18 ต.ค. 64 - นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา เผยแพร่บทความเรื่อง "เสรีภาพกับความรับผิดชอบ" มีรายละเอียดดังนี้
รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 มาตรา 44 กำหนดว่า
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น”
ลองมาพิจารณาตัวอย่างพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
1.การชักธงชาติไทยลงจากยอดตึกโดม ม. ธรรมศาสตร์ แล้วชักธงแดงขึ้นไปแทนที่ ในวันที่ 6
ตุลาคม 2564 เป็นเสรีภาพหรือไม่
2.การสาดสีเข้าใส่ป้ายและประตูรั้ว ที่ศาลอาญา ที่พรรคการเมือง 2-3 แห่ง ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และที่พื้นถนนหน้าสถานกักกันปทุมธานี จนเปื้อนเปรอะเลอะเทอะเป็นภาระให้คนตามเช็ดตามล้าง เป็นเสรีภาพหรือไม่
3.การมีกลุ่มก๊วนเที่ยวจุดไฟเผาป้ายสัญญาณจราจร เผาป้อมตำรวจ เผารถเจ้าหน้าที่ แถวแยก
ดินแดงและบริเวณใกล้เคียง เป็นเสรีภาพหรือไม่
4.ฐานอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตรงแผ่นป้ายจารึกชื่อบรรพบุรุษไทยที่พลีชีพเพื่อชาติในมหา
สงครามเอเชียบูรพา เปรอะเปื้อนไปด้วย ถ้อยคำต่ำทรามสีแดงดำ ที่หยาบคาย เป็นการใช้เสรีภาพ ใช่หรือไม่
5.การที่เยาวชนชายหนึ่งหญิงหนึ่งใส่เสื้อสกรีนหน้าอกสีแดงมีคำบอกอวัยวะเบื้องต่ำตัวโต
และอีกหนึ่งอาจารย์ ทั้งสามคนอยู่บนหน้าจอ คนหนึ่งยกนิ้วกลาง ส่งเสียงให้อวัยวะเพศกับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านทางจอออนไลน์ต่อนิสิตจุฬาฯในวันปฐมนิเทศนิสิตใหม่ เป็นเสรีภาพหรือไม่
6.นักศึกษาหญิงคนหนึ่งส่งมอบอวัยวะเพศที่ตนเองไม่มีให้ประธานรัฐสภาผ่านโพสต์ของ
ตนเอง เป็นเสรีภาพหรือไม่
7.การจุดไฟเผาพระบรมฉายาลักษณ์ ที่หน้าเรือนจำคลองเปรม และที่ถนนราชดำเนินนอก
เป็นการใช้เสรีภาพหรือไม่
8.ป้าเป้าเปลือยกายกลางถนนที่แยกนางเลิ้งทิ้งตัวนอนหงายกับพื้น อ้าขาทั้งสองออกเต็มที่
เปิดโชว์สิ่งควรสงวนต่อตำรวจ ต่อสื่อสาธารณะ เป็นเสรีภาพหรือไม่
9.การก่อเหตุรุนแรงรายวันนานนับเดือน ทุกย่ำค่ำบริเวณแยกดินแดง จนชาวบ้านบนแฟลต
ผู้คนในหย่อมย่านนั้น ทั้งคนชรา ผู้หญิง เด็กเล็ก หวาดผวาอันตราย อกสั่นขวัญแขวนเดือดร้อนกันไปทั่ว เป็นเสรีภาพหรือไม่
มีเสรีภาพประเทศไหน ที่อนุญาตให้ใครจุดเพลิงเผาอะไรก็ได้ มีมหาวิทยาลัยไหนในโลก ที่ปล่อยให้แจกกล้วยผ่านหน้าจออย่างหน้าด้านๆ มีอนุสาวรีย์ไหนอนุญาตให้สาดสี เขียนคำสถุลถ่อยอะไรก็ได้
มีใครบ้างไหม ที่เห็นด้วยกับการใช้เสรีภาพแบบนี้ เห็นมีก็แต่อาจารย์ ม.ช. คนหนึ่งที่ยกย่องป้าเป้าโชว์เปลือยว่า
“เป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยการสละเรือนร่างเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐ อยุติธรรม”
ช่างสรรหาวิปริตตรรกะมาอธิบายได้อย่างน่าสังเวชดีแท้
การใช้เสรีภาพล้นเกินด้วยความกักขฬะ ระราน ลามก อนาจาร อย่างไร้ยางอายจะเรียกว่าเป็นเสรีภาพได้อย่างไร
กรณีศึกษา
เรื่องกลุ่มทะลุฟ้า ในงานรำลึกวีรชน 14 ตุลา เมื่อ 14 ตค. 64 ณ อนุสรณ์สถานสี่แยกคอกวัว มีข้อเท็จจริงดังนี้
มูลนิธิ 14 ตุลา จัดงานรำลึก 14 ตุลา ในวันที่ 14 ตค. 64 ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อ
