เยนส์ กัลชูท ศิลปินชาวเดนมาร์กเจ้าของผลงาน "เสาแห่งความอัปยศ" ที่สะท้อนถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 2532 ว่าจ้างทนายความเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ในฐานะเจ้าของประติมากรรมชิ้นนี้และขอนำออกจากฮ่องกง หลังจากมหาวิทยาลัยสั่งให้รื้อถอนผลงานของเขา
ประติมากรรม เสาแห่งความอัปยศ ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัยฮ่องกง (Getty Images)
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 13 ตุลาคมกล่าวว่า ประติมากรรมความสูง 8 เมตรชิ้นนี้ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยฮ่องกง (เอชเคยู) มาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่อังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนสู่จีน แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของฮ่องกงแห่งนี้มีคำสั่งให้รื้อถอนรูปปั้นนี้ โดยขีดเส้นตายให้รื้อถอนภายในเวลา 17.00 น.ของวันพุธ โดยอ้าง "คำแนะนำทางกฎหมาย" เนื่องจากทางการฮ่องกงกำลังปราบปรามผู้เห็นต่าง
ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นภาพของใบหน้าที่เจ็บปวดและร่างกายที่ถูกทรมาน 50 ร่างกองสุมกันเป็นเสาสูง เพื่อเป็นสิ่งรำลึกถึงผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในจีนที่โดนทหารปราบปรามที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งเมื่อปี 2532
เยนส์ กัลชูท เจ้าของผลงานชิ้นนี้ กล่าวกับเอเอฟพีว่า เขาได้ว่าจ้างทนายความฮ่องกงคนหนึ่งและร้องขอให้มีการไต่สวนร่วมกับเอชเคยูเกี่ยวกับอนาคตของประติมากรรมชิ้นนี้ โดยเขาหวังว่ามหาวิทยาลัยจะเคารพความเป็นเจ้าของผลงานชิ้นนี้ของเขา เพื่อให้เขาสามารถขนย้ายประติมากรรมนี้ออกจากฮ่องกงในสภาพที่เรียบร้อยและไม่ได้รับความเสียหาย
เอชเคยูกล่าวว่า พวกเขากำลังขอคำปรึกษาทางกฎหมายและทำงานกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการกับเรื่องนี้ตามกฎหมายและสมเหตุสมผล
หลังผ่านเส้นตายเมื่อเย็นวันพุธ ประติมากรรมชิ้นนี้ยังคงอยู่ที่เดิม
กัลชูทบอกกับเอเอฟพีด้วยว่า เขาอยากเก็บรูปปั้นนี้ไว้ที่ฮ่องกงมากกว่า แต่หากทางการฮ่องกงทำลายมัน ก็ขอให้ชาวฮ่องกงเก็บรวบรวมชิ้นส่วนของ "เสาแห่งความอัปยศ" นี้ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อเป็นการแสดงในเชิงสัญลักษณ์ว่า "อาณาจักรล่มสลาย แต่ศิลปะยังคงอยู่".
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |