เปิดผลวิจัย"ไซบูทรามีน"ลดน้ำหนักลดจริงได้แค่ 6เดือน หลังจากนั้น"อ้วนเหมือนเดิม"


เพิ่มเพื่อน    

4 ก.ค.61- ภก.จิระ วิภาสวงศ์ ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไซบูทรามีนเป็นการสมัครใจที่จะเพิกถอนทะเบียนออกจากตลาดของบริษัทยา ซึ่งนอกจากประเด็นผลกระทบทางสุขภาพแล้ว ยังอาจมาจากความไม่ชัดเจนที่จะช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ จากข้อมูลศึกษาว่า พอกินไป 6 เดือน ก็เริ่มนิ่งไม่ลดไปกว่านั้น แต่หากเลิกกินก็เกิดโยโยเอฟเฟกต์ ส่วนผลทางคลินิกโดยการใช้ของผู้ประกอบวิชาชีพก็ไม่ชัดเจนว่า เกิดผลกระทบมากแค่ไหน จึงเกิดการยกเลิกแบบสมัครใจ ทำให้มีปัญหาทางกฎหมาย เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่มีการยกเลิกสูตรนี้ ไซบูทรามีนไม่ได้ถูกถอน เป็นยาควบคุมพิเศษ ดังนั้น ถ้ามีผู้ผลิตรายหนึ่งขอขึ้นทะเบียนก็สามารถทำได้เพียงแต่ไม่มีผู้ผลิตรายใดไปขอขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อผลิตหรือนำเข้า ดังนั้น หากมีการผลิตหรือขายจึงถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนที่ยังมีการพบไซบูทรามีนอยู่นั้น ก็เป็นที่น่าสงสัยเหมือนกับสเตียรอยด์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษเช่นกันว่า มีการแอบขายกันอยู่หรือไม่ หรือโรงงานผลิตที่ถูกตั้งข้อสงสัยมาตลอดว่า ขายอย่างไม่มีหลักฐานหรือไม่ เพราะเวลารายงานก็ไม่พบความผิดปกติ แต่เหตุใดท้องตลาดถึงมียาสเตียรอยด์ มีไซบูทรามีนเต็มไปหมด ยาเหล่านี้มาจากไหน ทำไมเวลาไปจับแล้วเจอ แต่ศุลกากรบอกตรวจการนำเข้าไม่เจอ ถ้าแก้ตรงนี้ไม่ได้ ก็ยังคงมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักต่อไป

ภก.จิระ กล่าวว่า ขณะกฎหมายเองก็ยังมีข้อจำกัด เพราะแม้จะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ แต่ส่วนใหญ่เราจับผู้ผลิตไม่ได้ เพราะผู้ผลิตคือจะต้องตรวจเจอในโรงงาน ส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ขาย ซึ่งศาลก็จะปราณีโดยเป็นแค่โทษปรับ โทษจำคุกก็รอลงอาญา ส่วนโทษปรับก็ไม่ได้ปรับเต็มจำนวน แต่ปรับขั้นต่ำก่อน เช่น ทำความผิดครั้งที่ 1 ปรับ 20% ของจำนวนโทษปรับ อย่าง 2 หมื่นบาทก็ปรับแค่ 2 พันบาท จึงเชื่อว่าตรงนี้ทำให้เกิดการลุกลาม การจะเอาผิดตลาดออนไลน์ก็ทำได้แค่เพียงการเอาผิดฐานโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโฆษณาโอ้อวดเป็นเท็จ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกระดับไซบูทรามีนให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1 เพื่อให้มีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น

ภก.ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า มีงานวิจัยถึงประสิทธิภาพของไซบูทรามีนในคนไข้โรคอ้วน 600 กว่าคน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม พบการใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน สามารถช่วยลดน้ำหนักลงมาได้จริงจาก 100 กิโลกรัม เหลือ 90 กิโลกรัม จากนั้นนำผู้ป่วยที่ผ่านช่วง 6 เดือนแล้วมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกหยุดไซบูทรามีนและกินยาหลอก พบว่า น้ำหนักกลับขึ้นมาเหมือนเดิม กับกลุ่มที่กินต่อจนครบ 2 ปี น้ำหนักก็คงที่ ดังนั้น ประสิทธิภาพจึง ช่วยน้ำหนักลดลงช่วงแรก แต่เมื่อหยุดก็กลับมาอ้วนเหมือนเดิม ประสิทธิภาพจึงไม่ได้ดีมาก ขณะที่อาการข้างเคียงมีมาก เช่น มักพบอาการนอนไม่หลับ ปากแห้ง ท้องผูก คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น สมัยที่ยังไม่ถอนทะเบียน ในสหรัฐอเมริกาจึงมีคำแนะนำว่า ช่วงแรกที่รับประทานต้องติดตามอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ดังนั้น การที่บริษัทยอมเพิกถอน เมื่อมีการลักลอบใช้ แปลว่าเสี่ยง 2 เท่า เพราะลักลอบใช้โดยไม่รู้อันตราย และคนกินไม่มีการตรวจติดตาม หัวใจ ชีพจร ความดันเป็นอย่างไร พอความดันและหัวใจสูงขึ้น นานๆ ก็จะเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ที่เสียชีวิตก็เพราะเกิดโรคนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"