แสดงคารวาลัยต่อวีรชน 14 ตุลา โดยมีการตักบาตร ทำบุญ มีพิธีกรรมของผู้แทนศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม มีตัวแทนรัฐบาล ฝ่ายค้าน มหาวิทยาลัย กสม. และภาคประชาชน วางหรีด และกล่าวคำไว้อาลัย เพื่อสืบทอดจิตวิญญาณประชาธิปไตย โดยไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายใดๆ และมีการปาฐกถา 14 ตุลา โดยในปีนี้ เป็น นพ.วิชัย โชควิวัฒน แสดงปาฐกถาเรื่อง “ เหลียวหลังแลหน้า 14 ตุลา 16 : ในสถานการณ์โควิด -19 ”
2.กลุ่มทะลุฟ้า ทำจดหมายขอใช้ลานกิจกรรมอนุสรณ์สถาน จัดกิจกรรมไฮด์ปาร์ค
ดนตรี กวี ในเวลา 16.00 – 19.00 น. ระบุว่ามีผู้เข้าร่วมประมาณ 30 คน ผู้เขียนในฐานะกรรมการ เลขานุการมูลนิธิ 14 ตุลา ได้อนุญาตไปตามกำหนดที่ขอมาโดยไม่ได้กีดกั้นจำกัดสิทธิใดๆเลย
3.เช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2564 อยู่ๆ ก็มีโต๊ะมาตั้งวางเครื่องเสียงพร้อมกับหนุ่มสาวราว 10 คน
นั่งตรงทางขึ้นบันไดด้านถนนดินสอ มีการเปิดเพลงผ่านเครื่องเสียงดังสนั่น มีการขึงป้ายผ้า 6-7 ผืน
ตรวจสอบดูแล้ว พบว่าเป็นการเข้ามา ทำกิจกรรมตั้งแต่ช่วงเช้าอย่างถือวิสาสะ ผู้เขียนจึงขอให้ปลดป้ายลงก่อน ให้หยุดการกระจายเสียงรบกวนพิธีกรรม เยาวชนกลุ่มนั้นแสดงอาการไม่พอใจ และไม่ยอมปลดป้าย ผู้เขียนจึงชี้แจงต่อสื่อ ในบริเวณนั้นว่า พวกเขาเข้ามาใช้พื้นที่โดยพลการ ผิดเวลา ผิดกาละ และผิดคำพูดที่ขออนุญาตไว้
เราเคารพคุณค่าของจิตวิญญาณประชาธิปไตย ที่ปรารถนาเสรีภาพ เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อ ไม่ผูกติดกับทิศทางความเชื่อของกลุ่มการเมืองใด จึงไม่ต้องการถูกตีความแบบเหมารวมว่ามูลนิธิ 14 ตุลา มีความเป็นฝักฝ่ายที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง
4.ในเย็นวันเดียวกัน ทะลุฟ้าก็ใช้สิทธิจัดกิจกรรมตามที่ขออนุญาตไว้โดยไม่มีการกีดกั้น
ใดๆ จากมูลนิธิเลย ทำกิจกรรมแล้วยังเอาเครื่องเสียงฝากไว้ ณ วันที่ 18 ตค. 64 พวกเขายังไม่จ่ายค่าเช่าสถานที่ ค่าจัดเก็บทำความสะอาด 3,500 บาท
รัฐธรรมนูญ 2560 ว่าด้วยเสรีภาพ ไม่ได้มีเพียงมาตรา 44 เท่านั้น แต่ยังมีบทบัญญัติ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายระบุว่า
“บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้ และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิ หรือเสรีภาพเช่นว่านั้น ไม่กระทบกระเทือน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น”
จะมีประเทศไหนในโลก ที่ยินยอมให้ใครใช้เสรีภาพล้นเกินอย่างไร้ความรับผิดชอบ
เสรีภาพจึงไม่ได้เลื่อนลอยอยู่ในอากาศ แต่เป็นสิ่งสัมพันธ์กับความรับผิดชอบที่ต้องผูกกำกับไว้ด้วยกัน
กฎหมายและระบบราชทัณฑ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ล้วนจำกัดเสรีภาพให้อยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดชอบที่พึงมี
เป็นกรอบเกณฑ์แห่งสังคมวุฒิภาวะ
เป็นอารยะวิถีแห่งความชอบธรรมที่โลกยอมรับนับถือ
การใช้เสรีภาพล้นเกินอย่างไร้ความรับผิดชอบ จึงควรต้องได้รับการตรวจสอบจากสังคมด้วย นอกเหนือจากหมายศาลและอาชญา ที่ต่างก็ได้รับแล้วหรือที่จะได้รับเป็นลำดับต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |