ศธ.-บอร์ดอิสระฯ วางแผนเตรียมปฏิรูปการศึกษาบบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ หรือกลุ่มเด็กพิการ ทั้งแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค ย้ำต้องสร้างมุมมองใหม่ผู้เกี่ยวข้องทั้งโรงเรียน พ่อแม่ ต้องเรียนรวมกับเด็กปกติ เน้นการมีอาชีพในอนาคต แบ่งเป้าสำเร็จ 2 ระยะ 3 เดือน และ 6 เดือน -1 ปี
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ เช่น ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ และให้เด็กสามารถเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาทั่วถึง และทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า จากนี้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจะได้รับการดูแลที่ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอจากคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการว่า อยากให้มีนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่ดูแลคนพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เป็นต้น
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) ฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพูดถึงการดำเนินการเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษสำเร็จโดยเร่งด่วนว่า อันดับแรกจะต้องมีการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคเพื่อดูแลช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ จากนั้นจะต้องทำให้เด็กพิการได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการมีงานทำหรือการเรียนอาชีพควบคู่กันไป ส่วนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ซึ่งมีเป็นแสนคน แต่เมื่อมีการตรวจสอบในเชิงวิจัยแล้ว พบว่า มีเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้จริง ๆ ประมาณร้อยละ 40 ดังนั้นจะต้องหาวิธีการคัดกรองเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้จริงๆ ให้ได้ ไม่ใช่เด็กเรียนช้า เพราะเด็ก 2 กลุ่มเป็นคนละกลุ่มกัน ซึ่งคนที่จะทำหน้าที่นี้ไม่ใช่เป็นภาระของฝ่ายแพทย์เท่านั้น แต่โรงเรียนหรือฝ่ายการศึกษาจะต้องเข้ามาทำหน้าที่ในการคัดกรองด้วย นอกจากนี้จะต้องมีการนำเรื่องดิจิทัลแพลตฟอร์มมาใช้ เพื่อนำบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเข้ามาสู่ระบบการศึกษา และต้องมีการวางระบบที่ควบวงจร
ขณะที่ต้องเสริมความรู้ให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้ามาช่วยดูแลเด็กด้วย และไม่เห็นด้วยที่จะแยกเด็กกลุ่มนี้ ออกไปเรียนต่างหาก คงต้องปรับระบบโรงเรียนและความคิดของสังคม โดยใช้วิธีการค่อยๆ ทำไป และเรื่องสุดท้ายคือการประกันคุณภาพที่ว่าโรงเรียนกลุ่มนี้จะต้องมีมาตรฐานของตนเอง เพื่อเป็นตัวกำกับหลายเรื่องให้เป็นไปตามหลักการ เช่น มาตรฐานที่กำกับว่าทุกโรงเรียนต้องดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อให้โรเรียนไม่สามารถปฏิเสธเด็กกลุ่มนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้วางแนวทางการทำงานให้ประสบความสำเร็จเป็น 2 ระยะ คือ ช่วงเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน -1 ปี โดยมอบให้คณะกรรมการปฏิรูปการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษไปพิจารณาต่อ แล้วทำเป็นแผนงานเสนอต่อที่ประชุมต่อไป
"ที่ประชุมเห็นว่ามีความจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเปลี่ยนความคิด วิธีการที่จะมองการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการใหม่ ส่วนสถานศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มพิเศษจะต้องจัดให้มีความเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง เช่น เรื่องความสะอาด การติดตั้งกล้องวงจรปิดในห้องเรียนหรือในโรงเรียน เป็นต้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |