บังคับใช้แล้ว!ธรรมาภิบาลสถาบันการเงิน


เพิ่มเพื่อน    

26 มิ.ย.2561 - นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 10/2561 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 135 ตอนพิเศษ 146 ง และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งมีเนื้อหาถึง 25 หน้า

โดยนายวิรไทระบุถึงเหตุผลในการออกประกาศ ว่าสถาบันการเงินต้องเผชิญกับภาวะแวดล้อมทางการเงินที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนมากขึ้น และไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการมากขึ้น ตลอดจนความคาดหวังที่สูงขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสียและสาธารณชน การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) ทั้งในส่วนของบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง กลไกสนับสนุนการปฏิบัติงานและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลและเท่าทันความเสี่ยง และการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์กรที่มีการคำนึงถึงความเสี่ยงความเป็นธรรม และความโปร่งใส จะทำให้สถาบันการเงินสามารถบริหารความเสี่ยงและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างครอบคลุม สร้างคุณค่าให้สถาบันการเงินอย่างเหมาะสมในระยะยาว ตลอดจน
สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน โดยเน้นในเรื่องการยกระดับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง การมีกลไกสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารอย่างมีประสิทธิผลและเป็นอิสระ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมองค์กรที่มีการคำนึงถึงความเสี่ยง ความเป็นธรรม และความโปร่งใส ทั้งในเรื่องการกำหนดกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี (Risk Governance Framework) และนโยบายเรื่องธรรมาภิบาล การสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง (Risk Culture) การดูแลให้ฝ่ายจัดการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ได้รับอนุมัติ (Risk Appetite and Risk Limit) การมีกลไกการถ่วงดุลและดูแลให้มีการควบคุม กำกับ และตรวจสอบ (Three Lines of Defense) ที่มีประสิทธิผลการดูแลให้มีนโยบายและกระบวนการแจ้งเบาะแสภายในองค์กร (Whistleblowing Policy and Procedure) และนโยบายการกำหนดค่าผลตอบแทน (Remuneration) ที่สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง

นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลด้านธรรมาภิบาลเพื่อสนับสนุนให้กลไกตลาดมีส่วนช่วยในการกำกับดูแลมากขึ้น ซึ่งเนื้อหาหลักเกณฑ์ส่วนที่ปรับปรุงมีความสอดคล้องกับ Corporate Governance Principles for Banks ที่ออกโดย Basel Committee on Banking Supervision (BCBS)

สำหรับประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยทุกแห่ง, บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกแห่ง ,สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศทุกแห่ง ให้ถือปฏิบัติเฉพาะเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1.การแต่งตั้งและคุณสมบัติของผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน 2.การเปิดเผยข้อมูลด้านธรรมาภิบาลในเรื่องข้อมูลการถูกเปรียบเทียบปรับโดย ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และ 3. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน

สำหรับเนื้อหาที่น่าสนใจคือเรื่องคุณสมบัติของกรรมการอิสระในบอร์ดสถาบันการเงิน ซึ่งมีการกำหนดอย่างเข้มงวด อาทิ ต้องไม่มีธุรกิจหรือส่วนร่วมในการบริหารงานหรือไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน หรือไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นตัดสินใจ หรือลงมติเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันการเงินได้อย่างเป็นอิสระ, ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ ที่ปรึกษาหรือพนักงาน ของสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น เว้นแต่พ้นจากตำแหน่งหรือสถานะดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี, สามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันได้ไม่เกิน 9 ปี โดยให้นับระยะเวลาดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระในบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้นด้วย ทั้งนี้ หากดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระครบ 9 ปีแล้ว และประสงค์จะกลับมาดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระที่สถาบันการเงินอีกครั้ง จะต้องพ้นจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ ที่ปรึกษา หรือพนักงาน ของสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันที่ยื่นขอ
ความเห็นชอบ

ขณะเดียวกันประกาศ ธปท.ยังกำหนดกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินไว้ด้วยว่า สามารถเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการที่เป็นผู้บริหาร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ในบริษัทอื่นได้ไม่เกิน 3 กลุ่มธุรกิจโดยไม่รวมการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงิน ทั้งนี้ หากเป็นบริษัทที่มิใช่กลุ่มธุรกิจ ให้นับแต่ละบริษัทเป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจ และหากเป็นบริษัทที่สถาบันการเงินได้มาจากการปรับโครงสร้างหนี้ ให้นับรวมเป็นกลุ่มเดียวกันกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน และสามารถเป็นกรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ไม่เกิน 5 บริษัท โดยไม่นับรวมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่สถาบันการเงินได้มาจากการปรับโครงสร้างหนี้ โดยหากสถาบันการเงินที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินดำรงตำแหน่งอยู่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้นับเป็นหนึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย

อ่านรายละเอียดฉบับเต็มที่นี่
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"