ป้องกันตายายป่วยอัลไซเมอร์หลงทาง ให้ลูกหลานหมั่นเติมความรักในครอบครัว


เพิ่มเพื่อน    

(ตัวอย่าง “กำไลข้อมืออิเล็กทรอนิกส์” ช่วยป้อง กันผู้สูงอายุเดินพลัดหลงไปตามจุดต่างๆ)

    พบได้บ่อยๆ สำหรับ “ผู้สูงอายุหลงทาง” โดยเฉพาะคุณตาคุณยาย ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ บางครั้งการฝากฝังเพื่อนบ้านให้ช่วยเป็นหูเป็นตา อาจจะยังไม่เพียงพอ ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยี และเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยหลายอย่าง อาทิ “กำไลข้อมืออิเล็กทรอนิกส์”  ตลอดจนการ “ติดกล้องวงจรปิด” นั่นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า อุปกรณ์ไฮเทคดังกล่าว ก็สามารถเป็นตัวช่วยเพื่อป้องกันผู้สูงวัยพลัดหลงทางได้ 

(วิภา เกียรติหนุนทวี)

    พี่แป้ง-วิภา เกียรติหนุนทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการผู้สูงอายุ รพ.ปากท่อ กล่าวว่า “ต้องบอกเลยว่านวัตกรรมที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็น “กำไลข้อมืออิเล็กทรอนิกส์” ที่มีความพิเศษคือสามารถบอกพิกัด หรือจีพีเอสของผู้สวมใส่ได้ ตรงนี้ถือเป็นตัวช่วยป้องกัน ผู้สูงวัยพลัดหลงได้ทางหนึ่งค่ะ เพราะตอนนี้ของใช้ทุกอย่างในบ้านเรา ก็ล้วนแล้วแต่ปรับให้ทันสมัยตามยุคดิจิตอล หรือแม้แต่ “หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ” ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุปลอดภัย จากอันตรายของการหกล้มได้ ตลอดจนการ “ติดตั้งกล้องวงจรปิด” ไว้ในบ้านและรอบบ้าน ที่ลูกหลานสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ก็สามารถชี้พิกัดหรือเส้นทาง ที่คาดว่าผู้สูงอายุจะเดินหลงทางได้ ซึ่งมีความจำเป็นมากในการค้นหา หรือหากบ้านไหนที่ยังไม่สะดวกใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ก็ยังสามารถใช้วิธีแบบดั้งเดิม คือการ “เขียนที่อยู่/ชื่อ/นามสกุล ของคุณตาคุณยายใส่กระเป๋าเสื้อ” ท่านไว้ หรือทำเป็นแบบ “กำไลพลาสติก ระบุชื่อ/นามสกุล/ที่อยู่” กรณีที่ผู้สูงอายุ ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และการเกิดการพลัดหลงไปในที่ต่างๆ เวลาลูกหลานพาออกไปทำธุระนอกบ้าน เช่น พาไปซื้อของหรือพบแพทย์ 

(การหมั่นดูแลเอาใจใส่ปู่ย่าตายาย สิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันผู้สูงอายุน้อยใจ หนีออกจากบ้าน หรือเดินพลัดหลงป่า)

    นอกจากนี้ หากผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนต่างจังหวัด การขอให้เพื่อนบ้านหรือคนในชุมชน ช่วยกันเป็นหูเป็นตา หรือช่วยพาคุณตาคุณยายที่ป่วยโรคความจำเสื่อม ซึ่งเดินพลัดหลงไปตามจุดต่างๆ กลับไปส่งที่บ้าน แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันผู้สูงอายุเดินพลัดหลง ก็คงต้องย้อนกลับมาที่ครอบครัว เพราะนอกจากความเอาใจใส่ปู่ย่าตายาย ที่มีอายุและป่วยเป็นโรคทางสมอง หรืออาการหลงๆ ลืมๆ บางครั้งการพูดคุยซักถาม เพื่อไม่ให้ท่านรู้สึกน้อยใจว่าตัวเองอยู่โดดเดี่ยว หรือการสื่อสารด้วยความเข้าใจ โดยไม่ทำให้คุณตาคุณยายคิดไปในทางลบ เช่น การพูดให้ท่านรู้สึกว่า ไม่ได้เป็นผู้ที่มีคุณค่าสำหรับลูกหลาน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันผู้สูงอายุหนีน้อยใจ ออกจากบ้าน กระทั่งเดินหลงทางไปในที่ต่างๆ บวกกับภาวะของโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นอยู่”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"