20 ต.ค.64 - น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ และเครือข่ายแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม (Fair Finance Thailand) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอรับงบประมาณสนับสนุนจำนวนกว่า 263 ล้านบาทจากบริษัทซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเขื่อนไซยะบุรี เพื่อจัดทำแผนงานแก้ไขผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนิเวศด้านการประมงบนแม่น้ำโขง ว่า มีอยู่ 3 ประเด็นที่ไม่เหมาะสมคือ 1. ต้องเรียกร้องกรมประมงว่า เงินกว่า 263 ล้านบาทควรเป็นงานของกรมประม งเพื่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการสร้างความเชื่อมั่นเพื่อประชาชน กรมประมงไม่มีความเหมาะสมที่จะไปเอาเงินจากเอกชนมาทำ และเป็นงบประมาณเพียงบริษัทเดียวที่มีโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงแล้ว คำถามคือแล้วกรมประมงจะเป็นอิสระและดำเนินโครงการอย่างตรงไปตรงมาได้อย่างไร หากรับเงินมาจากบริษัทและจะพิทักษ์ผลประโยชน์ในของประชาชอย่างไร หากดำเนินโครงการตามแผนดังกล่าว และในอนาคตถ้าชาวบ้านจะร้องเรียนเรื่องผลกระทบในแม่น้ำโขง จะตอบคำถามอย่างไรซึ่งปฏิเสธไม่ได้เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
น.ส.สฤณีกล่าวว่า 2. ตั้งคำถามเรื่องที่มาที่ไป หากเป็นโครงการสำคัญของกรมประมง ควรจะเป็นงบประมาณของรัฐ ทั้งที่เป็นหน้าที่ของกรมประมงแล้ว และเขาควรจะชี้แจงที่มาที่ไปของงาน ไม่ใช่ที่จะต้องทำโครงการนี้(ฟื้นฟูแม่น้ำโขง) เพราะว่าบริษัทเสนอให้ทำ ควรจะเป็นหน้าที่ของกรมประมง ในฐานะหน่วยงานรัฐที่ต้องทำมากกว่า 3. ตั้งคำถามกับบริษัทว่า ที่ทำแบบนี้มองได้ว่าเป็นการแทรกแซงและก้าวก่ายหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ และกรมประมงซึ่งทำหน้าที่หรือไม่ และบริษัทซีเค พาวเวอร์ ควรเคารพบทบาทของหน่วยงานรัฐ
นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวถึงสถานการณ์ผันผวนของปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงว่า เห็นชัดเจนว่าแม่น้ำโขงไม่มีฤดูกาลแล้ว เพราะระดับน้ำฤดูแล้งและฤดูฝนไม่มีความแตกต่างกันเลย ทั้งๆที่ปกติแม่น้ำโขงขึ้นสูงสุดเดือนสิงหาคม หากเป็นช่วงที่ยังไม่มีเขื่อน ปริมาณน้ำสูงถึง 6-7 เมตรเป็นฤดูน้ำหลากที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ เมื่อน้ำยกตัวสูงเอ่อเข้าไปแม่น้ำสาขา ซึ่งจากการทำวิจัยพบว่าจากจำนวนปลา 90 ชนิด มีกว่า 50 ชนิดอพยพเข้าไปวางไข่ แต่หลายปีมานี้ไม่มีฤดูน้ำหลากแล้ว เนื่องจากแม่น้ำโขงตอนบนถูกควบคุมโดย 11 เขื่อนในจีน ทำให้ส่งผลกระทบต่อพันธุ์ปลาอพยพ ขณะที่ฤดูแล้ง น้ำโขงควรลดระดับลงเหลือกว่า 1-2 เมตร แต่ปัจจุบันกลับเปลี่ยนเป็นสูงขึ้น ทั้งๆที่น้ำควรแห้งไปตามธรรมชาติ และชาวบ้านได้ทำเกษตรริมโขง
“ปัจจุบันไม่มีปลาจะจับ บางคนบอกเพราะคนเพิ่มขึ้น ใช่แม้คนเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีใครลงมาแม่น้ำโขงแล้ว ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องฟื้นฟูเยียวยาคนและแม่น้ำโขง เราต้องให้ชัดถึงแนวทาง ไม่ใช่แค่เอาเงินมาใส่ แต่ทำอย่างไรให้แม่น้ำโขงมีปลา หากระบบนิเวศน์ดีขึ้น สิ่งมีชีวิตก็ฟื้นตัว ผมอยากให้การเยียวยาแม่น้ำโขงเป็นรูปธรรม อยากให้ดูตัวอย่างเขื่อนปากมูน ที่มีข้อตกลงเรื่องการปิดเปิดเขื่อนให้ปลาวางไข่ เพียงแต่รัฐไม่ทำตามข้อตกลง” นายนิวัฒน์ กล่าว
นายนิวัฒน์กล่าวว่า เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนกรณีแม่น้ำโขงถือว่าแย่มากเพราะกระบวนการต่างๆไม่ได้นำข้อคิดเห็นไปปฎิบัติจริง ขณะที่เขื่อนเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตนถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก ประชาชนพูดมากว่า 20 ปีแล้ว ดังนั้นจึงถึงเวลาทีภาคประชาชนต้องรวมตัวกันเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับแม่น้ำโขง ซึ่งเราพยายามผลักดันให้เกิดสภาประชาชนแม่น้ำโขง
