29 มิ.ย.2561 – เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยที่ 4/2561 เรื่องพิจารณาที่ 6/2561 เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 140 และมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (5) และวรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 45 หรือไม่
ทั้งนี้เนื้อหาของคำวินิจฉัยดังกล่าวมีทั้งสิ้น 15 หน้า ซึ่งที่น่าสนใจคือ คำชี้แจงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ที่ได้ทำถึงศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อหาอยู่ที่ 7- 8 ที่ระบุว่า ...การออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวเป็นไปเพื่อการปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 ก. (2) จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 แม้ว่าคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวมีผลเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 140 และมาตรา 141 แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด และย่อมทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 140 และมาตรา 141 ที่แก้ไขแล้วนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุดด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีหน้าที่และอำนาจที่จะรับเรื่องร้องเรียนของรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ไว้เพื่อพิจารณา และเสนอเรื่องพร้อมความเห็น ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนี้
นอกจากนี้ ความที่ใช้แทนในมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560ยังคงให้การรับรอง และคุ้มครองสิทธิของสมาชิกพรรคการเมืองทุกประการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 และเป็นการให้สิทธิแก่สมาชิกพรรคการเมืองดังกล่าวได้มีโอกาสทบทวนตนเองว่ายังคงมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้นต่อไปหรือไม่ ด้วยความรอบคอบ ด้วยความชัดเจน ด้วยความเป็นอิสระ และโดยสมัครใจ ไม่เป็นการลิดรอนสิทธิของสมาชิกพรรคการเมือง ไม่เป็นการเพิ่มภาระเกินสมควรแก่สมาชิกพรรคการเมือง ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติแก่สมาชิกพรรคการเมืองโดยไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด และหากพิจารณาถึงผลที่จะได้รับเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 และมาตรา 258 ย่อมจะทำให้การจัดทำทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองเป็นไปโดยถูกต้อง เรียบร้อย เป็นปัจจุบัน ไม่เกิดความยุ่งยากสับสนหรือความเหลื่อมล้ำระหว่างพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นก่อนแล้ว หรือระหว่างพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นก่อนแล้วกับพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 141 วรรคหนึ่ง (5) และวรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวนั้น ไม่มีลักษณะเป็นการลิดรอนเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพิ่มภาระในการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองใหม่จนเกินสมควรแก่เหตุ และเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมกับพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิมแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นแล้วสามารถดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลา อีกทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวยังให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะขยายระยะเวลาดำเนินการเพิ่มเติมอีกได้ ทั้งนี้ หากพิจารณาเจตนารมณ์ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวที่ปรากฏในคำปรารภ ย่อมเห็นได้ว่ามาตรการดังกล่าวเป็นวิธีการเพื่อให้เกิดผลในการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 และมาตรา 258 โดยมุ่งประสงค์ให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นแล้วและพรรคการเมือง ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่มีลักษณะเป็นพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่พรรคการเมืองของ กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือนายทุน รวมทั้งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นแล้ว และพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |