“ใบกะเพรา – สวิมมิงแควร์”เจลป้องกันผิวฟันจากกรดคลอรีนสระว่ายน้ำ ผลงานนักวิจัยจุฬาฯ


เพิ่มเพื่อน    


26มิ.ย.61- อาการ “เสียวฟัน” เวลารับประทานอาหารเกิดจากหลายสาเหตุและสามารถเกิดได้กับทุกคน นักว่ายน้ำเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงของผู้ที่มักมีอาการเสียวฟัน ซึ่งเป็นผลมาจากคลอรีน     ในสระว่ายน้ำ ทำให้ผิวฟันกร่อนและเกิดอาการเสียวฟันได้  “ใบกะเพรา - สวิมมิงแควร์” เป็นเจลป้องกันผิวฟันจากกรดคลอรีน ลดการเสียวฟันและการทำลายเคลือบฟันขณะว่ายน้ำ” ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ เป็นผลงานการวิจัยของคณาจารย์จุฬาฯ       8 ท่าน จาก 4 คณะที่ทำงานวิจัยร่วมกันภายใต้ชื่อ 4Ds projects ช่วยบรรเทาปัญหาอาการเสียวฟันที่เกิดจากคลอรีนสำหรับผู้ที่ว่ายน้ำในสระว่ายน้ำได้ผลเป็นอย่างดี ผลงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ Life Science Startup Showcase Pitch & Partner 2018 ในงาน Startup Thailand 2018 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 


 ศ.ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาทันต    ชีววัสดุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ และอาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ      ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย “ใบกะเพรา – สวิมมิงแควร์”  เผยถึงที่มาของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจจากลูกสาวของตนที่ชื่อ “ใบกะเพรา” ซึ่งฝันอยากเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ จึงได้ไปเรียนว่ายน้ำแทบทุกวันที่สระว่ายน้ำซึ่งมีปริมาณคลอรีนค่อนข้างสูงเพื่อใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ผลที่ตามมาคือมีอาการเสียวฟันหลังการว่ายน้ำ ซึ่งปัญหานี้เกิดกับนักกีฬาว่ายน้ำทั่วไป  ที่ผ่านมาการรักษาอาการเสียวฟันจะรักษาตามอาการด้วยการอุดฟัน เมื่อเป็นมากๆ ฟันจะเกิดเป็นจุดขาวๆ ด่างๆ  บางคนมีฟันเป็นสีเหลืองไม่สวยงาม การป้องกันไม่ให้เกิดอาการเสียวฟันน่าจะดีกว่าการรักษา เพราะฟันที่สูญเสียไปแล้วโอกาสจะกลับคืนมาได้ยาก     ทำให้เกิดแรงบันดาลใจทำวิจัยเรื่องดังกล่าว จนออกมาเป็นเจล ”ใบกะเพรา – สวิมมิงแควร์”ที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยนำชื่อของลูกสาวซึ่งทำให้เกิดงานวิจัยเรื่องนี้มาตั้งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์


 “การทำงานวิจัยเริ่มจากการอ่านผลงานวิชาการทั้งของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอาการเสียวฟันหลังจากการว่ายน้ำ และมีการวัดระดับคลอรีนในสระว่ายน้ำต่างๆ  จากนั้นจึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปของเจลเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากคลอรีน โดยทีมวิจัยมีทั้งทันตแพทย์ นักเคมี นักวัสดุศาสตร์ สัตวแพทย์ มาทำงานร่วมกันในลักษณะสหสาขาวิชา โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในสาขาต่างๆ  ใช้เวลาในการทำวิจัยกว่า 2 ปี      ในการทำงานมีการลองผิดลองถูก ค่อยๆแก้เหมือนจิ๊กซอว์ จนได้ผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา” ศ.ทพ.ดร.พสุธา กล่าว


ศ.ทพ.ดร.พสุธา เผยถึงวิธีใช้เจลดังกล่าวว่าสามารถใช้ง่าย เพียงใส่เจลเข้าไปทั้งด้านบนบนและด้านล่างของ Mouthguard  ที่ทำเฉพาะบุคคลก่อนลงสระว่ายน้ำ จากการทดลองในกลุ่มเด็กที่ว่ายน้ำในสระว่ายน้ำพบว่าได้ผลเป็นอย่างดี ทำให้ฟันไม่กร่อนและไม่สูญเสียแคลเซียม ระยะเวลาในการใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพียง 1 สัปดาห์ก็เห็นผล ทำให้เสียวฟันน้อยลง สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์ 


ทญ.นงลักษณ์​ ธัญญะกิจไพศาล นักวิจัยในหลักสูตรสหสาขาวิชาทันตชีววัสดุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า องค์ประกอบสำคัญของเจลป้องกันผิวฟันจากกรดคลอรีน ได้แก่ CPA complex (Calcium Phosphate Acemannan complex) เนื่องจากฟันที่สูญเสียแคลเซียม จึงต้องใส่แคลเซียมเข้าไปเพื่อให้เกิดความสมดุล ปัจจุบันเจล                ”ใบกะเพรา – สวิมมิงแควร์” อยู่ในรูปกระปุกขนาด 50 กรัม สามารถใช้ได้ 40 – 50 ครั้ง          ในอนาคตจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยจัดทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ในลักษณะเป็นหลอด       เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และมีโครงการจะจดสิทธิบัตรต่อไป


ทีมนักวิจัย 4Ds projects ประกอบด้วย ศ.ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ หัวหน้าโครงการฯ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช ผศ.ดร.ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ ผศ.ดร.ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา รศ.อรอุษา สรวารี คณะวิทยาศาสตร์  รศ.​ภญ.ดร.ร.ต.อ.หญิง สุชาดา สุขหร่อง ผศ.ภก.ดร.วรสิทธิ์  วงศ์สุทธิเลิศ คณะเภสัชศาสตร์    รศ.น.สพ.ดร.วิจิตร บรรลุนารา คณะสัตวแพทยศาสตร์ ก่อนหน้านี้ทีมนักวิจัย 4Ds projects ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคลือบหลุมร่องฟันและวัสดุรองพื้นฟัน โดยได้รับสองรางวัลชนะเลิศจากงาน SCG Exclusive Pitching Night  และงาน  Sprint Thailand First Specialized Accelerator for Science and Technology  จัดโดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ นอกจากนี้ยังมีการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ในคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ     


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"