สังคมพหุวัฒนธรรม กับปัญหาการห้ามคลุมฮิญาบ ในโรงเรียนอนุบาลปัตตานี


เพิ่มเพื่อน    

    จากกรณีของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ในเรื่องการห้ามนักเรียนหญิงมุสลิมสวมฮิญาบ” หรือ “ผ้าคลุมผม” ไปโรงเรียน ของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี โรงเรียนเด็กเล็กและชั้นประถมชื่อดังของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏการณ์นี้ถือว่าน่าศึกษา เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า post-violence ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัญหาสังคมที่บาดลึกจากความรุนแรงที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 1 ทศวรรษครึ่ง จนก่อความรู้สึกหวาดระแวง ลุกลามไปจนถึงเกลียดชังกันระหว่างผู้คนสองศาสนา ประเด็นที่ต้องนำมาขบคิดวิเคราะห์ว่า เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรมกันอย่างไร
    ตั้งแต่โบราณมา มนุษย์ก็พยายามแก้ปัญหาแบบนี้มาโดยตลอด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ วิธีการที่มักจะใช้ก็คือการปราบปรามด้วยอาวุธ วิธีนี้ส่วนใหญ่แล้วไม่สำเร็จ เพราะชนกลุ่มน้อยก็จับอาวุธขึ้นต่อสู้เหมือนกัน ถ้าสู้ทางตรงไม่ได้ก็สู้แบบกองโจรวิธีนี้หลายประเทศได้เลิกเเล้ว เพราะเสียเลือดเนื้อมากมาย อีกวิธีคือ การกลืนวัฒนธรรม คือ ค่อยๆ ย่อยสลายวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยแล้วให้มาปฏิบัติตามวัฒนธรรมชนกลุ่มใหญ่แทน วิธีนี้ก็ล้มเหลว เพราะชนแต่กลุ่มยึดวัฒนธรรมของตนเองแน่นแฟ้นมากกว่าที่คิด ประเทศไทยก็เคยใช้ทั้งสามวิธีแล้วก็ไม่ได้ผลเหมือนกัน
    วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือวิธีพหุนิยม (Pluralism) โดยต้องยอมรับอย่างจริงใจว่าประเทศของเราประกอบด้วยบุคคลหลายกลุ่มวัฒนธรรม และแต่ละกลุ่มที่เป็นสัญชาติเดียวกันก็เป็นเจ้าของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีประชาชนชั้นหนึ่งชั้นสอง ชนแต่ละกลุ่มจะต้องให้เกียรติวัฒนธรรมของกันและกัน อีกทั้งไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ต้องได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีความลำเอียงเนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิด้านส่วนบุคคลหรือด้านสังคมโดยรวม ขอยกตัวอย่างดีๆ จากมาเลเซีย เช่น วันสำคัญของทุกศาสนาให้เป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งวันวิสาขบูชา อันที่จริงชาวพุทธในมาเลเซียมีไม่กี่หมื่นคน แต่ชนะใจชาวพุทธทั้งโลกยังไง ข้อสำคัญที่สุด นั่นก็คือ รัฐบาลต้องเป็นกลาง และต้องให้มีการปฏิบัติตามหลักการนี้อย่างแท้จริง
    ถ้าแก้ปัญหาสังคมพหุวัฒนธรรมได้โดยละม่อมแล้วจะเกิดข้อดีอย่างมากแก่สังคมโดยรวม กล่าวง่ายๆ ก็คือ ชนแต่ละกลุ่มมีดีคนละอย่างดังนั้นถ้านำเอาจุดแข็งของชนแต่ละกลุ่มมารวมกัน มันจะก่อให้เกิดพลังรวมหมู่อันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลประโยชน์จากต่างประเทศมาสู่ประเทศของเราโดยรวม ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น กลุ่มที่จะนำผลประโยชน์จากโลกมุสลิมเข้ามาสู่ประเทศเรา ไม่มีใครจะทำได้ดีกว่าชาวมุสลิมภายในประเทศ และชนกลุ่มอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน
    จากทัศนะดังกล่าว คงมาถึงข้อสรุปได้ว่า การยอมรับซึ่งกันและกันบนพื้นฐานแห่งความแตกต่างด้วยการหันหน้าเข้าหากัน เปิดใจให้กันและกันด้วยหลักประชามติมิใช่ยึดเอาแต่เพียงกฎหมายเป็นการตัดสินความถูกผิดเท่านั้น น่าจะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของสังคมไทยต่อปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด อันเป็นความหวังของเราทุกคนร่วมกัน.
                    รังสรรค์ ปู่ทอง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"