เศรษฐกิจไอดอล


เพิ่มเพื่อน    


    ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมากระแสไอดอล นักร้องวัยรุ่น ในประเทศไทย ได้เฟดตัวหายไปซักระยะ หลังจากบรรดาค่ายเพลงต่างๆ ประสบปัญหาทางธุรกิจ จนไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ 
    ส่งผลให้วัยรุ่นไทยต้องหันไปหาที่พึ่งทางใจใหม่ กับ ศิลปินเคป๊อปจากเกาหลี หรือนักร้องวัยรุ่นจากต่างประเทศ  จนกลายเป็นกระแสฟีเวอร์ ศิลปินจากเกาหลีมากวาดเงินค่าตัวพรีเซนเตอร์ อีเวนต์ และคอนเสิร์ต อย่างเป็นกอบเป็นกำในบ้านเรา 
    คำถามก็คือ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้กระแสนักร้องวัยรุ่นจากเกาหลีประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทย แต่ปัจจุบันนี้ฮิตไปทั่วโลก ถึงขนาดที่ชาวตะวันตก ทั้งจากยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ ก็หันมาคลั่งไคล้ ศิลปินเคป๊อปของเกาหลีกันจนหมด ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์ไม่ใช่น้อย ที่ชาวตะวันตกจะหันมาชอบเพลงทางฝั่งเอเชีย แต่เกาหลีทำสำเร็จมาแล้ว 
    โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จของเขาก็คือ การได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลอย่างจริงจังในการช่วยผลักดัน ส่งออกคอนเทนต์ความบันเทิง ทั้งในรูปแบบละคร (K-Drama) และศิลปินนักร้อง (K-pop) ตั้งแต่ช่วงต้นปี 1990 หรือที่รู้จักในนามคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี Korean Wave (Hallyu) นั้นเอง โดยในประเทศก็ถูกบุกเบิกมาด้วยซีรีส์ชื่อดัง อย่าง "แดจังกึม" ขณะที่นักร้องก็นำทัพด้วย เรน หรือ ดงบังชินกิ
    อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับในเรื่องการพัฒนาวงการเพลง ของเกาหลี ที่สร้างจุดขาย จนตีตลาดแตกไปทั่วโลก ด้วยศิลปินที่หน้าตาดี ดนตรีจังหวะสนุกสนาน และจุดขายที่สำคัญที่สุดก็คือ "ท่าเต้น"   
    ท่าเต้นคือจุดขาย ที่ทะลายกำแพง เรื่องข้อจำกัดของภาษาไปได้ทั้งหมด โดยหากลองเปิด Youtube ดู จะพบว่า บรรดาวัยรุ่นทั่วโลก นอกจากจะรอฟังเพลงใหม่จากไอดอลที่สนใจแล้ว เขายังจะรอดูท่าเต้นของแต่ละเพลง เพื่อที่จะนำไป เต้นคัฟเวอร์
    สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ไอดอลเกาหลีกลายเป็นที่ติดตามของคนทั่วโลก ก็คือเวทีการแสดงออกเรื่องความสามารถ ซึ่งในเกาหลีใต้จะมีรายการทีวีที่เป็นเวทีประกวดความสามารถของไอดอลทุกสัปดาห์และแทบทุกช่องก็จะมีรายการประเภทนี้อยู่  ทำให้ศิลปินแต่ละคนได้มีเวที ร้อง เต้น โชว์ ให้แฟนๆ ได้ติดตามตลอด ยังไม่นับรวมรายการทีวีของตัวเอง หรือการใช้ช่องทางโซเซียลมีเดียอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบให้เหล่าบรรดาแฟนคลับได้ติดตามโดยตลอด 
    ย้อนกลับมาประเทศไทยที่กระแสไอดอลเลือนหายไป กำลังจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยวงเกิร์ลกรุ๊ปสุดน่ารัก อย่าง BNK48 ซึ่งสำหรับไอดอลกลุ่มนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จากบรรดาแฟนคลับที่เรียกตัวเองว่า "โอตะ" ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นตลอด 
    โดยโมเดลของ BNK48 นำมาจากวงพี่อย่าง AKB48 จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีคอนเซ็ปต์ว่า "ไอดอลที่ทุกคนเข้าถึง"   โดย BNK48 ถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ของวงการบันเทิงไทย เพราะน้องๆ ในวง BNK48 ไม่ใช่ "ศิลปิน" และ "นักร้อง" แต่เป็น "ไอดอล" ซึ่งไม่ได้เลือกมาเพราะหน้าตา เสียงร้อง หรือการเต้น  แต่เลือกมาจากคนที่มี "เสน่ห์" พอคัดเลือกเสร็จค่อยมาฝึกหัด ซึ่งจะไม่เหมือนค่ายเพลงแบบเกาหลีที่ต้องฝึกหัดก่อนเดบิวต์
    ความต่างก็คือแฟนคลับของ BNK48 สามารถติดตามพัฒนาการของศิลปินที่ตัวเองชื่อชอบได้ตลอด โดยแฟนคลับ สามารถไปแวะเวียนหาน้องๆ ได้ตลอดที่ “BNK48 Digital Studio” ที่เอ็มควอเทียร์ หรือที่แฟนคลับเรียกตู้ปลา ซึ่งโมเดลดังกล่าวทำให้กลุ่มแฟนคลับขยายตัวเร็วมาก โดยเฉพาะอีเวนต์จับมือ จนตอนนี้สินค้าที่เกี่ยวกับน้องๆ BNK48 ผลิตออกมาขายดิบขายดี ฉีกกฎโมเดลธุรกิจไอดอลแบบในอดีตไปเลย
    ปัจจุบัน ไอดอล เกิร์ลกรุ๊ป ไทยไม่ใช่แค่ BNK48 แต่ทางค่าย LOVEiS ก็ร่วมกับโยชิโมโต้ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (ไทยแลนด์) สร้างไอดอลเกิร์ลกรุ๊ปวงใหม่ ‘Sweat16!’ ออกมาแข่งขันเช่นกัน
    อย่างไรก็ดี เนื่องจากน้องๆ ยังมีเวทีให้แสดงความสามารถทางสื่อหลักน้อยไป ถ้ามีช่องไหนจัดรายการประกวดไอดอล รับรองว่าตลาดไอดอลไทยจะกลับมาดุเดือดรุกเป็นไฟ เหมือนกับสมัยอาร์เอส แกรมมี่ คีตา แข่งกันเหมือนในอดีตแน่นอน. 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"