รฟท.สั่งเดินหน้าเร่งแผนมักกะสันลงทุนแสนล้าน


เพิ่มเพื่อน    

รฟท.สั่งเดินหน้าเร่งแผนมักกะสันรับลงทุนแสนล้าน เผยเอกชนต้องควัก 3 พันล้านบาทช่วยค่าเคลียร์พื้นที่  ไม่หวั่นซับซิดี้ไฮสปีด ย้ำโครงการต้องเกิดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ-พัฒนาเชื่อมบ้าน ยันเปล่ายกสมบัติให้เอกชน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่มักกะสันเพื่อรองรับการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งจะมีมูลค่านับแสนล้านบาทนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อสรุปแผนพัฒนาพื้นที่แปลงเอราว 140 ไร่ซึ่งต้องยกให้เอกชนที่เข้ามาพัฒนารถไฟไฮสปีด เบื้องต้นจะยกที่ดินให้เอกชนราว 100 ไร่ ขณะที่อีก 40 ไร่ซึ่งเป็นพื้นที่พวงรางไปสู่ศูนย์ซ่อมภายในพื้นที่มักกะสันนั้น รฟท.จะเป็นผู้รับผิดชอบตามเดิม 

อย่างไรก็ตามส่วนด้านแผนการย้ายบ้านพักพนักงานและโรงซ่อมบำรุงในพื้นที่มักกะสันนั้นรฟท.ได้เตรียมพื้นที่สองแปลงใหญ่จำนวนมากกว่า 100 ไร่ไว้รองรับประกอบด้วย 1.พื้นที่บริเวณอ.แก่งคอย จ.สระบุรี 2.พื้นที่บริเวณอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่รูปแบบธุรกิจการเดินรถในอนาคตนั้นรฟท.จะแบ่งแยกระหว่างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟดีเซลกับศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าให้ตั้งอยู่คนละที่กันเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาย่านศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้านรถไฟฟ้าและรถไฟดีเซลรองรับโครงการรถไฟสายใหม่อีกหลากหลายเส้นทางในอนาคตที่จะมีการเปิดเดินรถทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟขนส่งสินค้า รถฟ้าชานเมืองและรถไฟความเร็วสูง

ทั้งนี้ส่วนการสนับสนุน(Subsidy)ค่างานเดินรถให้เอกชนที่เข้ามาบริหารรถไฟฟ้าไฮสปีด รองรับอีอีซีเหมือนกับต่างประเทศซึ่งในช่วงเริ่มแรกส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักนั้นมองว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวจะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาวสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคอาเซียนด้วยการใช้ระบบรางเป็นโครงข่ายหลักเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน 

อย่างไรก็ตามดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการแม้อาจเจออุปสรรคตามมาภายหลังก็ตาม ซึ่งในต่างประเทศนั้นการสนับสนุนค่าโดยสารจะคิดจากต้นทุนดำเนินการจริงนำมาหักลบกับรายได้ผู้โดยสารปัจจุบันและรายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายส่วนต่างที่ขาดทุนให้เอกชนแต่ทั้งนี้ต้องดูเงื่อนไขในอนาคตด้วยว่าจะเป็นอย่างไรเพราะรัฐบาลเปิดช่องว่าจะสนับสนุนค่าก่อสร้างให้ราว 50% จากทั้งหมดจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอของเอกชนที่จะแข่งขันกันยื่นเข้ามาเพื่อช่วงชิงโครงการ 

นอกจากนี้ส่วนด้านความเสี่ยงที่เปิดเป็นโครงการพีพีพีเน็ทคอสโดยยกให้เอกชนไปเลยนั้นมองว่าไม่มีความเสี่ยงเพราะรัฐบาลไม่มีงบประมาณเพียงพอจะลงทุนโครงการดังกล่าวได้เพียงลำพังอีกทั้งในอนาคตเมื่อครบกำหนดอายุสัมปทานแล้วสมบัติดังกล่าวทั้งตัวรถไฟฟ้าความเร็วสูงและที่ดินเชิงพาณิชย์ก็จะกลับมาเป็นของรฟท.อยู่ดี
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"