หวั่นหลักธรรมาภิบาลชำรุด! กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขงฯ เรียกร้องกรมประมง ทบทวนรับงบฯจากบริษัทเอกชน


เพิ่มเพื่อน    

18 ต.ค.64 - กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขงและภาคประชาสังคมได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง อธิบดีกรมประมง เพื่อขอให้ทบทวนการรับเงินสนับสนุนจากบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หลังกรมประมงชี้แจงกรณีเสนอแผนงบประมาณกว่า 261 ล้านบาทเพื่อฟื้นฟูแม่น้ำโขง 

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564 กรมประมงได้ส่งหนังสือตอบกลับนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน โดยระบุว่า กรมประมงได้เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 จำนวน 261,740,190 บาท เพื่อการจัดทำโครงการ “การจัดการทรัพยากรประมงในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาในประเทศไทย” ประกอบด้วย 2 แผนงาน ได้แก่ 1. แผนงานเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ  2. แผนงานบูรณาการและสนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการประมงน้ำจืด 

ทั้งนี้ในจดหมายเปิดผนึกของภาคประชาชน ระบุว่า บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่โดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) การถือหุ้นทางตรงและหุ้นทางอ้อม บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) คือ ผู้พัฒนาโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างเขื่อนแรก และตั้ง บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จํากัด จดทะเบียนในประเทศลาวในปี 2553 เพื่อรับสัมปทานการสร้างเขื่อนและขายไฟฟ้าจากรัฐบาลลาว และดำเนินการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2554  ต่อมาบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)  ได้ขายหุ้นทั้งหมดแก่ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ดังนั้น บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในผลกระทบที่เกิดต่อระบบนิเวศและชุมชนตลอดแม่น้ำโขง นับตั้งแต่เขื่อนไซยะบุรีเปิดใช้งาน ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ได้

เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว เรียกร้องและตั้งคำถามต่อหน้าที่โดยตรงของกรมประมง ดังนี้ 1. กรมประมงในฐานะเป็นหน่วยงานราชการ การรับเงินสนับสนุนจากบริษัทเอกชนเช่นนี้นั้น อาจจะกลายเป็นการนำเอาศักดิ์ศรีสถาบันของกรมประมงไปช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์แก่บริษัทเอกชน และอาจจะตกเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม ให้แก่บริษัทเอกชน 
2. การรับเงินนอกงบประมาณแผ่นดินในลักษณะนี้ กรมประมงจะถูกตั้งคำถามต่อหลักธรรมาภิบาลขององค์กร หรือการมีส่วนร่วมกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึงใน 7 จังหวัดแม่น้ำโขง อีกทั้ง ยังไม่ตั้งอยู่บนงานวิจัยของกรมประมงแต่อย่างใด การรับเงินสนับสนุนดังกล่าวอาจจะถูกตั้งคำถามถึงความชอบด้วยกฎหมายของการรับเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนได้

“พวกเราจึงขอเรียกร้องให้กรมประมงทบทวนการรับเงินสนับสนุน จากบริษัทที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ดำเนินโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี และบริษัทเอกชนอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันนี้ในอนาคต”ในจดหมายระบุ

นายมนตรี จันทวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง (The Mekong Butterfly) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำโขง เกิดขึ้นทันทีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ด้วยปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน การระบาดของสาหร่ายในแม่น้ำโขง และระดับน้ำโขงที่ผันผวนผิดฤดูกาล ซึ่งตรวจวัดที่สถานีวัดระดับน้ำโขงเชียงคานได้อย่างชัดเจน ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ.2563-2564 และผลสืบเนื่องจากน้ำโขงใสไร้ตะกอนนี้ ยังทำให้เกิดการดำน้ำยิงปลาในวังปลาต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อปลาขนาดใหญ่ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ปรากฏการณ์น้ำโขงใสไร้ตะกอน ทำให้เกิดข้อถกเถียงและข้อสังเกตในทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ต่อผลกระทบต่อเนื่องในระบบนิเวศแม่น้ำโขงและความสมบูรณ์ของทรัพยากรการประมง รวมถึงความเชื่อมโยงกับการเปิดใช้งานเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

นายมนตรี กล่าวว่า เหตุนี้เอง กรมประมงในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจในการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อวิเคราะห์หาขอบเขตและความรุนแรงของผลกระทบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ที่เกิดขึ้นจากน้ำโขงใสไร้ตะกอนและระดับน้ำโขงผันผวน รวมถึงการวิเคราะห์ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ มีความเกี่ยวข้องกับเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในปัจจุบันกรมประมงยังไม่ได้ทำการศึกษาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของนิเวศแม่น้ำโขงนี้ ที่จะช่วยสร้างแนวทางที่ชัดเจนสำหรับกรมประมง ในการวางแผนงานและการออกนโยบายแต่อย่างใด

อนึ่ง เมื่อเดือนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เฟซบุ๊กของฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง ได้โพสต์ภาพการหารือร่วมกันระหว่างกรมประมงและฝ่าย CSR ของบริษัทไซยะบุรีพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) โดยนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง ได้ร่วมประชุมกับผู้บริหารของบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการเขื่อนไซยะบุรี ในสปป.ลาว โดยได้หารือในการจัดทำโครงการเพิ่มผลผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดเพื่อปล่อยลงสู่แม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาโดยมีแนวทางเพื่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำในลุ่มน้ำโขง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"