16 ต.ค.64 - ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า การฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรสูงอายุและกลุ่มที่มีโรคประจำตัวให้สูงน่าจะช่วยทำให้เปิดประเทศได้ปลอดภัย เนื่องจากวัคซีนทุกชนิดไม่ได้ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดี แต่ลดความรุนแรงได้ดีถ้าระดับภูมิยังสูงพอ คนที่ฉีดมีโอกาสยังติดเชื้อและอาจจะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการเลยแต่จะเอาเชื้อไปแพร่ให้คนใกล้ชิดที่ยังไม่ได้ฉีด ซึ่งถ้าเป็นกลุ่มคนที่อายุมากหรือมีโรคประจำตัวก็จะมีอาการรุนแรง มีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิต ดังนั้นคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนอยู่เฉยๆเชื้อก็จะมาหาเองแม้ว่าไม่ได้ออกไปไหน แต่จากได้โรคมาจากคนใกล้ชิดที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการและไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ
ตัวอย่างของประเทศที่ดำเนินการแบบนี้คือเดนมาร์กที่ฉีดวัคซีนในประชากรกลุ่มเสี่ยงไปแล้วสูงถึง 97% จึงได้ประกาศลดการควบคุมมาตรการต่างๆ
ความเห็นส่วนตัวคือ หลังผ่อนคลายมาตรการอาจจะเห็นผู้ที่ติดเชื้อมากขึ้น แต่ตัวเลขที่น่าจะต้องโฟกัสก็ควรเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ของผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่ได้รับวัคซีน จำนวนผู้ป่วยหนักที่นอนไอซียู น่าจะสำคัญมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน มีหลายประเทศในยุโรปที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังสูงขึ้นๆลงๆแต่จำนวนผู้เสียชีวิตต่อวันน้อยมาก
ถ้าสัดส่วนของการได้รับวัคซีนยังไม่สูงพอ การลดระดับมาตราการก็อาจจะส่งผลทำให้จำนวนผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น มีผลกระทบกับการให้บริการทางการแพทย์ เช่นเตียงไอซียู อุปกรณ์ดูแลคนไข้หนักที่มีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้การที่มีคนไข้โควิดที่มีอาการหนักจำนวนเพิ่มขึ้นก็จะมีผลกระทบต่อการให้บริการคนไข้ในกลุ่มโรคอื่นๆ ตามมา
สิ่งที่ต้องทำคือรีบปิด gap ให้จำนวนผู้สูงอายุได้รับวัคซีนสูงตามเป้าหรือมากกว่าเป้า (เข้าใจว่าช่วงนี้เป็นช่วงท้าทายเพราะเป็นกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยาก)และการเตรียมความพร้อมรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เตียงไอซียูยังต้องพร้อมตลอด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |