28มิ.ย.61-วธ.เปิดตัวหนังสือ “รุกข มรดกของแผ่นดิน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระชนมายุ 63 พรรษา
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.ได้จัดพิมพ์หนังสือ “รุกข มรดกของแผ่นดิน” ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 63 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2561 โดยหนังสือรวบรวมและเรียบเรียงประวัติความเป็นมาและความหมายของต้นไม้ที่มีการอนุรักษ์มายาวนาน ในสถานที่ต่างๆ จากภูมิภาคจำนวน 63 ต้น เท่าพระชนพรรษา ของพระองค์ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้นำบทความ “ต้นไม้ในวังสระประทุมของเจ้าฟ้านักอนุรักษ์” พร้อมภาพต้นไม้ในวังสระปทุม และได้รวบรวม เรื่องราวที่มีการบันทึกไว้ รวมไปถึงความรู้ทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์เกี่ยวกับต้นไม้ในสถานที่ต่างๆ มารวมไว้ในเล่ม จัดพิมพ์ 3 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน พร้อมภาพประกอบที่สวยงามที่ถ่ายโดยศิลปินแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ให้ผู้อ่านได้รู้จักต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุยืนยาว
“เรื่องการยกย่องให้ต้นไม้เป็นมรดกแห่งชาติ มีทำมาแล้วใน 7 ประเทศ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ ไทยเป็นประเทศที่ 8 ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปีที่แล้ว การดูแลต้นไม้เป็นวาระที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแล ในบางประเทศมีมูลนิธิดูแล บางประเทศมีหน่วยงาน กระทรวงเป็นผู้ดูแล แต่อย่างของไทยเรา ต้นไม้ที่เป็นมรดกมีทั้งที่อยู่ในความดูแลของวัด โรงเรียน ชุมชน อุทยานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งมีความหลากหลายควรค่าที่ต้องยกเป็นมรดก หลายต้นราชวงศ์ของไทยเป็นผู้ปลูก หลายต้นก็มีมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์”
สำหรับในหนังสือ มีเรื่องราวของต้นไม้ที่มีอายุเก่าแก่และน่าสนใจเช่น “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ที่จ.กำแพงเพชร อายุ 661 ปี เป็นต้นไม้ที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ทรงนำมาจากลังกา เมื่อคราวส่งสมณฑูตไปสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและทรงปลูกไว้พร้อมกับพระบรมสารีริกธาตุเมื่อพุทธศักราช 1900 ปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ มีเส้นรอบวงประมาณ 10.20 เมตร และมีความสูงประมาณ 20 เมตร อีกต้นหนึ่งคือ “ต้นจันผา” ที่จังหวัดสุรินทร์มีเส้นรอบวง 3.63 เมตรความสูง 13.79 เมตร ตั้งอยู่ในบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมวัดเขาดาร์สปวง ถือเป็นต้นจันผาใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่บนหินขนาดใหญ่ บริเวณใต้ต้นไม้จะมีหินขนาดใหญ่ 2 และมีช่องหิน เชื่อกันว่าผู้ที่ไม่มีคู่ครองเมื่อลอดแล้วก็จะได้พบเนื้อคู่ และจะได้แต่งงานกันอยู่ดีมีสุข สำหรับคนที่มีคู่ครองแล้วหากลอดช่องหินดังกล่าวก็จะยิ่งพบความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
นายวีระ กล่าวอีกว่า การเปิดตัวหนังสือครั้งนี้ เป็นการสะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม 3 ประการ ประการแรก คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระปรีชาสามารถด้านงานวัฒนธรรม ทรงเอาพระทัยใส่ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติเสมอมา ทั้งยังทรงแสดงพรอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์และการสืบทอดงานศิลปวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรือง เปรียบประดุจต้นไม้ใหญ่ที่แผ่ไพศาลปกเขตทั่วฟ้าแดนไทยให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งถือได้ว่าทรงเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็นเช่นเดียวกับร่มไม้ใหญ่ที่มีต่อสรรพสัตว์
ประการที่สอง ในต้นไม้ใหญ่มีวัฒนธรรม มีทั้งเรื่องของต้นไม้ เรื่องของบุคคล หรือชุมชนผู้ปลูก และเรื่องสถานที่ที่ต้นไม้เหล่านั้นเติบโตขึ้นมา รวมถึงกาลเวลาที่ต้นไม้ได้ยืนหยัดผ่านมา ที่ส่งผลให้เห็นถึงแรงบันดาลใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ตลอดจนวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชนที่เป็นเสมือนบ้านของต้นไม้เหล่านั้น การที่วธ.สำรวจค้นคว้า จนได้มาซึ่งต้นไม้ใหญ่ของแผ่นดินทั้ง 63 ต้นจึงเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้ท้องถิ่น และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรัก และความห่วงแหนในมรดกทางธรรมชาติเหล่านี้ และนำไปสู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้ต้นไม้ยืนหยัด ให้ร่มเงาแห่งความรักและความผูกพันระหว่างมนุษย์กับต้นไม้
และประการที่สาม วัฒนธรรมจะพัฒนาได้ก็ต้องต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เช่นต้นไม้ใหญ่ที่แตกยอดให้ร่มเงาแผ่ไพศาลเป็นรุกขมรดกของแผ่นดินที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย การนำต้นไม้และวัฒนธรรมชุมชนมาสร้างสรรค์เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวนั้น นอกจากจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วยังสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้สะท้อนวิถีชีวิตและความงดงามทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ทำให้ต้นไม้เป็นมากกว่าคำว่าต้นไม้ ทำให้วัฒนธรรมมีชีวิต และสร้างมิติใหม่ของการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมกับธรรมชาติ ซึ่งก็หวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมีคุณค่าในการต่อยอดองค์ความรู้ หวังให้เป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์ปลูกฝังวัฒนธรรมความรักต้นไม้ และรักธรรมชาติแก่เด็กเยาวชน และประชาชนรวมถึงเป็นแบบอย่างแก่ท้องถิ่นอื่นๆ ต่อไปในอนาคตอีก
นอกจากนี้ วธ.ยังได้กำหนดจัดกิจกรรมวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมในท้องถิ่นที่มีต้นไม้ทรงคุณค่า ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของชุมชน สามารถเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
ก่อนหน้านี้ หลายต้นก็ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้วเช่นต้นเลียงผึ้ง ที่อุทัยธานี มีสินค้าเกษตรค้าขายบริเวณทางเข้าชมต้นไม้ มีผู้เข้ามาชมเฉลี่ยวันละ 200-300 คน เสาร์อาทิตย์ 2,000 คน ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาประมาณ 3,000 คน เร็วๆ นี้ก็จะไปเปิดตัวรุกข มรดกของแผ่นดิน ที่ต้นมะขามยักษ์ จ.กาญจนบุรี บริเวณใกล้เคียงก็จะจำลองบรรยากาศงานวัดฟื้นฟูงานวัดย้อนยุคให้กลับมาควบคู่กับต้นไม้มรดก โดยจะจัดทั้งหมด 55 จังหวัด ก็จะทยอยเปิดตัวต้นไม้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนต่อไป
สำหรับผู้สนใจติดต่อสอบถามกรมส่งเสริมวัฒนธรรม หรือดาวน์โหลด E-BOOK จาก www.culture.go.th หรือหากเดินทางไปชมต้นไม้สถานที่จริงก็สแกนคิวอาร์โค้ดของหนังสือที่ป้ายต้นไม้นั้นๆได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |