เติมเต็มคุณภาพชีวิตวัยเก๋า เลือกของใช้สอดรับกายภาพ


เพิ่มเพื่อน    

(พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร)

    การดูแลสุขภาพปู่ย่าตายายอาจรวมไปถึงการเลือกอุปกรณ์สำหรับผู้สูงวัยที่ได้มาตรฐาน เพราะของใช้เหล่านี้เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้ค่อนข้างสะดวก ไล่ตั้งแต่แพมเพิร์ส, วีลแชร์ กระทั่งส้วมอเนกประสงค์แบบพกพา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิถีพิถันในการเลือก เพื่อให้การใช้งานตรงกับสรีระร่างกายของคุณตาคุณยาย 
    ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก แบรนด์ “เบบี้ กิ๊ฟ (ไทยแลนด์) จำกัด (Baby Gift) พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกข้าวของเครื่องใช้สำหรับคนสูงอายุไว้น่าสนใจว่า “ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีผู้ใหญ่หลายคนที่ใช้ชีวิตปกติกับผู้สูงวัยที่ติดเตียง ประกอบกับอายุที่มากขึ้น รวมถึงโรคภัยต่างๆ กระทั่งทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ต้องใช้ “แผ่นรองปัสสาวะ” โดยเฉพาะผู้สูงวัยติดเตียงก็จำเป็นต้องใช้แผ่นอนามัยรองปัสสาวะสำหรับผู้ใหญ่ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเราใช้อุปกรณ์เหล่านี้แล้วไม่ดูแลให้ดี ก็จะทำให้เกิดแผลกดทับได้ จึงจำเป็นต้องเลือกแบบวัสดุที่สามารถระบายอากาศได้ดี และถ้าเป็นแบบซักทำความสะอาดได้ก็จะดี แต่ควรหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ 

(ตัวอย่างกางเกงผ้าอ้อมผู้สูงอายุควรระบายอากาศและซึมซับของเหลวได้ดี เบาสบาย เทปกาวปิดสนิท แต่ไม่แน่นจนเกินไป)


    ถัดมาเป็น “แพมเพิร์ส” หรือผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ ที่สามารถใช้ได้ทั้งผู้สูงวัยที่ป่วยติดเตียง และคนสูงอายุที่เคลื่อนไหว้ได้ปกติที่ต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน แต่อาจมีข้อจำกัดคือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งหลักการเลือกก็คล้ายคลึงกัน คือต้องสามารถซึมซับได้ดี และไม่ทำให้ความชื้นตกค้าง วัสดุที่ใช้ระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันแผลกดทับ ที่สำคัญไม่ควรใส่ชิ้นเดียวทั้งวัน หรืออย่างน้อยเปลี่ยนวันละ 2-3 ครั้ง ในส่วนของผู้สูงอายุบางรายที่มีอุจจาระร่วมด้วย ผู้ดูแลควรทิ้งสิ่งปฏิกูลดังกล่าวลงในโถส้วม ไม่ควรทิ้งแพมเพิร์สที่ใช้แล้วทั้งชิ้น ทั้งนี้ เพื่อลดขยะและการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอุจจาระไปสู่ร่างกาย

(ผู้สูงอายุที่มีสายตาดี ไม่ได้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรเลือก “วีลแชร์ไฟฟ้า” เพื่อลดการพึ่งพิงลูกหลาน และช่วยให้คุณตาคุณยายใช้ชีวิตได้เหมือนกับคนปกติ)

    ส่วนการเลือก “วีลแชร์” ที่มีทั้งระบบไฟฟ้าและแบบรถเข็น ดังนั้นหากผู้สูงอายุไม่ได้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และยังมีสายตาที่ดี ยังสามารถพูดคุยสื่อสารและตัดสินใจได้ดี ตลอดจนผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาตที่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้ แนะนำให้เลือก “วีลแชร์ที่เป็นระบบไฟฟ้า” ทั้งนี้ เพื่อสิ่งเสริมการพึ่งพิงตัวเองโดยไม่ต้องรอให้คนอื่นมาเข็น แต่ถ้าผู้สูงอายุท่านใดที่มีภาวะพิการท่อนล่าง แต่ท่อนบนยังสามารถใช้งานได้ดี ก็แนะนำให้เลือก “วีลแชร์” ชนิดที่สามารถใช้มือเข็นไปเองได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีกล้ามเนื้อท่อนแขนที่แข็งแรงค่ะ โดยสรุปแล้วการเลือก “วีลแชร์สำหรับผู้สูงอายุ” 1.น้ำหนักเบา 2.วัสดุที่ใช้มีความแข็งแรงทนทาน หากต้องนำไปใช้ในพื้นที่ลาดเท ทางต่างระดับ และทางขรุขระ เพื่อช่วยให้เข็นได้สะดวก 


    ส่วนการเลือก “ไม้เท้าสำหรับผู้สูงอายุ” ปกติไม้เท้าจะมี 3 ขา และแบบขาเดียว การจะเลือกให้เหมาะกับผู้สูงอายุที่ป่วยกึ่งอัมพฤกษ์อัมพาต กึ่งควบคุมตัวเองได้ หรือท่านยังสามารถเดินได้แต่ไม่คล่อง ควรเลือกไม้เท้า 3 ขา เพราะจะช่วยพยุง ถ้าขาเดียวอาจหกล้มได้ ปิดท้ายกันที่การเลือก “ส้วมอเนกประสงค์พกพา” ที่ใช้พกพาไปใช้ในที่ต่างๆ ประกอบกับผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาปวดต้นขาหรือหัวเข่า ดังนั้นไม่ควรเลือกส้วมเคลื่อนที่ขนาดเตี้ย แต่ควรเลือกให้มีความสูงอย่างน้อยประมาณหัวเข่า หรือคิดง่ายๆ ว่าความสูงต้องพอเหมาะ เวลาที่ผู้สูงอายุก้มลงไปนั่งแล้วไม่รู้สึกเมื่อยค่ะ”.    


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"