30 มิ.ย. 61 - นายคำนูณ สิทธิสมาน คณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ..... โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า ก.ร.ตร. - กลไกใหม่แก้ทุกข์ประชาชน 2 ด้านของเหรียญในการปฏิรูปตำรวจครั้งนี้ที่คณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจฯตั้งธงไว้ตั้งแต่วันประชุมนัดแรก (20 เม.ย.) ก็คือ ด้านหนึ่งแก้ทุกข์ของตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมภายในองค์กร และอีกด้านหนึ่งแก้ทุกข์ของประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากตำรวจ
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการฯได้พิจารณาหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งโยกย้ายและการจัดระเบียบราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มกลไกใหม่ 'ก.พ.ค.ตร.' หรือ 'คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตำรวจ' ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ของตำรวจ แทนที่ก.ตร. เป็นการตอบโจทย์ในด้านแก้ทุกข์ของตำรวจ
ช่วงนี้ คณะกรรมการฯได้มีมติเพิ่มกลไกใหม่ 'คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ' หรือ 'ก.ร.ตร.' ขึ้นมาอีกหนึ่งเพื่อตอบโจทย์ในด้านแก้ทุกข์ของประชาชน ขณะเดียวกันก็ให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาเพื่อให้ตำรวจประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมด้วย
"ในกรณีที่บุคคลใดไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกระทำหรือไม่กระทำการของข้าราชการตำรวจอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือพบเห็นข้าราชการตำรวจประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสมและเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำรวจ กระทำผิดวินัย หรือละเมิดประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ให้มีสิทธิร้องเรียนต่อก.ร.ตร. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ร.ตร.กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นและไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินสมควร"
นี่คือบทบัญญัติมาตราหลักที่กล่าวถึงหน้าที่และอำนาจของก.ร.ตร.
ก.ร.ตร.มีองค์ประกอบ 10 คน
1. บุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมซึ่งได้รับการคัดเลือกจากการประชุมร่วมกันของผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จำนวน 1 คน
2. อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือเทียบเท่าขึ้นไปซึ่งได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการข้าราชการตุลาการ (ก.ต.) จำนวน 1 คน
3. อดีตอัยการพิเศษฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปซึ่งได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) จำนวน 1 คน
4. อดีตข้าราชการตำรวจในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าขึ้นไปซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรทั่วประเทศ จำนวน 3 คน ทั้งนี้ ให้เลือกในคราวเดียวกับการเลือกก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้แล้วว่าให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)
5. ทนายความผู้มีอายุการทำงานไม่น้อยกว่า 20 ปีซึ่งได้รับการคัดเลือกจากสภาทนายความ จำนวน 1 คน
6. ผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล จำนวน 2 คน โดยอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นสตรี
7. จเรตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการก.ร.ตร.
คณะกรรมการมีวาระ 4 ปี ดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว
ให้คณะกรรมการคัดเลืิอกกรรมการตามข้อ 1 - 4 คนหนึ่งเป็นประธานก.ร.ตร.
กรรมการตามข้อ 1 - 4 ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
ให้สำนักงานจเรตำรวจทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ ช่วยเหลือ และสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของก.ร.ตร. และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ก.ร.ตร.มอบหมาย
กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของก.ร.ตร. และผลหลังจากนั้น กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด เมื่อมีมติแน่นอนแล้วจะได้รายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |