ออกแบบผ้าไทยย้อมสีธรรมชาติ สานภูมิปัญญา ลุยตลาดโลก


เพิ่มเพื่อน    

 

              เปิดพื้นที่ให้นักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่และผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทยได้สร้างสรรค์พัฒนาผ้าไทยให้ได้รับความนิยมระดับโลกภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2564 โดยหยิบไอเดียจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2022) นำเสนอการสร้างสรรค์ลายผ้าไทยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และต่อยอดภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืน

                กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากล เพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2021) โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และสิ่งทอสร้างสรรค์  เมื่อวันก่อน

ชาย นครชัย อธิบดี สวธ. และคณะกรรมการฯ ให้กำลังใจผู้ได้รับรางวัล

 

                ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า โครงการประกวดส่งเสริมการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าไทยและเครื่องนุ่งห่มตรงตามความต้องการของผู้บริโภคที่นำมาใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยผู้ประกอบการ และนักออกแบบรุ่นใหม่ใช้แนวคิดหลัก “สังคมสรรค์สร้าง Social Creation” ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทย และการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เป็นแนวทางรังสรรค์ผลงาน  รางวัลทั้ง 3 ประเภทส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน จะเห็นว่า ผ้าแต่ละผืนที่ออกมามีความสวย มีวิธีคิดนำภูมิปัญญามาต่อยอด ถือเป็นก้าวแรกและต้องก้าวต่อไปเพื่อให้วงการผ้าไทยสู่สากล  เป็นที่ยอมรับของทุกคน อยากใช้ผ้าไทยในชีวิตประจำวันมากขึ้น นักออกแบบไทยมีชื่อเสียงและฝีมือระดับสากลมากมาย เพียงแต่จะทำอย่างไรสามารถมัดใจคนได้ ต้องผลักดันให้สำเร็จ

 หนังสือ Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2022 ให้ไอเดียนักออกแบบ

 

               โปรเจ็คนี้คณะกรรมการตัดสินทำงานอย่างหนัก วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข เจ้าของแบรนด์  วิชระวิชญ์   กล่าวว่า การประกวดเปิดกว้างให้นักออกแบบและชุมชนร่วมแสดงศักยภาพให้ได้มากที่สุดสอดคล้องกับแนวคิดสังคมสรรค์สร้าง ภาพรวมคณะกรรมการการตัดสินมองหาสิ่งที่ไม่ค่อยเจอตามท้องตลาด มีความสร้างสรรค์  และใช้สีธรรมชาติเป็นหลัก  ผลงานจะมีความกลมกลืน สามารถต่อยอดเข้าสู่ตลาดได้จริงหรือไม่ ทั้งทำเครื่องแต่งกายและของตกแต่งบ้าน เวทีนี้กว่าครึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์  อีกครึ่งเป็นกลุ่มเยาวชน นิสิต นักศึกษา  

           “  ทั้ง 24 ผลงานที่เข้ารอบและได้รับรางวัล มีจุดแข็ งและจุดเด่นแตกต่างกันไป นำอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นมาผสมในผลงาน นักออกแบบผ้าไทยส่วนใหญ่มีหัวศิลปะและหัตถกรรมในสายเลือดอยู่แล้ว อยู่ที่จะปรับให้ดูปัจจุบัน และเข้ากับตลาดสากลได้อย่างไร  มีหนังสือ Thai Texiles Trend Book ยิ่งเป็นเครื่องมือช่วยให้เดินอย่างมีทิศทาง สามารถแข่งขันกับตลาดสากลได้  อนาคตการออกแบบและสิ่งทอ คือ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเป็นทุนให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่  ”วิชระวิชญ์ บอก

ผลงานที่เหล่านักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่สร้างสรรค์พัฒนาผ้าไทย

        ส่วน  ธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ โจแบ็ค บอกว่า การประกวดเป็นการรักษาภูมิปัญญาในการถักทอเส้นใยและย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งกำลังจะสูญหายให้กลับคืนมา และอยู่ในกระแสความนิยมออร์แกนิค  ผู้เข้าประกวดได้แสดงไอเดีย  รู้จักการใช้สีธรรมชาติที่เป็นสีไทยในอดีต  เกิดผลงานสีธรรมชาติรูปแบบใหม่  เป็นชิ้นงานต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่และกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่นนำภูมิปัญญามาเป็นอาชีพ  ผ้าไทยเหล่านี้จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะมีตัวตนสูงเมื่อแปรรูปจะทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์

 เปมิกา เพียเฮียง กับผลงานออกแบบผ้าไทย”โครมาโทกราฟี่”

         ผลงานชื่อ”โครมาโทกราฟี่”คว้ารางวัลชนะเลิศ ประเภทสิ่งทอสร้างสรรค์  เปมิกา เพียเฮียง ผู้ออกแบบ เผยว่า นำแนวคิดสีจาก Thai Texiles Trend Book มาใช้  สีดำเข้ากับทุกลุค สามารถปรับใช้ได้กับทุกเจเนอเรชั่น  จุดเด่นเลือกใช้เส้นใยหลากหลายตรงกับหัวข้อประกวดสิ่งทอสร้างสรรค์ ทั้งเส้นไหมอีรี่ เส้นใยเปลือกไหม  ส่วนเส้นไหมควบนำเส้นใยขนแกะจากแม่ฮ่องสอนผสมกับเส้นไหมหลืบสร้างเส้นใยขึ้นมาใหม่ ให้มีความแปลกตามากขึ้น การย้อมสีมีหลายเฉด  ไม่ได้ย้อมสีดำแค่เฉดเดียว แต่มีดำน้ำตาล ดำแดง ดำน้ำเงิน  

สุพัฒตรา กล้าหาญ เจ้าของผลงานชื่อ “ ความเปล่งปลั่งของหญิงสาว “   

         ประเภทผ้าฝ้าย ผลงานชื่อ “ Efflorescence of Feminine “  (ความเปล่งปลั่งของหญิงสาว) พิชิตรางวัลชนะเลิศ สุพัฒตรา กล้าหาญ เจ้าของผลงาน  บอกว่า  แนวคิดนำความเปล่งปลั่งของหญิงสาวมาใส่ ในตัวผ้าด้วยสีสันสดใสทั้งสีเหลือง สีคราม สีน้ำตาล สีแดง  ย้อมด้วยสีธรรมชาติ  เทคนิคการทอเป็นการมัดหมี่ แล้วก็นำไปทอจนเกิดชิ้นงาน  อีกไอเดียจากหนังสือ Thai Texiles Trend Book นำคอนเซ็ปต์ของสีมาใช้  ลวดลายดีไซน์จากกระบวนการทำงานที่มีความซับซ้อน

             ย้อมผ้าตามแบบไทยโบราณเกิดผืนผ้าสวยงาม ส่งให้ผลงาน “มนต์เสน่ห์สงขลา” ได้รางวับชมเชยประเภทผ้าไหม  ประพนธ์ ชนะ ผู้ออกแบบ บอกว่า ย้อนกลับไปหาเทคนิคย้อมสีธรรมชาติแบบโบราณที่จะหมดไป นำมาใช้ใหม่ ทำให้ผ้ามีความคลาสสิค ปกติงานออกแบบตนจะเน้นผ้าไหม ผ้าฝ้าย ใช้เส้นใยและสีธรรมชาติ เพื่อทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด ตอบโจทย์คนที่ไม่นิยมใช้ผ้าทำจากเส้นใยสังเคราะห์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"