กรมศิลป์ฯพบภาพเขียนสีโบราณ"เพิงผาพรุตีมะ"ยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 5,000-3,000 ปี


เพิ่มเพื่อน    

 

29 มิ.ย.61-  กรมศิลปากร โดย กลุ่มโบราณคดีและอนุรักษ์โบราณสถาน สาขาภูเก็ต สำนักศิลปากร นครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมท้องถิ่น อสมศ. และราษฎรในตำบลอ่าวลึกน้อย จังหวัดกระบี่ สำรวจแหล่งภาพเขียนสีเขาช่องลม 3 (เพิงผาพรุตีมะ) ในพื้นที่ หมู่ 6 บ้านคีรีวงศ์ ตำบลอ่าวลึกน้อย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ในเขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี พบกลุ่มภาพเขียนสีโบราณ จำนวนหลายกลุ่ม ซึ่งบริเวณที่พบกลุ่มภาพมีลักษณะเป็นเพิงผาขนาดใหญ่ เป็นแนวยาวประมาณ 200 เมตร บริเวณเพิงผาติดกับพื้นที่ป่าพรุ ที่ชาวบ้านเรียกว่า“พรุตีมะ” 

จากการสำรวจแหล่งภาพเขียนสีเขาช่องลม 3 (เพิงผาพรุตีมะ) พบว่าลักษณะภูมิประเทศมีความเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย แวะพักระหว่างการเดินทาง และประกอบกิจกรรม กลุ่มภาพเขียนสีโบราณที่พบจัดอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุราว 5,000 – 3,000 ปีมาแล้ว เบื้องต้นจำแนกออกได้เป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ ภาพบุคคล ภาพคล้ายเรือ สัตว์ เช่น ช้าง ลิง ปู เรขาคณิต และสัญลักษณ์ เขียนด้วยสีแดง น้ำตาล ดำ ใช้เทคนิคเขียนลายเส้นเป็นโครงร่างภายนอกและเขียนลวดลายตกแต่งภายใน ตลอดจนแบบระบายสีทึบ

 สำหรับภาพบุคคลปรากฏรายละเอียดมีหน้าตา เส้นผม อวัยวะเพศ ถือสิ่งของหรือสัตว์ เช่นเดียวกับภาพบุคคลที่พบที่ถ้ำผีหัวโต สันนิษฐานว่าภาพเขียนเหล่านี้อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือใช้ประกอบพิธีกรรมบางอย่าง ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอันแสดงให้เห็นถึงร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์  และพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่สำคัญของพื้นที่แถบนี้  ซึ่งสมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษาและเป็นมรดกของชาติสืบไป

ภาพเขียนสีดำคล้ายรูปเรือและบุคคล

 

ภาพเขียนโครงร่างและตกแต่งภายในด้วยสีแดง/น้ำตาล รูปบุคคล แสดงรายละเอียดใบหน้าและเส้นผม

 

ภาพระบายทึบสีดำรูปสี่เหลี่ยม

สภาพเพิงผาของเขาช่องลม (เพิงผาพรุตีมะ) ด้านทิศตะวันออก

ด้านล่างปรากฏร่องรอยกลุ่มภาพเขียนสีโบราณ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"