ชายแดนใต้หนัก'อนุทิน'อัด'ไฟเซอร์' หนึ่งล้านโดส ระดมฉีด 70 %ของประชากร ภายในต.ค.


เพิ่มเพื่อน    


14 ต.ค.64 -  ที่ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ โควิด 19 ของจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส หลังมีรายงานผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเพื่อร่วมกันวางแนวทางแก้ไขปัญหา ควบคุมการแพร่ระบาด 

 นายอนุทินกล่าวว่า ภาพรวมเขตสุขภาพที่ 12 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ย 7 วันย้อนหลังอยู่ที่ 2,400 กว่าราย ตั้งแต่ 1 เมษายน - 12 ตุลาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อสะสม 138,261 ราย เสียชีวิต 1,133 ราย อัตราตาย 0.8% สาเหตุการติดเชื้อเป็นการระบาดในครอบครัวและชุมชน มีระบาดเป็นกลุ่มเล็กๆในโรงงาน ตลาด และในกิจกรรมการรวมกลุ่ม ไม่มีคลัสเตอร์ใหญ่ มีบางส่วนมาจากการลักลอบเข้าประเทศผ่านพรมแดนธรรมชาติ และประชาชนบางส่วนยังไม่มารับการฉีดวัคซีน จึงได้ส่งทีมในเขตสุขภาพที่ 12 กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต รพ.สต.ต่างๆ ช่วยลงพื้นที่พบผู้นำชุมชนและประชาชน เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจให้เข้ารับการฉีดวัคซีน พร้อมกับให้ความรู้         การดำเนินวิถีชีวิตตามปกติที่ต้องเน้นการป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention) โดยได้สนับสนุนวัคซีนไฟเซอร์ให้ 1 ล้านโดส ฉีดให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมาย 70% ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกัน โดยในสัปดาห์นี้จะส่งวัคซีน 4 แสนโดส และสัปดาห์หน้าอีก 6 แสนโดส 

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนยาฟาวิพิราเวียร์ให้จังหวัดนราธิวาส 200,000 เม็ด ปัตตานี 50,000 เม็ด สงขลา 1,200,000 เม็ด ส่วนยะลาส่งให้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 350,000 เม็ด พร้อมส่งชุดตรวจ ATK ให้กับบุคลากรทางการแพทย์อีก 140,000 ชุด มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ได้โดยเร็ว

 นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 เขตสุขภาพที่ 12 มีเตียงทั้งหมด 28,451 เตียง เป็นเตียงสำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีแดง 401 เตียง กลุ่มสีเหลือง 3,167 เตียง และกลุ่มสีเขียวรวมโรงพยาบาลสนาม 24,883 เตียง ขณะนี้ใช้ไปแล้ว 79.9% มีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยดูแลรักษาตัวเองที่บ้านประมาณ  2,400 ราย ได้ให้เพิ่มระบบ HI/CI เพื่อให้โรงพยาบาลมีเตียงดูแลผู้ป่วยที่มีอาการระดับปานกลางขึ้นไป และให้โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นแม่ข่ายสนับสนุนจังหวัดต่างๆ ทั้งการรับส่งต่อผู้ป่วย บุคลากร ยาและเวชภัณฑ์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด รวมถึงเปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มขึ้น โดยกองทัพภาคที่ 4 ยินดีให้การสนับสนุน

              สำหรับจังหวัดยะลา ยังพบการระบาดต่อเนื่องใน 5 อำเภอ ได้แก่ เมืองยะลา บันนังสตา รามัน ยะหา และ กรงปินัง นอกจากการใช้มาตรการหลัก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านองค์กร ด้านบุคคล และด้านสังคม ได้เพิ่มมาตรการ Universal Prevention และ COVID-Free setting ในหน่วยงาน องค์กร และสถานประกอบการต่างๆ หลังจากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้เพิ่มมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง เพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชนและส่งเข้าระบบ HI/CI เร่งรัดฉีดวัคซีนเชิงรุกทั้งในและนอกสถานพยาบาลให้ได้วันละ 9,500 โดส ล่าสุดฉีดสะสม 271,370 คน คิดเป็น 60.07%, จำกัดพื้นที่ที่พบการระบาด เช่น ปิดหมู่บ้าน/ชุมชน ส่วนเตียงรับผู้ป่วย ปัจจุบันมีทั้งหมด 3,540 เตียง ใช้ไปแล้ว 94.12% ได้เพิ่ม CI/HI ในทุกอำเภอ ติดตามดูแลที่บ้านโดยทีมสหวิชาชีพ ปรับการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ให้เร็วขึ้น เพื่อลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิต นอกจากนี้ ได้เปิดสายด่วนโควิด 19 จังหวัดยะลา 1567 ตอบคำถามและอำนวยความสะดวกประชาชนเวลา 06.00 -21.00 น. ทุกวัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"