3 ก.ค.61 - นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "กำกับดูแลสื่ออย่างไรให้เป็นที่พึ่งของสังคม" ในโอกาสครบรอบ 21ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยระบุว่า เป็นหัวข้อที่น่าแปลกใจ เพราะเท่าที่จำได้สื่อเรียกร้องให้ตัวเองมีอิสระเสรีไม่ให้ใครมากำกับควบคุม จนมีการรับรองความเป็นอิสระจากทุกคนทุกฝ่าย แม้แต่เจ้าของธุรกิจสื่อมวลชนเองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และไม่ให้เจ้าของสื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพราะอาจใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ และยังมีกลไกใหม่ออกมาคือทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้โซ่จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องกำหนดกันเอง แต่พบว่า 1. ไม่ค่อยเข้มงวดเท่าไหร่ 2. ไม่ค่อยมีใครปฏิบัติตาม เพราะองค์กรสื่อจัดตั้งขึ้นมาโดยอาศัยกฎหมายปกติธรรมดา กติกาจะใช้ได้เฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิก แต่ก็มีกรณีที่ออกจากการเป็นสมาชิก ทำให้กติกาไม่ได้ครอบคลุมไปถึงคนเหล่านี้
นายมีชัย กล่าวว่าขณะเดียวกันตอนนี้สื่อมวลชนตระหนักกันว่าถูกมองในแง่ลบมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากการให้ข่าวสารและความคิดเห็นหลายกรณีถูกตั้งคำถามว่า ข่าวนั้นเป็นข่าวจริงหรือปนอารมณ์เข้าไป
นายมีชัย ยังกล่าวย้ำถึงแนวคิดผู้ตรวจการ (Ombudman) เป็นระบบการตรวจสอบภาครัฐ ซึ่งเป็นต้นแบบการกำกับดูแลสื่อตั้งแต่เจ้าของสื่อ บรรณาธิการ ผู้สนับสนุนสื่อ และประชาชน ซึ่งแต่ก่อนประชาชนอาจจะยังไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบ แต่ปัจจุบันนี้ประชาชนขึ้นมาเป็นสื่อได้เองโดยที่ไม่ต้องมีวิชาชีพก็สามารถจะเผยแพร่ถ้อยคำได้ทุกรูปแบบ รู้อะไรก็แชร์ข้อมูล และหากใครจับหลักจิตวิทยาได้ ก็ยิ่งหยิบเอาข้อมูลดิบใส่คนอื่น ทุกคนมีอารมณ์ดิบด้วยกันทุกคน ก็เกิดความสะใจ และด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงกลายเป็นว่าสื่อเดินตามสังคมที่สามารถรายงานได้ทันต่อสถานการณ์ จนทำให้ประชาชนคนทั่วไปเชื่อถือข้อมูลในสังคมออนไลน์ และทำให้ความตำเป็นในการสนใจต่อสื่อหลักน้อยลง เพราะคนสามารถเลือกบริโภคสื่อตามความสะดวกมากขึ้น
ส่วนข้อเสนอแนะในการตรวจสอบกันเอง นายมีชัย กล่าวว่า องค์กรที่เกี่ยวกับการควบคุมวิชาชีพสื่อมวลชนจะต้องรวมทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่หนังสือพิมพ์ และมีความจำเป็นที่ต้องออกเป็นกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรให้เป็นหลักเป็นฐาน และต้องมีอำนาจบางอย่างเพื่อวางจริยธรรมวิชาชีพ แม้จะไม่มีอำนาจลงโทษ แต่หากมีการกระทำผิดจริยธรรมจริง ให้มีอำนาจแถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ ซึ่ะฟ้องกลับว่าหมื่นประมาทไม่ได้ และ แล้วก็ไม่ต้องไปลงโทษเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพ หรือไปบังคับใครมาอบรมจริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งเป็นวิธีรักษาความน่าเชื่อถือของสื่อ โดยไม่ไปกระทบหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพใคร พร้อมย้ำความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรกำกับวิชาชีพสื่อ เพื่อตรวจสอบดูแลการทำงานและการนำเสนอข่าวสาร โดยเฉพาะท่ามกลางสังคมออนไลน์ที่มีการกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |