แค่20บาทก็พอ วช.จัด"26ตำรับอาหารกลางวันเด็ก"เน้นผัก ลด หวาน มัน เค็ม


เพิ่มเพื่อน    

 

ขอบคุณภาพจาก TCJAPRESS


26มิ.ย.61-วช. จัดทำ 26 ตำรับอาหารไทยมื้อกลางวันเด็กไทย  ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทำให้เด็กเติบโตสุขภาพดี ไม่เกินทุน20บาทต่อหัว  เน้นผัก ลด หวาน มัน เค็ม  เผยพบเด็กไทย 20% มีภาวะโภชนาการเกิน และ 10% มีภาวะโภชนาขาดอาหาร  เผยทดลอง 3เดือน เด็กกล้ามเนื้อเพิ่ม ไขมันลดลง มีพัฒนาการดี   เผยแพร่คู่มือสูตรอาหารกลางวันที่ดี ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.nrct.go.th/nrctschoollunch


ที่อาคารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 1 - วช. จัดการแถลงข่าวโครงการพัฒนาตำรับอาหารไทยมื้อกลางวันเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน โดยมี นพ.สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล เลขาธิการ วช. เป็นประธาน กล่าวว่า  ขณะนี้ วช.ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการจัดทำตำรับอาหารไทยมื้อกลางวันสำหรับเด็กไทย  โดยได้ศึกษาประเมินภาวะทางโภชนาการ โดยใช้น้ำหนักเทียบกับอายุทั่วประเทศ พบว่า เด็กไทยร้อยละ 70 มีภาวะทางโภชนาการที่พอดี และมีเด็กที่ภาวะโภชนาการเกินร้อยละ 20 มีภาวะโภชนาการขาดอาหาร ร้อยละ 10 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการรับประทานของเด็กทั้งที่บ้าน และโรงเรียน อีกทั้งพ่อครัว แม่ครัวโดยเฉพาะในโรงเรียน จะทำอาหารตามความถนัด ความชำนาญของตนเอง ทำให้อาหารที่เด็กทาน มีทั้งหวาน มัน เค็ม มีผลต่อร่างกาย เด็กเป็นโรคอ้วน ไขมันสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการที่โรงเรียนจัดให้มีอาหารที่เพียงพอในมื้อกลางวัน เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะเด็กประถม ดังนั้น โครงการพัฒนาตำรับอาหารไทยมื้อกลางวันเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน มีความต้องการให้เด็กไทยเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ และอาหารที่จัดทำสูตรขึ้นสามารถดำเนินการได้ภายในวงเงิน 20 บาทต่อมื้อกลางวัน  มีข้อมูลทางวิชาการ เหมาะสมเพียงพอต่อเด็ก ซึ่งทาง วช.ได้ร่วมมือกับศธ. กทม. จัดทำตำรับอาหารเหล่านี้ และจะมอบสูตรอาหาร และวิธีการทำอาหารเหล่านี้แก่โรงเรียนต่างๆหรือผู้สนใจด้วย

“โครงการนี้เป็นโครงการหนึ่งในแผนงานโครงการครัวไทยสู่ตลาดโลก ที่ วช.ได้ให้การสนับสนุน ซึ่งครั้งนี้คณะวิจัยได้พัฒนาตำรับอาหารกลางวัน 26 รายการ โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ผัดพริกแกงไก่ใส่ผักบุ้ง ผัดกะหล่ำปลีหมูใส่ไข่ ผัดแตงกวาหมูใส่ไข่ ผัดบวบหมูใส่ไข่ ผัดผักรวมมิตร ผัดโป้ยเซียน ต้มจืดไข่น้ำ ต้มข่าไก่ใส่เห็ดนางฟ้า เป็นต้น ซึ่งทั้ง 26 รายการ เป็นเมนูที่มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสม อีกทั้งทางคณะวิจัยได้มีการพัฒนาซอสปรุงรสสำเร็จรูป ที่โรงเรียนสามารถนำไปปรุงอาหารให้แก่เด็กได้ โดยใช้ต้นทุน งบประมาณที่โรงเรียนได้รับ เพื่อให้เด็กได้มีความสุขในการรับประทานอาหารอร่อยถูกปาก และมีการเติบโตที่เหมาะสม”เลขาฯ วช.กล่าว

ด้านนายทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร นักวิจัยโครงการพัฒนาตำรับอาหารกลางวันเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน กล่าวว่า คณะวิจัยได้ทำการศึกษาและพัฒนาตำรับอาหารไทยมื้อกลางวัน โดยศึกษาจากโรร.ในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจังหวัดนครนายก จำนวน 131 โรงเรียน เด็กนักเรียนประถมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวน 7,459 คน พบว่า เด็กร้อยละ 33 มีภาวะทุพโภชนาการ แบ่งเป็น เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 22 และ เด็กที่มีภาวะโภชนาการขาด ร้อยละ 11 อีกทั้งยังพบว่า แต่ละโรงเรียนแม้จะทำเมนูอาหารเหมือนกัน แต่การใช้ผัก ปรุงรสแตกต่างกัน ทำให้คุณค่าทางโภชนาการที่เด็กได้รับแตกต่างกันด้วย ตำรับอาหารกลางวัน ที่คณะวิจัยพัฒนาขึ้นจะลดความหวาน ความมัน และความเค็มลง และเพิ่มปริมาณผักเป็นส่วนประกอบอาหารให้มากขึ้น และคงคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน 


ทั้งนี้จากการทดลองเปลี่ยนมื้ออาหารกลางวันตามที่พัฒนาขึ้น ระยะเวลา 3 เดือน พบว่า อาหารที่เด็กชอบทาน จะเป็นรสจัด เช่น แกงเทโพ หรือ จำพวกแกงต่างๆ และเมื่อแม่ครัว พ่อครัวปฏิบัติตามสูตรอาหารที่ให้ไป พบว่า เด็กมีภาวะโภชนาการ น้ำหนักกับส่วนสูงเหมาะสมตามการเติบโตพัฒนาการของเด็ก กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น แต่ไขมันลดลง ดังนั้น หากทุกโรงเรียนมีการจัดเตรียมมื้ออาหารกลางวันแก่เด็ก จะมีผลดีต่อการเจริญเติบโตของเด็กอย่างแน่นอน

"ทุกโรงเรียนมีตั้งใจดีต่อเด็กในการทำอาหารเพื่อให้เด็กทาน แต่อาจจะมีปัญหาที่ไม่รู้ว่าเด็กต้องการอะไร ดังนั้นหลักการของการทำตำรับอาหารครั้งนี้ จะเป็นการนำเมนูอาหารที่เด็ก โรงเรียนทำให้เด็กทานอยู่แล้ว มาปรับให้เหมาะสมทั้งคุณค่าทางอาหารที่เด็กได้รับ และบริบทแต่ละพื้น อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการกินของเด็กนั้น หากทุกฝ่ายร่วมกันในการปรับพฤติกรรมเด็ก ไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงเรียน ชุมชน ผมเชื่อว่าเด็กจะมีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมกับช่วงวัย"นายทวีศักดิ์ กล่าว

ด้านนางสาวนภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะผู้บริหารจัดการโครงการวิจัยครัวไทยสู่ตลาดโลก กล่าวว่า ขณะนี้โครงการฯ ได้จัดทำคู่มือตำรับอาหารกลางวันสำหรับเด็กวัยเรียน สำหรับ 100 ที่ 300 ที่ 500 ที่ และ 800 ที่ เพื่อใช้ในโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 100-800 คน อีกทั้งจะประสานให้มีการลงนามความร่วมมือระหว่าง วช.กับหน่วยงานที่จะนำตำรับอาหารกลางวันดังกล่าว ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น ศธ. กรุงเทพมหานคร รวมถึงจะประสานไปยังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โรงเรียนเอกชนที่สนใจ และผู้สนใจ ประชาชนทั่วไปที่สนใจสูตรอาหารดังกล่าว โดยจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://www.nrct.go.th/nrctschoollunch


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"