"พลเมืองดิจิทัล"อีกรูปแบบ"การเรียนรู้ตลอดชีวิต"


เพิ่มเพื่อน    


การอบรมหลักสูตร “การพัฒนาทักษะและการเป็นพลเมืองดิจิทัล         

                      

ถ้าพูดถึงไทยแลนด์ 4.0 คงจะเชย ถ้าบอกว่าไม่รู้จัก เพราะภาครัฐมีการโหมประชาสัมพันธ์กันมาหลายปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว  ความป็นไทยแลนด์ 4.0จะไม่สมบูรณ์แบบ หรือประสบความสำเร็จเพียงแค่ส่วนยอดถ้าพลเมืองในประเทศ ยังไม่มีความรู้ความสามารถ ในการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล 


เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa )ได้จับมือร่วมกับ Googleประเทศไทย ได้ร่วมกันเปิดอบรมหลักสูตร "การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับผู้นำชุมชน เพื่อนำไปสู่การขยายตัวการเป็นพลเมืองดิจิทัล"หรือ Digital Cititzenship  

รัฐศาสตร์ กรสูตร รองผอ.ดีป้า กล่าวว่า  ทางดีป้า ได้ร่วมกับกูเกิล ใช้เวลาในการพัฒนาหลักสูตร การอบรมพลเมืองดิจิทัลถึง 8เดือน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้คนไทยสามารถพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็ว   ถ้าพลเมืองเป็นพลเมืองดิจิทัลแล้ว ก็จะมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดความมั่งคั่ง ได้อย่างยั่งยืน เพราะเทคโนโลยีจะช่วยให้เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วขึ้น และเชื่อว่าคนไทยจะสามารถเป็นพลเมืองดิจิทัลได้ ถ้าดูจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนไทย ที่เข้าสู่ระบบออนไลน์มากถึง 80% จากประชากรทั้งหมด 69.11ล้านคน เถ้าถึงอินเตอร์เน็ต 57ล้านคน ใช้โทรศัพท์มือถือ 50.56 ล้านคน  และการที่รัฐบาลได้ทำโครงสร้างเพื่อความสะดวกจากเน็ตประชารัฐ ก็เชื่อว่าจะทำให้คนเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้นอย่างแน่นอน แต่ปัญหาคือ เมื่อคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์ สร้างรายได้ให้กับตัวเองได้มากขึ้นหรือไม่  ตรงนี้เป็นโจทย์สำคัญของการนำไปสู่การต้องอบรม"พลเมืองดิจิทัล"  ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้อินเตอร์เน็ต ในลักษณะที่เข้าถึง เข้าใจ ใช้เป็น รู้หน้าที่ เข้าถึงโอกาส และมีความสามารถรับมือได้กับทุกสถานการณ์  เช่นในปัจจุบันมีเงินสกุลดิจิทัล เกิดขึ้น  ซึ่งผู้เข้าสู่โลกไซเบอร์ ควรมีความรู้ ภูมิต้านทานในเรื่องเหล่านี้ 

 


"คุณสมบัติ ของการเป็นพลเมืองดิจิทัล จะรวบรวมไว้ในหลักสูตรอบรม ที่มี 6 โมดูลด้วยกัน ผู้นำชุมชนที่เคยเป็นผู้นำออฟไลน์ ต่อไปก็จะต้องเป็นผู้นำออนไลน์ และสามารถหยิบเลือกเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับตัวเอง หรือเหมาะกับการพัฒนาธุรกิจในชุมชนที่เขาอยู่อาศัย"

ดร. พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


ดร. พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ทุคนคงเคยได้ยินเรื่องยุทธศาสตร์ 20ปีของรัฐบาล ซึ่งถ้าหากคนในประเทศไม่รู้จักดิจิทัล คงไปต่อไม่ได้   นอกจากนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังตั้งเป้าที่จะให้พลเมืองของประเทศอย่างน้อย  30 ล้านคน หรือครึงหนึ่งของพลเมืองทั้งประเทศกลายเป็นพลเมืองดิจิทัล  ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ลงทุนในโครงการ เน็ตประชารัฐ  เพื่อให้ประชาชนทุกแห่งหนเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต   และเพื่อส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัล  ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวช่วยการขับเคลื่อน   ที่ผ่านมารัฐบาลได้ลงทุนเน็ตประชารัฐได้เข้าถึง 25,000 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 75,000 หมู่บ้าน  และคาดว่าสิ้นปีนี้เน็ตไวไฟความเร็วสูงจะเข้าถึงครบทุกหมู่บ้าน แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างเข้าสู่ถนนดิจิทัลแล้ว  แต่สำหรับภาคประชาชนการมีถนนดิจิทัล  จำเป็นต้องมีทักษะ 2-3อย่าง อย่างแรกคือความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Digital Literacy  ขณะเดียวกัน ต้องรู้ด้านมืดของโลกดิจิทัล เพื่อป้องกันดูแลตัวเอง เนื่องจาก  ในโลกอินเตอร์เน็ต ยังมีสิ่งที่จริงและไม่จริงปนเปกัน  เราจึงจำเป็นต้องมีการสังเคราะห์ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ  รวมทั้ง ยังทำให้เราเป็นผู้ใช้ที่มีจริยธรรมด้วย 


