มั่นใจภายใน 2-3ปีนี้ ไทยไม่เจอวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำรอยเหมือนปี 40 ชี้มีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจการเงินค่อนข้างดี แต่ห่วงการเก็งกำไรอสังหาฯ และการหารายได้รัฐบาลที่ต้องมีการปฎิรูปครั้งใหญ่ ชี้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ ตุรกี มีโอกาสเกิดวิกฤติแบบปี 2540
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความเห็นและวิเคราะห์ถึงวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในอนาคตเนื่องในโอกาสครบรอบ 21 ปี การลอยตัวค่าเงินบาทหรือวิกฤตการณ์เศรษฐกิจการเงินปี 2540 หรือ วิกฤติต้มยํากุ้ง ว่า ประเทศไทยจะยังไม่เผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจการเงินแบบปี 2540 จนกระทั่งต้องเข้ารับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจการเงินค่อนข้างดี
อย่างน้อยเราจะไม่เจอกับภาวะวิกฤติแบบปี 2540 ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ขณะนี้ประเทศไทยมีการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับ 45-47 พันล้านดอลลาร์ มีทุนสํารองระหว่างประเทศ 2.09 แสนล้านดอลลาร์ มีหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นไม่มาก อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานยังค่อนข้างตํ่า สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของภาคธุรกิจแม้นเพิ่มขึ ้นแต่ยังคงเป็นการกู้เงินในประเทศ เมื่อเราเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการจัดการ การกู้จากต่างประเทศและหนี้สินจะมีการทําประกันความเสี่ยง
นายอนุสรณ์ ตั้งข้อสังเกตว่า วิกฤติซ้ำรอยปี 2540 จะไม่เกิดในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าหากเราควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆได้ดี ได้แก่ การก่อหนี้และการลงทุนเกินตัวของภาคเอกชนโดยเฉพาะหนี้สินต่างประเทศ ต้องติดตามการเก็งกําไรอสังหาริมทรัพย์ในเขต EEC มีความเสี่ยงที่จะเกิดฟองสบู่หรือไม่
ส่วนการกํากับดูแลระบบสถาบันการเงินเอกชนและตลาดการเงินอยู่ในเกณฑ์ดีไม่น่ามีปัญหาอะไร ที่น่าเป็นห่วงจะเป็นพวกฟินเทค การเก็งกําไรใน Cryptocurrency สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ สหกรณ์ออมทรัพย์และพวก non-bankทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม แม้นโอกาสในการเกิดวิกฤติแบบปี 2540 มีน้อยในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า แต่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเรื่องฐานะทางการคลังในระยะต่อไปหากไม่มีการปฏิรูปรายได้ภาครัฐทั้งระบบภาษีและรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการไม่กระจายของรายได้ก็เป็นเรื่องที่ต้องดูแลใกล้ชิด และยังมีปัญหาสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ยังค่อนข้างสูงอยู่ การเลือกตั้งในปีหน้าจะไม่ได้ทําให้ประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยเต็มใบแต่เป็นระบอบกึ่งประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยครึ่งใบ ก็ต้องรอดูว่า ระบอบการเมืองลักษณะแบบนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมและภาคการลงทุนอย่างไรบ้าง การจะก้าวข้ามผ่านทศวรรษแห่งความถดถอยและกับดักรายได้ระดับปานกลางรวมทั้งวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง จําเป็นต้องอาศัยการปฏิรูปอย่างแท้จริงและการกําหนดยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตร่วมกันของทุกคนและควรดําเนินการภายใต้หลักการและกระบวนการประชาธิปไตยจะดีที่สุด ความขัดแย้งโดยรวมและในระยะยาว
สำหรับประเทศอาเซียนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติแบบปี 2540 คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมี ตุรกี อาร์เจนตินา และ อิตาลี ที่มีโอกาสเข้าโครงการรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |