เร่งแก้จุดอ่อน หนุนเสถียรภาพศก.ไทย


เพิ่มเพื่อน    

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะนี้เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น รัฐบาลได้คลายล็อกบางส่วน ทำให้เศรษฐกิจเริ่มขยับฟื้นตัว แม้ว่าทุกอย่างเริ่มไปในทิศทางที่ดี แต่ก็ต้องยอมรับว่าระยะเวลาร่วม 2 ปีที่เกิดการแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก การเดินทาง เศรษฐกิจหยุดชะงัก สำหรับประเทศไทยนั้นโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย การดำเนินชีวิต และภาคอุตสาหกรรมที่รายได้หดหาย บางรายถึงกับต้องเลิกรากิจการไป บางรายก็ถูๆ ไถๆ พอประคองธุรกิจให้อยู่ได้ไปวันๆ
    ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ได้ประเมินว่า ขณะนี้ความน่ากังวลเรื่องการระบาดโควิด-19 จะเริ่มลดลง หลังทยอยเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นในไตรมาส 4/2564 บนเงื่อนไขที่ว่าจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศระลอกใหม่จนต้องกลับมาปิดพรมแดนและปิดเมืองอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาต้นทุนค่าระวางสินค้าทางเรือแพง และคาดว่าจะส่งผลต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่จะลดความรุนแรงลงหลังจากที่หลายประเทศทยอยกลับมาเปิดกิจกรรมขนส่งทางเรือในระดับใกล้เคียงปกติ
    และยังมองว่า แม้หนี้สาธารณะของไทยจะเพิ่มขึ้นและส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว แต่ต้นทุนการระดมทุนหรืออัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ หากในอนาคตเศรษฐกิจไทยเดินหน้าได้เร็วขึ้นหนี้สาธารณะก็จะลดลงไปตามความจำเป็นในการก่อหนี้ที่น้อยลง และความสามารถในการชำระคืนหนี้ของภาครัฐที่ทยอยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการที่ภาครัฐเป็นหนี้เพิ่มจึงไม่น่ากังวล หากภาครัฐนำไปใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้พร้อมแข่งขันในยุคหลังวิกฤตโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีแผนบริหารจัดการหนี้ให้ทยอยลดลงอย่างชัดเจนในระยะต่อไป
    นอกจากนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ยังระบุว่า เมื่อมองในระยะยาวเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังมีอยู่หลายจุดที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไข เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาภาคบริการสูงเกินไป ซึ่งเป็นภาคที่จ้างแรงงานมากและมักผันผวนได้ง่ายเมื่อเกิดปัจจัยไม่คาดฝัน การผลิตเพื่อส่งออกของไทยยังอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัยค่อนข้างน้อย และยังสามารถคิดค้นเทคโนโลยีเองได้จำกัด ส่งผลให้สินค้าไทยกำลังทยอยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งหมายถึงรายได้จากการค้าต่างประเทศที่จะขยายตัวลดลงในอนาคต
    เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่ผ่านมา การท่องเที่ยวไทยยังสร้างมูลค่าเพิ่มได้น้อยเพราะเน้นพึ่งพานักท่องเที่ยวเชิงปริมาณ แต่ไม่ใช่ในเชิงคุณภาพ ดังนั้นหลังยุคโควิด-19 ธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงในด้านแรงงานเองก็ต้องเร่งฝึกทักษะใหม่ๆ เช่นกัน
    ดังนั้น โดยรวมแล้วแม้ไทยจะมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดีในปัจจุบัน แต่หากไม่เร่งแก้ไขจุดอ่อนในด้านทักษะแรงงานและปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน ย่อมทำให้เศรษฐกิจไทยรองรับความผันผวนได้น้อยลง และยังลดทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เช่นเดียวกับภาคเอกชน หากไม่เร่งเพิ่มความสามารถในแข่งขันก็อาจเผชิญกับข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นจากวิถีการแข่งขันในอนาคตและกติกาในตลาดโลกยุคใหม่
    อย่างไรก็ตาม ดูผิวเผินเหมือนเศรษฐกิจได้จะเริ่มฟื้นตัว แต่ ณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน กลับมองว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 ติดลบ 1% แนวโน้มเงินบาทจะยังคงอ่อนค่าลง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนั้นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความกังวลก่อนที่จะผ่านปี 64 คือ ความกังวลต่อการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตา หนี้สะสมของภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน และเสถียรภาพทางด้านการเมือง
    นอกจากนี้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยต้องเน้นที่คุณภาพมากกว่าจำนวน จะเหมือนกับช่วงก่อนการระบาดโควิด-19 คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจำนวนแรงงานภาคการท่องเที่ยวส่วนหนึ่งซึ่งเป็นแรงงานส่วนเกินจำเป็นต้องออกจากภาคการท่องเที่ยว และต้องได้รับการเพิ่มทักษะหรือปรับเปลี่ยนความถนัดเพื่อโยกย้ายไปสู่ภาคธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมอื่นๆ และแรงงานอีกส่วนหนึ่งจะโยกย้ายกลับภูมิลำเนาเพื่อเข้าสู่ภาคเกษตรกรรม โดยต้องพัฒนาให้กลายเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ (smart farmer) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไป.

บุญช่วย  ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"