“คลัง” จับมือ “จุฬาฯ” วิจัยเตรียมพร้อมมาตรการรับสังคมคนสูงอายุ


เพิ่มเพื่อน    

คลัง” จับมือ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” วิจัยเตรียมความพร้อมมาตรการรองรับสังคมผู้สูงวัย หลังประเมินอนาคตไทยมีผู้สูงอายุแตะ 30 ล้านคน พร้อมเร่งดัน กบช. คาดมีผลบังคับใช้ทันภายในปีนี้ จ่อขยายเพดานส่งเงินสมทบเพิ่มเป็น 30%

นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมสูงวัยกับวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมเสนอมาตรการรองรับสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาลให้ครอบคลุม เนื่องจากมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจยังไม่เพียงพอ เช่น มาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหักรายจ่ายค่าจ้างผู้สูงอายุ 2 เท่า ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีบริษัท นิติบุคคล ใช้สิทธิมาตรการนี้มากนัก

นอกจากนี้ รัฐบาลยังอยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ.ประมวลรัษฎากร เพื่อเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ของผู้มีเงินได้ หรือของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ ให้หักลดหย่อนได้เพิ่มอีก 3 หมื่นบาทต่อคนต่อปีภาษี เพื่อส่งเสริมให้มีบุตร เป็นการสร้างฐานภาษี และสร้างกำลังแรงงานในอนาคต

ขณะที่ทางสำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) ศึกษาเรื่องขยายระยะเวลาการเกษียณของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ จาก 60 ปีออกไป โดยรัฐบาลสั่งศึกษาเรื่องนี้ มีระยะเวลา 6 ปี เพื่อทำรูปแบบที่เหมาะสม เพราะจะต้องพิจารณาถึงเรื่องเงินเดือน ตำแหน่งที่เหมาะสมหลังจากนั้น ยกตัวอย่างกรณีเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร เช่น เป็นอธิบดี เมื่อหลังเกษียณแล้วจะให้เป็น รองอธิบดี หรือเป็นที่ปรึกษา จะเหมาะสมหรือไม่ และควรจะได้รับเงินเดือนเท่าไร เพราะต้องดูเรื่องสิทธิค่ารักษาพยาบาลที่อาจเพิ่มขึ้นควบคู่ไปด้วย

นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สศค. เปิดเผยว่า ร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)  คาดว่าจะผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติ ( สนช. ) และมีผลบังคับใช้ภายในปีนี้ เพื่อสร้างวินัยการออมเงินภาคบังคับให้กับประชาชนที่อยู่ในวัยทำงาน ให้มีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอในช่วงชีวิตหลังเกษียณ และเตรียมเสนอให้มีการขยายเพดานส่งเงินสมทบเข้ากองทุนของสมาชิกจากที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10%เป็น 30% ของเงินเดือน เหมือนกรณีของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ได้

ทั้งนี้ ในส่วนของการตั้งสำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ  และให้มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวน 2  - 3 แห่ง ทำหน้าที่บริหารจัดการเงินกองทุน เพื่้อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการในอนาคต
โดย กบช.จะเปิดให้ลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวส่วนราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี นำส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราเท่ากัน โดยในปีที่ 1-3 ปีที่ 4-6 ปีที่ 7-9 จ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบฝ่ายละไม่น้อยกว่า 3%, 5%, 7% และในปีที่ 10 เดิมกำหนดให้สมทบได้ไม่เกิน 10% ของค่าจ้าง อาจจะพิจารณาขยายเพดานเป็น 30 %  แต่กรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1 หมื่นบาทต่อเดือน จะให้นายจ้างเป็นผู้ส่งเงินสมทบฝ่ายเดียว และเมื่ออายุครบ 60 ปี ลูกจ้างจะได้รับผลตอบแทนเป็นบำเหน็จหรือบำนาญรายเดือน

อย่างไรก็ดี ข้อมูลของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ระบุ ว่า ปัจจุบันไทย มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11-12 ล้านคน หรือ 17% ของประชากรทั้งหมด และในปี 2578 ไทยจะมีผู้สูงอายุเป็น 30.2 ล้านคน ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของโลก ที่ปัจจุบันมีผู้สูงอายุทั้งหมด 1,000 ล้านคน และเพิ่มเป็น 1.6 พันล้านคน หรือ 17.8% ของประชากรโลกในปี 2578 ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ค่าใช้จ่ายที่ใช้เลี้ยงดูผู้สูงอายุ เฉลี่ย 50,000 บาทต่อคน โดยเฉลี่ยปัจจุบัคนวัยแรงงาน 8 คน ดูแลผู้สูงอายุ 1 คน แต่ในอนาคตจะะหลือคนวัยแรงงาน 2 คนจะดูแลผู้สูงอายุ 1 คนเท่านั้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"