"ไม่อยากเห็นคนใช้ไวไฟ ถนนดิจิทัลที่รัฐบาลลงทุนทำไว้ให้แค่การแชทคุยกันเจ๊าะแจ๊ะ  แต่อยากเห็นการใช้ที่เกิดประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ เป็นการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ ส่วนหลักสูตร “การพัฒนาทักษะและการเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship)  จะทำให้พลเมืองดิจิทัลที่รู้จักใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์  รู้เท่าทัน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล และยังช่วยสร้างโอกาสเสริมศักยภาพในการสร้างเศรษฐกิจสร้างรายได้ การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร การค้าขายออนไลน์ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั่วถึงเท่าเทียมกัน"ดร.พันธ์ศักดิ์กล่าว

 

ผู้ช่วยรมต.ฯ กล่าวอีกว่า สำหรับการเลือกเปิดอบรมผู้นำชุมชนด้านเป็นพลเมืองดิจิทัล ที่ชลบุรีเป็นแห่งแรก  ก็เพื่อเป็นการนำร่อง และเตรียมความพร้อมของพลเมืองภาคตะวันออกให้มีความพร้อม และความรู้ด้านดิจิทัล รองรับกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี และเชื่อว่าต่อไปผู้นำชุมชนที่อยู่ในระบบออฟไลน์ กับออนไลน์ต้องไปด้วยกัน  นอกจากนี้ การอบรมก็จะทำให้ครบตามหัวเมืองใหญ่อีก 3 ภูมิภาคต่อไป 

 

ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผอ.ดีป้า  กล่าวว่า “ในยุคดิจิทัลผู้ที่มีความสามารถทางด้านการใช้ดิจิทัลได้มากกว่าย่อมเป็นผู้ที่ได้เปรียบ เนื่องจากว่าสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มศักยภาพ ในการใช้ชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดีป้าจึงพยายามส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชน เพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างคนในชุมชนเมืองและชุมชนห่างไกล   โดยดีป้าจับมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญอย่าง Google   จัดการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาทักษะและการเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship)” ซึ่งในปีแรกเรามุ่งเน้นไปที่ผู้นำชุมชนดิจิทัล  (Digital Community Leader) เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมระดับฐานราก ให้กับชุมชนที่มีความพร้อม จำนวน 4 ครั้ง ทั่วประเทศในพื้นที่ยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย พื้นที่อีอีซี  พื้นที่สมาร์ทซิตี้ เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต   ซึ่งหลังจากที่เหล่าผู้นำชุมชนมีทักษะพลเมืองดิจิทัลจากการอบรมแล้ว สามารถถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ www.thaidigizen.com เพื่อทำหน้าที่ขยายผลต่อไปยังประชาชนทุกคนในชุมชน  


"ที่สำคัญยังสามารถต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น โดยขอรับการช่วยเหลือหรืออุดหนุนจากดีป้าในเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชนในชนบท (depa Digital Transformation Fund for Community) เพื่อนำไปพัฒนาชุมชน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อโครงการ โดยปัจจุบันดีป้าได้นำร่องจำนวน 22 ชุมชน  ผ่านกิจกรรม “depa Digitized Community Boot Camp 2018” เดินสายทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการเปิดประสบการณ์ให้ชุมชนนำปัญหา และจุดอ่อนมาแชร์ให้กับสตาร์ทอัพแล้วร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ  ทั้งหมดนี้คือแนวทางเพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้าไปขับเคลื่อนพัฒนาสังคมเศรษฐกิจในชุมชน ผลักดันธุรกิจนวัตกรรมในเชิงสังคมอย่างเป็นรูปธรรม”ผอ.ดีป้ากล่าว

ดร. เอเดรียน แวนเซิล

ดร. เอเดรียน แวนเซิล  Country Head for GMS  Thailand, Google Asia Pacific, Singapore  กล่าวว่า Google รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมมือกับดีป้า  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อริเริ่มโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาทักษะและการเป็นพลเมืองดิจิทัล” ให้กับผู้นำชุมชน จำนวน 3,000 แห่งในโครงการเน็ตประชารัฐ Google เชื่อว่าเทคโนโลยีจะสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างมหาศาล ดังนั้น เราจึงไม่เพียงแต่จะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างความสำเร็จจากแพลตฟอร์มดิจิทัลเท่านั้น   แต่เรายังจะมุ่งมั่นในการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน โดยในโครงการนี้ Google ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและการเป็นพลเมืองดิจิทัลให้กับผู้นำชุมชน ด้วยการจัดวิทยากรฝึกอบรม จัดโปรแกรมฝึกอบรมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีประโยชน์ต่อชุมชน สร้างความรู้และความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของพลเมืองดิจิทัลที่ดี สร้างเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาและการใช้วีดิโอส่งเสริมการขายเพื่อใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยความรู้เหล่านี้นับเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการเป็นผู้นำชุมชนที่มีคุณภาพ  ที่พวกเขาสามารถนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสร้างรายได้ให้กับชุมชนของพวกเขาเอง

หลักสูตร “การพัฒนาทักษะและการเป็นพลเมืองดิจิทัล” (Digital Citizenship) ถูกบรรจุอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ www.thaidigizen.com เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้และเพิ่มช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกที่ให้กับชุมชนและประชาชนทั่วประเทศไทย โดยมุ่งหวังว่า โครงการฯ นี้จะช่วยเพิ่มทักษะดิจิทัลให้แก่ประชาชนในวงกว้างเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล อีกทั้งพัฒนาเครือข่ายของชุมชนให้ช่วยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยอย่างสร้างสรรค์ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องพลเมืองดิจิทัลให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"