นอกจาการปลดล็อคการทำกิจกรรมการเมืองแล้ว อีกหนึ่งกางชิ้นสำคัญที่จะไปสู่การเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่บรรดานักการเมืองเรียกร้อง ให้ใช้ มาตรา 44 ดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. ยกเลิกระบบการคัดเลือกผู้สมัครขั้นต้น หรือ ไพรมารีโหวต 2.เลื่อนใช้ไพรมารีโหวตไปคราวหน้า และ 3. ทำไพรมารีโหวต ระดับภาคแทน ต่อคสช.
โดย “พี่ใหญ่” อย่าง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคสช.บอกภายหลังหลังหารือกับ 74 พรรคการเมือง เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ว่า
"เราต้องพิจารณาอีกที"
ส่วนความเห็นของคนในแม่น้ำ 5 ที่ปลุกปั้นเรื่องนี้ คือสนช. โดย "พรเพชร วิชิตชลชัย" ประธาน สนช. ให้ความเห็นเชิงเป็นห่วงว่าจะขัดหลักการของรัฐธรรมนูญหรือไม่
“ก็ต้องพิจารณาว่ามาตรา 44 ทำได้เพียงใด ถ้าเราไม่ทำตามกฎหมาย จะมีช่องทางอะไรทำได้บ้าง เดี๋ยวจะมาหาว่าใช้ปาฏิหาริย์กฎหมายอีก”
ขณะที่ อ.มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. และ ที่ปรึกษาคสช. สะท้อนว่าถ้าดูตามบทเฉพาะกาลของกฎหมายพรรคการเมืองที่มี คําสั่งหัวหน้า คสช. 53/2560 แก้ไขก็ผ่อนมาเยอะแล้ว จากทำทุกเขตให้ทำรายจังหวัด( 100 คน) แทน
ส่วนข้อเสนอของพรรคการเมือง 3 ข้อในการทำไพรมารีโหวตนั้น
1.เสนอให้ยกเลิกไพรมารีโหวตก็น่าเสียดายที่อุตส่าห์คิดค้นวิธีกันมา
2. ข้อเสนอให้เลื่อนใช้ไพรมารีโหวตไปคราวหน้า ต้องถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายเช่นกันที่เราจะไม่ได้ทดลอง
และ3.ให้ทำไพรมารีโหวตระดับภาคแทนนั้น
คิดว่าเหมือนนำคนกลุ่มเดียวมาทำไพรมารีโหวต ซึ่งไม่ได้บอกอะไร เพราะมี 4-5 ภาค แต่ต้องครอบคลุมถึง 76 จังหวัด ดังนั้นต้องกลับมาพิจารณาว่าข้อเสนอใดจะดีที่สุดสำหรับประชาชน
กระทั่งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.บอก
“ตอบไม่ได้ ทุกเรื่องที่เสนอมาจากบรรดานักการเมือง พรรคการเมืองต่างๆ ส่วนการนัดประชุมกับพรรคการเมืองครั้งหน้านั้น ตนได้ถามฝ่ายความมั่นคงแล้ว คงจะเกิดขึ้นประมาณเดือน ก.ย.นี้"
เมื่อฟังเสียงจาก บิ๊กคสช. และแกนนำหลักแม่น้ำ 5 สายแล้ว จึงเป็นเรื่องยากที่ จะยกเลิก ไพรมารีโหวต เพราะอาจไม่มีอธิบายที่ก่อนหน้านี้ สนช. ใช้แทคติกทางกฎหมาย ขยายการบังคับใช้ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ส.ให้บังคับใช้ 90 วัน ภายหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย คสช.กำหนดไว้ 60 วันให้ กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง และ 30 วันให้พรรคการเมืองจัดสรรผู้สมัครผ่านไพรมารีโหว โดย คสช.และ สนช.จะตอบเรื่องนี้อย่างไร
อีกทั้งการยืนหลักไพรมารีโหวตยังตอบโจทย์การเข้ามาของ คสช.เพื่อปฏิรูประบบการเมือง เพราะทำให้พรรคการเมืองหลุดจากการควบคุมจากบุคคลที่ทรงอิทธิพลภายในพรรคหรือพวกนายทุน มาเป็นการให้เกียรติสมาชิกพรรคคัดเลือกตัวแทนมากขึ้น
ส่วนข้ออ้างที่พรรคการเมืองใหญ่บอกว่ามีผลผลกระทบ ไม่น่าเป็นความจริง แม้แต่พรรคพลังประชารัฐของทหาร ประเมินแล้วก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะภายใต้บทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง ได้อนุโลมให้จัดตั้งสาขาพรรคการเมือง จำนวน 4 ภูมิภาค ภาคละ 500 คน และตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด จังหวัดละ 100 คน จากทั้งหมด 74 จังหวัด ที่ต้องการส่งผู้สมัคร ส.ส.ครบ 350 เขต ใช้ฐานเสียงเพียงนี้ จึงเชื่อไม่น่าใช่เรื่องยากแต่อย่างใด
มีเพียงพรรคขนาดเล็กและไม่มีศักยภาพที่เพียงพอ เพราะติดเงื่อนไขคําสั่งหัวหน้า คสช. 53/2560 ข้อ 2 การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ที่ต้องมีกรรมการบริหารพรรคการเมืองจํานวน 4 คน และหัวหน้าสาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด คัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งอาจทำให้ขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไป รวมทั้งพรรคที่เป็นปรปักษ์ จริงๆ แล้วก็ไม่มีปัญหา แต่ที่ออกมาป่วนทุกประเด็นเพื่อดิสเครดิตรัฐบาลทหารและต้องการให้คืนอำนาจสู่การเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว
เมื่อวิเคราะห์ตามเหตุผล และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ คสช.คงไม่บ้าจี้ใช้มาตรา 44 ยกเลิกไพรมารีโหวต ตามคำร้องขอของพรรคการเมือง ส่วนใครไม่ชอบหรือจะงดร่วมสังฆกรรมผู้มีอำนาจคงไม่ง้อ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |