ฟ้าหญิงฯทรงพัฒนายารักษามะเร็งเต้านมเพิ่มการเข้าถึงยา/ อัตรารอดชีวิตสูงขึ้น37%ลดกลับมาเป็นอีกใน10ปี73% 


เพิ่มเพื่อน    


                 
'ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ 'ทรงลงพระนาม MOU กับ มจธ. นำนักวิจัยไทยผลิต-พัฒนายาชีววัตถุรักษามะเร็งเต้านมสำเร็จชิ้นแรกในไทย ใช้ร่วมยาเคมีบำบัดช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตสูงถึงร้อยละ 37 ลดการกลับมาเป็นซ้ำใน 10 ปี ร้อยละ 73 

 

2ก.ค.61-เมื่อเวลา 16.00 น. ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปยังศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ร่วมพิธีลงพระนามและลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหาร ฅ ศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิจัยและวิชาการ, ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เฝ้ารับเสด็จ โดยมี ศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ และ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ถวายมาลัยข้อพระกร ต่อจากนั้น เสด็จพระดำเนินบันไดเลื่อนขึ้นชั้น 2 และเสด็จเข้าห้องประชุม 1 ประทับพระเก้าอี้หน้าโต๊ะลงพระนาม

 


 จากนั้น ดร.ม.ล.ศิริธิดา รพีพัฒน์ กราบทูลทอดพระเนตรวิดีทัศน์ เรื่อง ก้าวล้ำนวัตกรรมยา ประเทศไทยก้าวหน้า ด้วยพระบารมีเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ไทย เป็นเวลา 10 นาที จากนั้น ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระดำเนินไปประทับพระเก้าอี้ ณ โต๊ะลงพระนาม ทรงมีพระดำรัสถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนายาชีววัตถุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตอนหนึ่งว่า


"เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยยังไม่มีความมั่นคงทางยาอย่างแท้จริง โดยเฉพาะยาชีววัตถุ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เช่น โรคมะเร็งและโรคติดเชื้อ ยาประเภทนี้มีราคาสูงมาก จนทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงยาได้ การวิจัยและพัฒนายาชีววัตถุเป็นโครงการที่ข้าพเจ้าคิดและริเริ่มดำเนินการเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีโอกาสได้รับยาที่มีคุณภาพและสามารถรักษาโรคได้ผลดีกว่าเดิมหรือหายขาดในราคาที่จัดหาได้ ความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนายา Trastuzumab หรือมีชื่อการค้าว่า Herceptin ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเริ่มจากการตัดต่อดี-เอ็น-เอ หรือจากต้นน้ำ จนพร้อมที่จะนำเข้าสู่กระบวนการการพัฒนาการผลิตตามแนวทางความร่วมมือในวันนี้ เป็นนวัตกรรมด้านยาชีววัตถุชิ้นแรกของประเทศไทย โดยคนไทย ที่ไม่ได้อาศัยการถ่ายทอด หรือซื้อเทคโนโลยีจากบริษัทยาหรือจากต่างประเทศ ที่พวกเราทุกคนควรจะภาคภูมิใจ  และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันในเวทีสากล 


ทรงมีพระราชดำรัส ต่อว่า การพัฒนายาชีววัตถุตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้องอาศัยงบประมาณและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายสาขามาทำงานร่วมกันอย่างมีจริยธรรมในการดำเนินงาน และคำนึงถึงคุณภาพของยาเป็นหลัก มิใช่มุ่งหวังเพียงผลประโยชน์จากการลงทุน จึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทั้งเชิงนโนยายและงบประมาณอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง  เพราะนับเป็นการลงทุนเพื่อสร้างพื้นฐานสำคัญให้ประเทศจะนำไปสู่ความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่าในอนาคต หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างดีและต่อเนื่อง " 
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเลือกยาชีววัตถุคล้ายคลึง Trastuzumab สำหรับการรักษามะเร็งเต้านม เป็นยาชนิดแรกของโครงการดังกล่าว เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็ง            ที่มีอัตราการเกิดและเสียชีวิตสูงที่สุดในผู้หญิงไทย ประโยชน์ของยา Trastuzumab เมื่อใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยรวมสูงถึงร้อยละ 37 และลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำในระยะเวลา 10 ปีถึงร้อยละ 73.7  อย่างไรก็ตาม ยาชีววัตถุโดยทั่วไปต้องใช้เงินในการรักษาไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทต่อปี  สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล ด้วยเหตุนี้   องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงตระหนักถึงโอกาสการเข้าถึงของประชาชนจึงทรงริเริ่มโครงการเพื่อการผลิตยาดังกล่าวขึ้นภายในประเทศเพื่อเพิ่มการเข้าถึงของยาชนิดนี้


โดยคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้เริ่มต้นกระบวนการพัฒนายาดังกล่าวตั้งแต่การตัดต่อดีเอ็นเอ เพื่อนำส่งเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านที่จะทำหน้าที่ผลิตโปรตีนต่อไป จากนั้นคัดเลือกเซลล์ที่ผลิตยาให้ได้เพียงเซลล์เดียว เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่จะผลิตต่อไป มีความเป็นเอกภาพมีคุณสมบัติเดียว เพราะยาดังกล่าวผลิตมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเดียว จากนั้นจัดเก็บธนาคารเซลล์เพื่อให้ยาที่ผลิตทุกรุ่นมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ขณะนี้ คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตมาถึงระดับที่พร้อมสำหรับการขยายขนาดต่อไปสู่การผลิตเพื่อการนำไปใช้แล้วจึงมีการทำข้อตกลงความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขึ้น ในวันที่ 2 ก.ค. 2561


สำหรับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จะรับผิดชอบในส่วนงานวิจัยที่ได้ทำไปแล้ว เช่น การพัฒนาเซลล์ที่ใช้ในการผลิตยาตั้งแต่การตัดต่อดีเอ็นเอ จัดทำการศึกษาคุณสมบัติและธนาคารเซลล์ รวมถึงการพัฒนากระบวนการผลิตที่ระดับห้อง ปฏิบัติการ (1-10 ลิตร) ในขณะที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะรับผิดชอบการขยายขนาดการผลิตไปสู่ระดับโรงงานต้นแบบ (50 ลิตร) และระดับการผลิต (มากกว่า 200 ลิตร) จากนั้นสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จะดำเนินการ ศึกษาที่ไม่ได้ทำในมนุษย์และการศึกษาทางคลินิกต่อไป


ต่อจากนั้นทรงลงพระนามข้อตกลงความร่วมมือกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทรงฉายพระรูปร่วมกับผู้ล'นามในข้อตกลงความร่วมมือและสักขีพยาน และ เสด็จออกจากห้องประชุม 1 ทอดพระเนตรนิทรรศการการเทิดพระเกียรติ เรื่อง ก้าวล้ำนวัตกรรมยา ประเทศไทยก้าวหน้าด้วยพระบารมี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ไทย บริเวณหน้าห้องประชุม โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรีตามเสด็จ และ พระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่แขกผู้มีเกียรติที่ห้องประชุมใหญ่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"