โพลตอกย้ำผลงานศก.ดิ่งเหว


เพิ่มเพื่อน    

     รัฐบาลล้มเหลว ฟื้นความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ นิด้าโพลเผยผลสำรวจ คนส่วนใหญ่ ประสานเสียง เศรษฐกิจมีแต่ทรุด ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ รายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง เชื่อเลือกตั้งเมื่อไหร่ทุกอย่างดีขึ้น

     เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง   “นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
    ผลสำรวจดังกล่าวระบุว่า จากการสำรวจเมื่อถามถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา(มกราคม-มิถุนายน 2561) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.88 ระบุว่าภาพรวมเศรษฐกิจแย่ลง เพราะ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น รองลงมา ร้อยละ 30.24 ระบุว่าภาพรวมเศรษฐกิจเท่าเดิม เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเลย และร้อยละ 14.88 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น เพราะมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่บางส่วนระบุว่าราคาพืชผลทางการเกษตรมีการขยับตัวสูงขึ้น
    ด้านข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายที่อยากให้รัฐบาลนำไปใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 45.68 ระบุว่านโยบายรับซื้ออุดหนุนพืชผลทางการเกษตร รองลงมา ร้อยละ 42.80 ระบุว่านโยบายควบคุมราคาสินค้า, ร้อยละ 19.84 ระบุว่า นโยบายเพิ่มงานเพิ่มอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน และแรงงานนอกระบบ, ร้อยละ 17.44 ระบุว่านโยบายลดอัตราดอกเบี้ยและคงอัตราภาษี, ร้อยละ 17.04 ระบุว่านโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ, 12.64 ระบุว่านโยบายมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อยเพิ่มมากขึ้น, ร้อยละ 11.68 ระบุว่านโยบายในการสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการจัดการเลือกตั้ง, ร้อยละ 8.80 ระบุว่านโยบายที่สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME), ร้อยละ 7.28 ระบุว่านโยบายที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการส่งออกของประเทศไทย, ร้อยละ 5.12 ระบุว่านโยบายพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) และร้อยละ 2.88 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ นโยบายการลดราคาน้ำมัน การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลดำเนินการก็ดีอยู่แล้ว ขณะที่บางส่วนระบุว่าไม่มีนโยบายที่จะนำเสนอ
    สำหรับความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.64 ระบุว่าไม่มีความเชื่อมั่น เพราะนโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ช่วยประชาชนทุกระดับอย่างแท้จริง เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ขณะที่บางส่วนระบุว่าเป็นโครงการที่ไม่ต่อเนื่องและเป็นโครงการระยะสั้น รองลงมา ร้อยละ 38.32 ระบุว่ามีความเชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ เป็นโครงการที่ดี ทำให้หลายๆ อย่างดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่ามีผู้นำที่ดีและมีความเข้มแข็ง และร้อยละ 5.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
    และเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเมื่อมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลชุดใหม่ จะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.64 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางในการบริหารและพัฒนาประเทศได้ดีกว่า รองลงมาร้อยละ 22.40 ระบุว่าเศรษฐกิจของไทยจะเหมือนเดิม เพราะปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา และต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมด้วย ขณะที่บางส่วนระบุว่าไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็เหมือนเดิม ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะแย่ลง เพราะเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และจะไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหา และร้อยละ 14.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
    ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความเห็นและวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ขณะนี้เปิดกว้างในการดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะ
 EEC จำเป็นต้องรักษาสมดุลให้ดีระหว่างทุนชาติและทุนข้ามชาติจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ตัวเลข FDI ขณะนี้ก็ยังน้อยกว่าในช่วงปี พ.ศ.2544-2548 โดยช่วงก่อนปี พ.ศ.2540 มีการเปิดเสรีการเงินผ่านการเปิดเสรีวิเทศธนกิจ มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในระบบสถาบันการเงินไทยจำนวนมาก ทำให้สถาบันการเงินในประเทศมีการขยายสินเชื่อในอัตราเร่ง คุณภาพสินเชื่อเริ่มลดลง อัตราส่วนระหว่างการปล่อยสินเชื่อต่อปริมาณเงินฝากสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์เมื่อสิ้นไตรมาสสองของปี พ.ศ.2538 นอกจากนี้เริ่มมีสัญญาณของหนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนขณะนี้ สถานะทางการเงินของระบบสถาบันการเงินยังแข็งแกร่ง หนี้เสียตํ่า แต่จำเป็นต้องปรับโครงสร้างครั้งใหญ่อันเป็นผลกระทบจากนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน การแข่งขันในภาคการเงินรุนแรงขึ้นจากการแข่งให้บริการโดยกลุ่ม non-bank ในปัจจุบัน ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นมากในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น เขตเศรษฐกิจ EEC หัวเมืองใหญ่ ยังไม่มีสัญญาณชัดนักในภาวะฟองสบู่ในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศควรมีระบบข้อมูล Big Data ครอบคลุมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อหรืออุปสงค์ สินเชื่อสถาบันการเงิน เป็นต้น สาเหตุปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกช่วงปี 2540 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดข้อมูล ทำให้เกิดปัญหา oversupply การเก็งกำไร และสินเชื่อด้อยคุณภาพ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"