสนอ โดยนำบทเพลงพระราชนิพนธ์หลายๆเพลงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงร. 9 ที่เรียงร้อยเป็นบทเพลงเดียว โดยวงเอ็นเอชเคซิมโฟนีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความไพเราะและมีความเป็นสากลสูงมากมาบรรเลง ในช่วงเวลา 45นาที
นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอความสามารถของคีตกวีชาวไทยที่แต่งเพลงที่มีความไทย แต่ก็มีความเป็นสากลอยู่ด้วย โดยเลือกเพลง ราตรีประดับดาวของอาจารย์ ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร อาจารย์ภาควิชาดนตรี คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นนักประพันธ์ดนตรีระดับนานาชาติ เพลงที่แต่งมีความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นดนตรีคลาสสิกร่วมสมัยและมีความเป็นไทยด้วยในวเลาเดียวกัน รวมทั้งยังมีเพลง พม่ารำขวามขวานและเพลง Romeo & Juliet Deep Impression อีกด้วย
"3บทเพลงที่นำเสนอใน 3คอนเสิร์ต มีความเป็นไทยอยู่ในนั้น ส่วนอีก3คอนเสิร์ตเราจะร่วมบรรเลงกับวงออเคสตรา อีก4ประเทศ ในบทเพลงที่ยิ่งใหญ่มากเช่น เล่นเพลงของไชคอฟสกี้ ร่วมกับวงของรัสเซีย ซึ่งการเล่นร่วมกับนักดนตรีประเทศอื่นๆกว่า 200 คน นับเป็นการประกาศศักดา นำเสนอความสามารถของวงดนตรีคลาสสิกไทยว่าสามารถบรรเลงเพลงระดับโลก เล่นในมาตรฐานที่เจ้าของเพลงเล่นได้"ผู้อำนวยการTYO กล่าว
การฝึกซ้อมของวง
ช่วง 3ปีที่มารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการวงTYO ต่อจากอาจารย์ภูกร ศรีณรงค์ ที่เป็นคุณพ่อ อัครวัฒน์ บอกว่า ถึงเวลาที่ TYO จะต้องเปลี่ยนแปลง ปรัชญาของเขากับอาจารย์ภูกร มีความแตกต่างกันตามประสาคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการมองว่า TYO เป็นวงดนตรีคลาสสิกเยาวชนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 30ปี และบทบาทของTYO ต่อวงการดนตรีไทย ในฐานะผู้ผลิตบุคคลากรด้านดนตรีที่มีคุณภาพให้กับวงการดนตรีไทยไม่ต่ำกว่าพันคน ที่ปัจจุบันมีทั้งผู้เป็นอาจารย์ คณบดี หรือบุคคลากรในวงการดนตรีไทย ที่มีความสามารถ เชื่อว่า80% ของบุคคลเหล่านี้ล้วนมาจาก TYO แทบทั้งนั้น
"ผมรับช่วงจากคุณพ่อ เป็นความรับผิดชอบส่วนตัวและทั้งในฐานะเป็นนักเรียนทุนด้านดนตรีคนแรกของสมเด็จพระพี่นางฯ ผมมองเห็นความสำคัญของดนตรีเหมือนพระองค์ท่าน ที่ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์วงTYO ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสังคมไทย ไม่ใช่แค่วงการดนตรีคลาสสิกเท่านั้น เพราะเป็นโอกาสที่มอบให้เยาวชนมาแสดงความสามารถหลายๆด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้านดนตรีอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างบางสิ่งบางอย่างในตัวเขา ก่อนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทั้งความรับผิดชอบ อดทน และการร่วมทำงานกันเป็นทีม เนื่องจาก แต่ละคนล้วนมีแบล็กกราวด์ที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนมาด้วยใจ ที่อยากเล่นดนตรีที่ดี "
ภายใต้การบริหารในยุคของเขา อัครวัฒน์บอกว่า มาถึงวันนี้ TYO ต้องมีการรีแบรนด์ ปรับภาพลักษณ์ ปรับมาตรฐานการทำงาน และวางเป้าหมายใหม่ จากที่แค่ต้องการสร้างคน ให้โอกาสคนรุ่นใหม่เข้าสู่วงการดนตรี มาเป็นการทำให้ "TYO ไปอยู่ในที่ ที่ควรอยู่ "
"เป้าของผมคือ การทำให้วง ดีที่สุดในละแวกนี้่ และประสบการณ์ดนตรีในต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นต้องมี แสดงต่างประเทศสม่ำเสมอ และไม่ใช่แค่ปีละ2-3ครั้ง แต่เป็นปีละไม่ต่ำกว่า10 คอนเสิร์ต"
ทุกวันนี้ TYO ยังเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่เรื่อยๆ เพื่อเติมเต็มวงให้มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 100 คน เนื่องจาก จะมีสมาชิกวงบางคนต้องพ้นสภาพไป เมื่อมีอายุครบ 25ปี ซึ่งอัครวัฒน์บอกว่าเกณฑ์คัดเลือกของเขามีความเข้มข้นชึ้นกว่ายุคก่อนๆ และยืนยันในสิ่งที่เขาคิดเสมอว่า "พรสวรรค์"ไม่ใช่หนทางนำไปสู่ความสำเร็จเสมอไป แต่การฝึกฝนและมีวินัยในการฝึกซ้อม ต่างหากที่จะทำให้เป็นนักดนตรีที่ดีได้
"ผมมองหาเด็ก และฝึกเด็ก เหมือนทีมฟุตบอล และผมเป็นเหมือนโค้ช การเล่นดนตรีก็เหมือนเล่นกีฬา ต้องเล่นเป็นทีม นอกจากผมเป็นผู้อำนวยการวง ยังเป็นคอนดักเตอร์ด้วย การเล่นซิมโฟนี 45นาที ถ้าไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีทางทำได้ ผมต้องสื่อสารพลังออกไป และเขาต้องเชื่อ และรับกลับไปวนไปวนมา การสร้างคอนเสิร์ตไม่ได้อยู่ที่เตรียมวง แต่เป็นการปรับทัศนคติทำให้วงเป็นหนึ่งเดียว" .
การฝึกซ้อมของเยาวชนวงTYO
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |