"บัลเลต์นครเทียนจิน"โชว์เสน่ห์ปลายเท้าครั้งแรกในไทย 


เพิ่มเพื่อน    

บัลเลต์หรือการแสดงระบำปลายเท้า ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศอิตาลีและมีการพัฒนาอย่างรุ่งเรือง แพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส แถบประเทศยุโรป  สำหรับในประเทศแถบเอเชียตะวันออก อย่างประเทศจีน แม้ว่าประวัติการแสดงบัลเลต์ของประเทศจีนยังไม่ได้ยาวนานมากนัก แต่กลับมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว 1 ใน 5 คณะบัลเลต์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน อย่าง "คณะบัลเลต์นครเทียนจิน" ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 ระยะเวลาเพียง 30 กว่าปี ก็สามารถพิสูจน์ให้ชาวจีนได้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในด้านการแสดง ศักยภาพ ทักษะการแสดงขั้นสูง ซึ่งได้ทำการแสดงและสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจีน เช่น กองทัพสตรีจีน คืนพระจันทร์เต็มดวง ที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในจีน 


ล่าสุดคณะบัลเลต์นครเทียนจิน  ได้มาจัดการแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และสำนักงานกิจการวัฒนธรรมวิทยุโทรทัศน์และภาพยนตร์เทียนจิน ในชุดการแสดง “เสน่ห์บนปลายเท้า ผลงานการแสดงบัลเล่ต์ยอดเยี่ยมนครเทียนจิน” ทั้ง 9 ชุด เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีน และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบัลเลต์ของประเทศจีนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 


นายเฉิน ชวน หัวหน้าคณะบัลเล่ต์นครเทียนจิน เผยว่า แม้ว่าคณะบัลเลต์จะก่อตั้งขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่นาน ซึ่งกลายเป็นจุดเด่นของคณะ เพราะนักแสดงส่วนใหญ่ก็เป็นคนรุ่นใหม่ ที่เก่งและมีความสามารถ จึงได้คัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะ 22 คน มาจัดการแสดงบัลเลต์พิเศษในไทย เพราะการแสดงบัลเลต์จีนในไทยยังไม่ค่อยมีการจัดขึ้น และทุกการแสดงที่ได้คัดสรรค์มาโชว์นั้นเป็นการแสดงอันยอดเยี่ยม  และยังเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านบัลเลต์ ได้เห็นความสวยงามของศิลปวัฒนธรรม อยากให้โชว์นี้ทั้งคนไทยและชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ได้รู้ว่าศิลปะการแสดงนี้มีการพัฒนาและก้าวหน้าในจีน 


“โดยการแสดงที่เป็นไฮไลท์ที่จะโชว์เป็นอันดับแรก คือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ผลงานของนักประพันธ์ จาง รั่วซู ซึ่งเป็นบทเพลงของจีนอันเก่าแก่ในสมัยราชวงศ์ถัง เรื่องราวของการมองเห็นตนเองที่เป็นเงาสะท้อนในน้ำ จนทำให้เกิดความสงบขึ้นในจิตใจ สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนที่เป็นผู้มีความรู้ ข้าราชการ มักจะทำให้ตนเองเกิดความสงบในใจ และมองเห็นถึงวิถีชีวิตของคนอื่นๆในสังคม โดยในการแสดงจึงได้นำมาถ่ายทอดผ่าน 2 นักแสดงที่จะแสดงเหมือนคนๆเดียวกัน ซึ่งจะมีท่าทางที่ค่อนข้างยากในแบบของบัลเล่ต์ตะวันตก” หัวหน้าคณะบัลเล่ต์ กล่าว 


    การแสดงที่นำมาโชว์มีทั้งหมด 9 ชุด ได้แก่ 1.คืนพระจันทร์เต็มดวง ผลงานชิ้นเอกของกวี จาง รั่วซู โดยนักเต้นบัลเลต์จะเต้นตามอารมณ์ของกวีเพื่อแสดงความรักและความศรัทธาในใจพวกเขา 2.การเต้นรำของสี่หนุ่ม ที่จะแสดงทักษะด้านการกระโดดและการหมุนตัว เปรียบเสมือนการทดสอบฝีมือของนักแสดง 3.ชุดดอกไม้ ฉากที่สามจากบทเพลงเทศกาลดอกไม้ของ Gonzano ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างบัลเลต์โรแมนติกแบบคลาสสิกกับการเต้นรำพื้นบ้านแบบยุโรป ทำให้เกิดสไตล์ที่ลื่นไหลและนุ่มนวล 4.สามสาวร่ายรำ ดวงใจหญิงสาว การแสดงอันพลิ้วไหวของหญิงสาวทั้งสาม 5.Swan Lake การแสดงฉากที่สองของ Swan Lake   6.การเต้นบัลเลต์คู่ ในบทเพลง La Esmeralda ที่ดัดแปลงมาจากบทเพลง Notre Dame de Paris การแสดงที่ทำให้เห็นทักษะอันยอกเยี่ยม หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการแข่งบัลเลต์ระดับนานาชาติ 7.การเต้นบัลเลต์คู่ ในบทเพลงคลาสสิก The Pirates ที่เล่าถึงเรื่องของโจรสลัดชื่อว่า Conrad เกิดหลงรักหญิงสาวชื่อ Midola ที่ลงเอยแต่งงานกัน 8.PAS DE QUATRE การเต้นรำนี้ถูกสร้างขึ้นโดย Pero เพื่อมอบให้กับ 4 นักเต้นบัลเลต์หญิง ซึ่งเป็นการแสดงที่มีชีวิตชีวาอย่างน่าสนใจ และ 9.การแสดงในชุดท้ายกับบทเพลง The RED DETACHMENT OF WOMEN ที่ถูกคักเลือกมาแสดง ซึ่งเป็นบัลเลต์สมัยใหม่ของชาวจีน เป็นเรื่องราวของสงครามที่เกิดขึ้นในเกาะไหหลำประเทศจีน


 ด้าน หลาน ซู่หง ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยและผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมจีน กรงเทพฯ  กล่าวว่า นับว่าเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในโครงการปีวัฒนธรรมนครเทียนจิน 2018 และยังเป็นการร่วมมือกันครั้งแรกระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมของไทยที่ให้การสนับสนุนด้านสถานที่เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นของขวัญด้านวัฒนธรรมที่มอบให้ประชาชนชาวไทยในโอกาสครบรอบ 43 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-จีน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่มีประชาชนชาวไทยให้ความสนใจการแสดงบัลเลต์เพราะบัตรถูกจองหมดภายในระยะเวลา 3 วัน ดังนั้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแสดงในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มพูนความรู้การแสดงศิลปะบัลเล่ต์ของจีนให้ประชาชนชาวไทย 


 นายประดิษฐ์ โปซิว รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ในการร่วมมือครั้งนี้ได้มีการสนับสนุนเอื้ออำนวยสถานที่การจัดแสดงบัลเล่ต์จากนครเทียนจิน สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนานระหว่างไทย-จีน ที่มีน้ำใจต่อกัน นอกจากนี้วัฒนธรรมของจีนยังได้ทอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย ที่สืบทอดมาจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลายยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน และหากมีโอกาสที่เหมาะสมอาจจะได้เห็นการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างไทยกับจีนอีกแน่นอน

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"