น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการด้านการสื่อสาร องค์กรแม่น้ำนานาชาติ กล่าวว่า แม้ภาคประชาชนพยายามเสนอทางออกต่อเนื่องแต่ยังไม่เห็นภาพชัดจากภาครัฐว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ที่ผ่านมามีการสร้างเขื่อนเพราะมองแม่น้ำโขงแค่เรื่องน้ำและมีการแสวงหารายได้ แต่ผู้ใช้ทรัพยากรน้ำกลับถูกเบียดขับออกไป ปัญหาแม่น้ำโขงต้องใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่จีนก็จะพูดคุยทีละประเทศแม้จะมีการตั้งกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โจง แต่ก็ยังไม่จริงจัง แต่ระยะหลังจีนมีความพยายามอธิบายมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นการบริหารจัดการน้ำโขงโดยเอาตัวเองเป็นตัวตั้งซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ท้ายน้ำ หากจีนบริหารจัดการโดยคำนึงถึงประเทศท้ายน้ำด้วยก็จะดีที่สุด
“ผลกระทบของแม้น้ำโขงข้ามพรมแดนของรัฐชาติ แต่ทำอย่างไรประเทศสมาชิกจะตระหนักถึงปัญหาและตั้งวงเจรจากัน ไม่ใช่ยอมให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งใช้แม่น้ำโขงแสวงหากำไร” น.ส.เพียรพร กล่าว
ด้านคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้ออกรายงานฉบับใหม่ โดยระบุว่าการทำประมงยังคงเป็นวิถีชีวิตที่สำคัญในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว ไทย และเวียดนาม แต่การทำประมงที่มากเกินไปและความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัยที่ เกิดจากการเติบโตของประชากรมนุษย์อย่างรวดเร็ว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศกำลังส่งแรงกดดันต่อการประมงในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงใน ระบบนิเวศทางน้ำของลุ่มน้ำกำลังส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม
รายงาน 2 ฉบับดังกล่าว คือรายงานสถานะและแนวโน้มของความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลาย ของปลาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างระหว่างปีพ.ศ. 2550-2561 และรายงานการติดตาม ผลกระทบทางสังคมและการประเมินความเปราะบางปีพ.ศ. 2561 พบว่าครัวเรือนยังคงพึ่งพาทรัพยากรน้ำซึ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของรายงานการติดตามผลกระทบทางสังคมและการประเมินความ เปราะบางปีพ.ศ. 2561 จากจำนวน 2,800 ครัวเรือน พบว่าร้อยละ 35 ระบุว่ารายได้ลดลง และร้อยละ 32 ระบุว่ารายได้เท่าเดิม มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่ระบุว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ร้อยละ 6 ระบุว่ารายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2559
“รายงานทั้ง 2 ฉบับเตือนว่ายังมีประเด็นสำคัญที่ต้องมีการปรับปรุงซึ่งมีความเกี่ยวพันเชิงนโยบายสำหรับรัฐบาล เพื่อให้ชุมชนได้รับการปกป้องจากภัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และความเปราะบางที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ”
MRC ระบุว่า จากการศึกษาพบว่า ชุมชนประมงในเกือบทุกพื้นที่ประมงของลุ่มแม่น้ำโขงถูกรบกวน โดยเฉพาะใน สปป. ลาวและเวียดนาม พบว่าอัตราการจับปลาลดลง ส่วนหนึ่งของข้อแนะนำคือเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศภาคี สมาชิกของMRC ทั้งสี่ประเทศบังคับใช้กฎหมายการประมงระดับชาติและการร่วมกันดำเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการและพัฒนาประมงลุ่มแม่นำโขงที่ได้รับการอนุมัติเพื่อฟื้นฟูชุมชนประมงที่ประสบปัญหา นอกจากนี้ยังเสนอการบูรณาการแผนการจัดการแม่น้ำเพื่อจัดการกับความเสี่ยงจากการสร้างเขื่อนพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำที่เพิ่มขึ้น
“หนึ่งในผลการศึกษาที่โดดเด่นพบว่า อุบัติการณ์น้ำท่วมที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ ในช่วงปีพ.ศ. 2558-2561 ประมาณร้อยละ 62 ของกลุ่มตัวอย่างหมู่บ้าน ประสบความสูญเสียและความ เสียหายจากอุทกภัย ในจำนวนนี้ประเทศไทยมีสัดส่วนสูงสุดที่ร้อยละ 80 ในขณะที่เวียดนามมีสัดส่วน ต่ำสุดที่ร้อยละ 42 ทั้งนี้ร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่างหมู่บ้านระบุว่า ผลกระทบจากอุทกภัยเลวร้ายมากขึ้น และร้อยละ 25 ระบุว่าผลกระทบเหล่านี้เลวร้ายลงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาและรุนแรงมากกว่าปีก่อนหน้า”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |