นักวิจัย VISTEC คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2564 พร้อมรับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โชว์ศักยภาพสถาบันการศึกษาเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนา
โดยสถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC นี้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นงานวิจัย ชั้นแนวหน้า ที่ก่อตั้งขึ้นโดย กลุ่ม ปตท. เพื่อสร้างบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีเลิศในระดับโลก ให้สามารถสร้างและใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
การมอบรางวัลในครั้งนี้ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2564 ว่ารางวัลดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 39 โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เปิดตัวผู้ได้รับรางวัลฯ และในปีนี้ คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ นายวินิช พรมอารักษ์ นักวิจัยวัสดุนาโนสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ผู้คิดค้น “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน” (New Solar Cell and Innovative Lighting Technology for Renewable Energy Transformation) ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2564
ด้านนายจำรัส ลิ้มตระกูล ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น กล่าวว่าการที่จะยกระดับประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การพัฒนาแบบก้าวกระโดด และเปลี่ยนจากการเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีมาเป็นผู้สร้างนวัตกรรมเช่นเดียวกับประเทศชั้นนำในเอเชีย จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยด้านต่างๆ การส่งเสริมความเป็นเลิศในสาขาวิจัยที่สร้างศักยภาพให้กับประเทศ การสนับสนุนนักวิจัยและผู้นำกลุ่มนักวิจัยขั้นแนวหน้า และที่สำคัญคือการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัย เพื่อเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร ฯลฯ ที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการ
ทั้งนี้การมอบรางวัลดังกล่าว จึงเป็นหนึ่งในกลไกการสนับสนุน และสร้างนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในระดับสากลที่รอบรู้และมีความเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนอย่างแท้จริง และนำความรู้ไปขับเคลื่อนการพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสอดรับกับทิศทางในระดับนานาชาติได้
นายวินิช พรมอารักษ์ นักวิจัยวัสดุนาโน สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) กล่าวว่า การคิดค้นเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน เป็นการวิจัยและพัฒนาวัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์และการประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยนำวัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์ที่เป็นสารประกอบของคาร์บอน มาออกแบบในระดับโมเลกุลให้มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถเปล่งแสงได้ดี ดูดกลืนแสงได้ดี หรือนำไฟฟ้าได้ดี
สามารถนำมาใช้แทนวัสดุกึ่งตัวนำซิลิคอนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดนวัตกรรมใหม่ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ไดโอดเปล่งแสงอินทรีย์ (OLED) เซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่ อิเล็กทรอนิกส์แบบยืดหยุ่นหรือพับงอได้ เช่น โทรศัพท์มือถือแบบพับงอได้ รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ได้ โดยงานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการด้านเคมี วัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อต่อยอดการพัฒนาวัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์ประสิทธิภาพสูงและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ สู่การผลิตในเชิงพาณิชย์และใช้งานได้จริง
อย่างไรก็ตาม นายวินิช ปัจจุบันทำงานอยู่ที่สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี จังหวัดระยอง โดยที่ผ่านมาเคยได้รับรางวัลจากการมุ่งมั่นพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ รางวัล CST High Impact Chemist Award จากสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทุนวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการประกวดงานวิจัย PTTGC Open Innovation Challenge หัวข้อ “Circular Thinking” เป็นต้น
ทั้งนี้ถือว่าการได้รับรางวัลดังกล่าวสามารถตอบสนองถึงวิสัยทัศน์ของ VISTEC ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และยังตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเชื่อว่าในอนาคตสถาบันฯ จะสามารถสร้างชื่อเสียงผ่านงานวิจัยและพัฒนาด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |