เตือนสติสังคม! จิตแพทย์ชี้ไม่ต้องไปต่อว่า ยกย่องสรรเสริญ"ทีมหมูป่า" หรือตั้งคำถามโค้ช


เพิ่มเพื่อน    



    
4ก.ค.61-นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกระแสสังคมที่มีต่อกรณีเด็กนักฟุตบอลและ โค้ช อายุ25 ปี ทั้ง 13 ชีวิต ที่ติดในถ้ำหลวงตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. จนพบตัวเมื่อวันที่ 2 ก.ค. ว่า เด็กทั้ง 13 คน อยู่ในฐานะผู้รอดชีวิต สิ่งที่ควรทำคือไม่ใช่การเข้าไปซ้ำเติม แต่สิ่งที่ควรทำคือการส่งเสริมการเป็นกลุ่มเป็นก้อนของเขา เช่น การสนับสนุนให้เล่นฟุตบอลตามที่เขาถนัด ส่งเสริมในเรื่องความเข้มแข็งจนผ่านวิกฤตได้ เพื่อให้เด็กมีชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี เพราะเด็กที่รอดชีวิตออกมาการที่ติดในถ้ำเป็นระยะเวลานานเช่นนั้น คิดว่าเขารู้อยู่แล้วถึงผลกระทบและปัญหาต่างๆที่ตามมา และสิ่งที่เกิดขึ้นเขาก็ไม่ได้ตั้งใจเชื่อว่าคงไม่กลับไปทำเช่นนั้นอีก นอกจากนี้ก็ไม่ต้องไปยกย่องสรรเสริญว่าเป็นวีรบุรุษ สังคมต้องเข้าใจบทบาทของแต่ละฝ่าย เพราะเขาคือผู้รอดชีวิต ไม่ใช่วีรบุรุษ วีรบุรุษคือทีมช่วยเหลือทุกทีมที่มีการจัดการที่ดีทั้งทีมที่ได้เปิดเผยตัวต่อสาธารณชน หรือที่ทำงานอยู่เบื้องหลังอีกมากที่ร่วมมือกันจนเจอเด็ก คนพวกนี้คือวีระบุรุษที่ต้องได้รับการยกย่อง ให้เขารู้สึกอิ่มเอมใจว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องในการช่วยเหลือจนเด็กรอดชีวิต 

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า สิ่งที่คิดว่ายังเป็นปัญหาของสังคมไทย คือการสร้างระบบป้องกันของสังคมไทยที่ยังมีช่องว่างและยังมีจุดอ่อนอยู่ ไม่ใช่แค่พื้นที่ถ้ำหลวง แต่ยังมีอีกหลายที่ ซึ่งในการสร้างระบบป้องกัน ก็ต้องช่วยกันทั้ง 3 ฝ่าย ทั้ง 1.ทีมควบคุมกำกับดูแล จากส่วนราชการ ควรมีความเข้มงวดในการเข้าออก หากมีฝนหรือภัยธรรมชาติ 2. ในส่วนของประชาชนเจ้าของพื้นที่ ก็ต้องร่วมมือเป็นหูเป็นตาด้วยไม่ใช่รอแค่ส่วนราชการเพียงอย่างเดียว และ3. ส่วนประชาชนผู้เข้าใช้บริการก็ควรปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ

ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่เด็กได้ร่วมกันวาดภาพร่วมกับหน่วยซีลบนก้อนหินภายในถ้ำ สะท้อนถึงอะไร นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เขายังอยู่ข้างใน ใช้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ทรมานมาหลายวัน ดังนั้นเมื่อมีเวลาว่างก็อาจจะเป็นการใช้เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ชะลอการรอคอย ระหว่างที่รอเวลาออกมา ดังนั้นก็ต้องยอมรับในการแสดงออกนั้น.

ด้าน นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง กล่าวถึงกรณีโซเซียลมีเดียมีการแชร์กันว่าโค๊ซค่อนข้างมีสีหน้าที่เป็นกังวล ซึ่งอาจจะมีการโทษตัวเองว่าเป็นคนพาเด็กเข้าไปหรือไม่ ว่า เนื่องจากโค้ชเป็นผู้ใหญ่คนเดียว และเป็นผู้ฝึกสอน การที่เด็กติดอยู่ในถ้ำหลายวันเช่นนี้เป็นไปได้ที่จะเกิดความเครียด ซึ่งก็ขึ้นกับเหตุการณ์ คือ 1.โค้ชเป็นคนนำเด็กเข้าไป และ2. มีกระแสข่าวว่าโค้ชตามเข้าไปทีหลังเพื่อตามหาเด็กที่หายตัวไป ซึ่งเราไม่รู้ว่าเหตุการณ์จริงๆเป็นเช่นไร ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ในหลักจิตวิทยาเหตุการณ์มันผ่านไปแล้วมันแก้ไขไม่ได้ สังคมก็ไม่ควรไปตอกย้ำว่า ทำไม โค้ชไม่ห้าม เพราะการที่คนๆหนึ่งจะรู้สึกผิดมากน้อยขึ้นอยู่กับมุมมองของคนรอบข้างหากสังคมยอมรับว่านี่คืออุบัติเหตุ คือเหตุสุดวิสัยไม่มีใครอยากให้เกิดก็จะทำให้ความรู้สึกผิดลดน้อยลง ไม่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นอันตราย นอกจากนี้การที่จะเป็นความผิดฝังใจในอนาคตหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกดั้งเดิมแต่ละคนด้วย ซึ่งทราบว่า โค้ชเคยบวชเรียน เป็นหัวหน้าเด็กและมีสติในการดูแลเด็กขณะอยู่ในถ้ำ คิดว่าความเข้มแข็งก็น่าจะมีมากกว่าคนอื่น ไม่น่าจะมีปัญหาหากสังคมไม่ไปตอกย้ำ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"