เร่งปั๊มรายได้ให้การรถไฟฯมั่นใจพลิกกำไรใน10ปี


เพิ่มเพื่อน    

กุลิศ' กางแผนฟื้นฟูกิจการรถไฟ เร่งปั๊มรายได้ส่งสินค้า-เชิงพาณิชย์ ตั้งเป้าพลิกกำไรภายใน 10 ปี เผยทางคู่เฟส 1-2 ฉุดรายได้โต 300% ทะลุ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี เร่งปั้นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 3 ทำเลทอง 

นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าแผนฟื้นฟูกิจการของรฟท.นั้นจะเน้นไปที่การเพิ่มรายได้ด้านการขนส่งสินค้าทางรางจากปัจจุบันสัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขนส่งผู้โดยสาร ผ่านการพัฒนารถไฟทางคู่เฟส 1 จำนวน 5 เส้นทาง เปิดเดินรถทั้งหมดปี 2565 และรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทางเปิดเดินรถปี 2570 เพื่อรองรับการเป็นฮับการขนส่งสินค้าของภูมิภาคเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านกระตุ้นการค้าด่านชายแดนไทย-ลาว ไทย-มาเลเซีย อีอีซี-กัมพูชาและเชื่อมต่อท่าเรือขนาดใหญ่อย่างแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศเมียนมาร์ 

นายกุลิศ กล่าวว่าดังนั้นจึงต้องเน้นลงทุนพัฒนาย่านเก็บกองและขนถ่ายสินค้าตู้สินค้า(Container Yard) และศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือ (Single Rail Transfer Operator : SRTO) ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ ควบคู่ไปกับการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 3 แปลงใหญ่มูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านบาทได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีแม่น้ำและพื้นทีมักกะสัน คาดว่าจะเพิ่มรายได้ให้กับรฟท.อย่างมากในอนาคต

นอกจากนี้รฟท.จะพิจารณาเรื่องของการลดรายจ่ายขององค์กรเพื่อแก้ปัญหาหนี้สะสมอย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงเตรียมศึกษาเรื่องต้นทุนมาตรฐานการขนส่งทางรถไฟที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันมีรถไฟบางเส้นทางคิดค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนจริงมากจนเกิดความไม่คุ้มค่า ทำให้การปรับเพิ่มค่าโดยสารเป็นหนึ่งในประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในแผนฟื้นฟูกิจการ 

อย่างไรก็ตาม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รฟท.วางยุทธศาสตร์แผนฟื้นฟูให้ชัดเจนสามารถมองเห็นอนาคตได้ว่าภายใน 5-10 ปี รฟท.จะมีโครงการใดบ้างที่เข้ามาเพิ่มรายได้และมีแผนใดบ้างในการลดรายจ่ายรวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแผนยุทธศาสตร์ชาติควรเดินหน้าอย่างไร

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ระบุว่าประมาณการรายได้ตามแผนการฟื้นฟูกิจการของรฟท.โดยอิงจากค่าโดยสารปัจจุบันได้ระบุว่าองค์กรจะกลับมามีกำไรอีกครั้งภายในเวลา 10 ปี หรือในปี 2570 จากปัจจัยด้านการเพิ่มขึ้นของรายได้การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นหลังจากทยอยเปิดรถไฟทางคู่ประกอบกับรายได้ด้านการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สามแปลงใหญ่ซึ่งจะเริ่มรัยรู้รายได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้พบว่ารายได้ในปีดังกล่าวจะอยู่ที่ 4.02 หมื่นล้านบาทประกอบด้วยรายได้เดินรถ 2.46 หมื่นล้านบาทและรายได้เชิงพาณิชย์ 1.55 หมื่นล้านบาท ขณะที่รายได้อยู่ที่ 3.68 หมื่นล้านบาทประกอบด้วยรายจ่ายการเดินรถ 1.83 หมื่นล้านบาท รายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 1.55 หมื่นล้านบาทและรายจ่ายค่าบำเหน็จบำนาญ 2.96 พันล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรรวมทั้งสิ้น3.17 พันล้านบาท จากปัจจุบันในปี 2560ซึ่งมียอดขาดทุนถึง 1.24 หมื่นล้านบาท คิดเป็นรายได้9.16 พันล้านบาทและรายจ่ายทั้งหมด 2.15 หมื่นล้านบาท

รายงานข่าวกล่าวต่อว่าอย่างไรก็ตามรฟท.มองว่ารายได้ด้านเดินรถจะเติบโตแบบก้าวกระโดดในปี 2565 หลังจากเปิดเดินรถไฟทางคู่เฟสที่ 1 ได้ครบทั้ง 5 เส้นทาง คาดว่าจะมีรายได้ด้านเดินรถในปีดังกล่าวที่ 1.14 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 85% จากปัจจุบัน 6.16 พันล้านบาท เช่นเดียวกับรายได้จากการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ซึ่งจะมีความชัดเจนมากขึ้นในปี 2565 ดังทำให้จะมีรายได้เข้ามาราว1.34 หมื่นล้านบาทคิดเป็นการเติบโต 343% จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.03 พันล้านบาท 

อย่างไรก็ตามในปี 2570 หลังจากที่เปิดเดินรถไฟทางคู่เฟส 2 ครบทั้ง 9 เส้นทางจะทำให้รายได้เดินรถเพิ่มขึ้นเป็น 2.46 หมื่นล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ 299% เมื่อเทียบกับปี2560 ส่วนด้านรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์จะอยู่ที่ 1.55 หมื่นล้านบาทคิดเป็นการเติบโต 15% จากปี 2565 

ทั้งนี้ด้านอุปสรรคที่จะเข้ามาเป็นตัวฉุดรายได้ในอนาคตนั้นคือดอกเบี้ยเงินกู้ของรฟท.ซึ่งมีปริมาณที่สูงมากขึ้นจากอัตราหนี้สะสมที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีจากภาระค่าโดยสารที่เก็บต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริงโดยพบว่าในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยเงินกู้ในแต่ละปีจะสูงถึง 1.55 หมื่นล้านบาทคิดเป็นปริมาณการเติบโต 420% จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.98 พันล้านบาท โดยค่าปริมาณการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นในปี 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ราว 7.71 พันล้านบาทคิดเป็นการเติบโต 158% จากปี 2560


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"