18 ต.ค.2564-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายกับผู้หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางของระบบการจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane Free Flow) หรือ ระบบ M-Flow ระหว่าง กรมทางหลวง (ทล.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายและเชื่อมโยงข้อมูลผู้ใช้บริการระบบ M-Flow
นายศักดิ์สยาม เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 ต.ค.นี้ จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนทดสอบระบบเสมือนจริงแบบครบวงจร (Soft Opening) ใช้ระบบ M-Flow บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 หรือวงแหวนกาญจนาภิเษก (บางปะอิน-บางพลี) จำนวน 4 ด่าน ได้แก่ ด่านทับช้าง 1, 2 และ ด่านธัญบุรี 1, 2 คาดว่าจะมีประชาชนสนใจลงทะเบียนหลักแสนคน โดยใช้เวลาทดลองประมาณ 2-3 เดือน จะประเมินผลให้เป็นไปตามสมมติฐาน ทั้งความรวดเร็วในการเดินทางที่มีความคล่องตัวขึ้น เพราะมีประสิทธิภาพในการระบายรถหน้าด่านได้เร็วขึ้น 5 เท่า หรือ 2,000-2,500 คัน/ช่อง/ชม. เมื่อเทียบกับระบบชำระค่าผ่านทางอัตโนมัติ เช่น เอ็มพาส (M-Pass) และ อีซี่พาส (Easy-pass) อยู่ที่ 500 คัน/ช่อง/ชม. โดยใช้ความเร็วได้ 120 กม./ชม. จากนั้นจะเปิดให้บริการจริงในเดือน ม.ค.65 ต่อไป ทั้งนี้เมื่อพบว่าระบบ M-Flow ประสบความสำเร็จจะขยายไปใช้ในเส้นทางอื่นๆ ต่อไป โดยในปี 65 จะทำการศึกษาใช้กับมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 กรุงเทพฯ-มาบตาพุดต่อไป
ทั้งนี้เมื่อมีระบบ M-Flow ใช้ในเส้นทางของทางด่วน และ มอเตอร์เวย์ครบทุกเส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบันแล้ว หรือเปิดบริการเต็มรูปแบบจะยกเลิกจ่ายค่าผ่านทางด้วยเงินสด หรือ ระบบเอ็มพาส และ อีซี่พาสภายในปี 67 เพราะขณะนี้ในโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เช่น มอเตอร์เวย์หมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา และ หมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรีจะใช้ระบบ M-Flow และในเส้นทางใหม่ในอนาคตด้วย เพราะกระทรวงคมนาคมพยายามดำเนินเรื่องนี้มา 2 ปี ในปี 62-64 จนเกิดใช้ระบบดังกล่าว ขณะที่ต่างประเทศใช้ระบบนี้ไปแล้ว 20 ปี
ส่วนการบังคับใช้ทางกฎหมาย ถ้าผู้ใช้ทางฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าผ่านทางจะปรับ 10 เท่าของอัตราค่าใช้บริการ เช่น รถขนาด 4 ล้อ ราคา 30 บาท/ด่าน ถ้าวิ่งทุกวัน 1 เดือนจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง 900 บาทต่อเที่ยว หรือ ไป-กลับ 1,800 บาท หากไม่ชำระจะปรับ 10 เท่า หรือคิดเป็นเป็น 9,900 บาท หรือ ถ้าไป-กลับเป็น 18,000 บาท ซึ่งการจ่ายค่าผ่านทางนี้จะแจ้งผู้ใช้ทางผ่านทางแอพพลิเคชั่น M Flow ทุกวัน ส่วนการค้างจ่ายค่าผ่านทางนั้นสามารถจ่ายได้ภายใน 30 วัน หรือจ่ายได้ทันที ซึ่งจะเป็นกหารจ่ายผ่านแอพฯ คิวอาร์โค้ด และอนาคตขยายไปจ่ายที่ธนารคออนไลน์ หรือร้านสะดวกซื้อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทางต่อไป
ทั้งนี้หากยังฝ่าฝืนไม่จ่ายอีก เมื่อไปต่อภาษีรถ ขบ. จะทำการตรวจเช็กข้อมูลหากพบว่า มีการค้างจ่ายค่าผ่านทางต้องทำการจ่ายที่ ขบ. ก่อนจะดำเนินการต่อภาษีรถต่อไป และอนาคตจะมีผลต่อการดำเนินงานด้านทะเบียนด้วย เช่น การอายัติทะเบียนรถ ซึ่งต้องปรับแก้กฎหมายให้รองรับต่อไป ตลอดจนการใช้ระบบกล้องอัจฉริยะจะช่วยตวรจสอบป้ายทะเบียนที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย เช่น การเกิดอาชญากรรม ลักขโมยรถ ขบ. จะสามรถใช้ข้อมูลนี้ตรวจสอบ เพื่อนำข้อมูลส่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำไปดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อตามจับผู้กระทำผิดได้
สำหรับระบบ M-Flow จะทำให้สะดวก รวดเร็ว ลดปัญหาจราจรติดขัดหน้าด่าน รวมทั้งลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย ส่วนการจัดเก็บรายได้ค่าผ่านทางยังเหมือนเดิม ขณะเดียวกันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องบุคลากรที่นั่งที่ด่านลง โดยถ้าใช้ระบบเดิมและเปรียบเทียบกับใช้ระบบ M-Flow จะลดลง 20 สตางค์/คัน จากระบบเอ็มพาส 2.9 บาท/คัน ถ้าใช้ระบบ M-Flow เหลือ 2.7 บาท/คัน
ส่วนการจัดโปรโมชั่น เพื่อจูงใจผู้ใช้ทางให้ใช้ระบบ M-Flow นั้น ตั้งแต่วันที่ 29 ต.ค. เป็นต้นไป ถ้าใครลงทะเบียนจะได้รับวิ่งฟรี 2 เที่ยว โดยจำกัดแค่จำนวน 1 แสนสิทธิ์ จากนั้นในช่วง 1 ม.ค.65 จะให้ ทล. สรุปโปรโมชั่นในช่วงเปิดใช้จริง 3 เดือนให้ชัดเจน เช่น ถ้าใช้ระบบ M-Flow ลด 10% จากเดิมเคยจ่าย 30 บาทต่อด่าน จะลดเหลือ 27 บาท/ด่าน หรือถ้าลด 20% จากจ่าย 30 บาท/ด่าน จะจ่าย 24 บาท/ด่าน ทั้งนี้หากจัดโปรฯ ลด 10% จะทำให้รายได้มอเตอร์เวย์ลดลง 15 บาท/เดือน หรือ ลด 20% จะทำให้รายได้มอเตอร์เวย์ลดลง 30 ล้านบาท/เดือน เพราะตอนนี้มอเตอร์เวย์หมายเลขมีผู้ใช้ทางอยู่ที่ 6 แสนคัน/วัน ซึ่งกาจัดโปรฯ ต้องดำเนินการให้รอบคอบทุกด้าน เพื่อให้ กทพ. นำไปใช้กับทางด่วนต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |