13 ต.ค. 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์หลังจากเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พ.ย.2564 โดยอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการ ซึ่งขอให้ติดตามรอดูในที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า แต่เบื้องต้นจะเป็นมาตรการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อเร่งกระตุ้นการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับนโยบายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจะใช้มาตรการตามนี้ไปก่อน
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.การคลัง กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่ได้กำชับให้คลังทำมาตรการอะไรเป็นพิเศษ เพราะการเปิดประเทศ เป็นไปตามแผนอยู่แล้ว ส่วนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทำให้เศรษฐกิจจะเปลี่ยน จะช่วยให้เกิดการบริโภค การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้ต้องรอประเมินสถานการณ์ก่อนแต่กระทรวงการคลังมีความพร้อมและเม็ดเงินที่จะดำเนินการได้ทันที
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ย. 2564 ว่า ความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 79 เพิ่มขึ้นจากระดับ 76.8 ในเดือนส.ค. 64 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนเม.ย. 64 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มลดลง ส่งผลให้ภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
สำหรับการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. นั้น มองว่า จะทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้ราว 10% ของจีดีพี แต่ปีนี้เหลือเวลาแค่ 2 เดือน ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ปรับเป้าจีดีพีเพิ่มขึ้นแล้ว
นายสุพริศร์ สุวรรณิก นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวในงาน PIER Research Brief ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง “โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย : ความเปราะบางท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” ว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในบริบทโลกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม โดยงานวิจัยครั้งนี้ได้ฉายภาพ 5 ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทยที่ต้องเผชิญจากความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่ 1.ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 2. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่อาจทำให้ไทยตกขบวนรถไฟได้ หากปรับตัวไม่ทัน 3. ภาวะโลกร้อนจะส่งผลต่อไทยหากไม่เร่งปรับตัว 4. การเข้าสู่สังคมสูงอายุน 5. วิกฤตโควิด-19 สร้างแผลเป็นต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยที่เพิ่มขึ้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |