15 ต.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ ครั้งที่ 6/2564 โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2564 ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และการส่งออกที่ชะลอลงกว่าคาด แต่พัฒนาการด้านวัคซีนที่ดีขึ้นชัดเจนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปีนี้
โดยประเมินว่า ปี 2564 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ 0.7% และในปี 2565 ที่ระดับ 3.9% จากการทยอยฟื้นตัวจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นสำคัญ ตามความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทยอยฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ขณะที่การส่งออกจะยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหา global supply disruption
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเผชิญความไม่แน่นอนสูง โดยต้องติดตาม 1. แนวโน้มการระบาดและการกลายพันธุ์ของไวรัส รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยว 2. การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคเอกชนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุน 3. ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะต่อไป และ 4. ปัญหา supply disruption และต้นทุนค่าขนส่งสินค้าทางเรือน ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกสินค้า
“กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 3/2564 และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ที่เลื่อนมาจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand) ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากพัฒนาการด้านวัคซีนที่ปรับดีขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดที่เร็วกว่าคาด แต่ยังต้องติดตามพัฒนาการด้านวัคซีนทั้งการนำเข้าและการกระจายตามแผนของรัฐบาล รวมถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาดหากการระบาดกลับมารุนแรงขึ้น”
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวในแต่ละภาคเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันมากขึ้น (uneven recovery) ทำให้ตลาดแรงานยังเปราะบาง ซึ่งประเมินว่าจำนวนผู้ว่างงานและผู้เสมอนว่างงาน ณ สิ้นปีนี้ จะอยู่ที่ 3.4 ล้านคน โดยเฉพาะภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งภาครัฐควรดูแลภาคเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในจุดที่เปราะบางอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาวหลังการระบาดสิ้นสุดลง (scarring effects)
สำหรับโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน คือ การดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาด และความสามารถในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและครัวเรือน
นอกจากนี้ เห็นว่ามาตรการทางการคลังยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ ทั้งการเยียวยา และพยุงเศรษฐกิจ โดยในระยะต่อไปควรเน้นการสร้างรายได้และเตรียมมาตรการเพื่อฟื้นฟู ยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจหลังการระบาดคลี่คลาย โดยการขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70% ต่อจีดีพีนั้น จะเอื้อให้ภาครัฐสามารถผลักดันโยบายเพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่นโยบายการเงินต้องสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายต่อเนื่อง ส่วนมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่กระจายตัวได้ดี แต่ควรเร่งผลักดันสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุดและต่อเนื่อง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |