ลุยอีกสักตั้ง


เพิ่มเพื่อน    

 

  ประเด็น "โทษประหารชีวิต" ควรจะ "มีต่อไป" หรือควรจะ "ยกเลิกไป"????
    ยังคงเป็นประเด็นข้อถกเถียงกันไปอีกพักใหญ่ และน่าจะหาข้อยุติกันไม่ได้ง่ายๆ เพราะแต่ละฝ่ายก็มีเหตุ มีผล มีมุมมองที่แตกต่างกันไป 
    แต่กระนั้น "โทษประหารชีวิต" ที่ถูกจุดกระแสขึ้นหลังจากกรมราชทัณฑ์ดำเนินการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ หลงจิ อายุ 26 ปี ที่ใช้มีดแทงนักเรียนชั้น ม.5 ถึง 24 แผล จนเสียชีวิตเพื่อชิงทรัพย์ ภายในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 95  (เขาแปะช้อย) เทศบาลนครตรัง อ.เมืองตรัง เมื่อวันที่ 17 ก.ค.55
    ยังช่วยจุดกระแสคดีฆ่าชิงทรัพย์นักเรียนชั้น ม.5 ให้ฟื้นกลับมาเป็นที่สนใจของสังคม และเป็นที่จับตาอีกครั้ง 
    โดยเฉพาะประเด็น "ผู้ก่อเหตุ" ในคดีนี้ไม่ได้มีแค่ "นักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ หลงจิ" เพียงแค่คนเดียว!!!!
    นางยุคล สุขมาก แม่ของนักเรียนชั้น ม.5 เหยื่อผู้เสียชีวิต บอกว่าต้องประสบกับความทุกข์ทรมานมากว่า 6 ปี เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ครอบครัวตัวเอง พร้อมต่อสู้เต็มที่จะร่วมกับตำรวจล่าคนร้ายที่เหลือมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้ แม้คนร้ายที่ลงมือฆ่าบุตรชายจะถูกประหารชีวิตไปแล้ว ในความรู้สึกลึกๆ ยังไม่หมดและไม่จบลงไป
     เพราะคนที่ลงมือฆ่าลูกยังมีอีก!!!!
    "วันที่เกิดเหตุโรงเรียนปิดเพื่อเตรียมสอบ ลูกชายก็มากรีดยางพาราตามปกติ ต่อมาได้ออกจากบ้านไปกับญาติที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน บอกพ่อว่าขอไปธุระข้างนอก กระทั่งได้รับโทรศัพท์ว่าลูกโดนแทงเสียชีวิตแล้ว ญาติที่ออกไปด้วยกันเล่าว่า ตอนที่อยู่ด้วยกันแฟนสาวของบุตรชายคบกันไม่เกิน 6 เดือนโทรศัพท์เข้ามาหากว่า 50 สายเร่งให้ออกไปพบ ส่วนตัวคิดว่าทำไมถึงเร่งให้ออกไปขนาดนั้น หรือเป็นการวางแผนเพื่อลวงน้องไปฆ่า ดังนั้นคิดว่าน่าจะเป็นจิกซอว์ตัวสำคัญที่จะตามล่าคนร้ายที่เหลือมาได้" 
    นี่คือปมข้อสงสัย นี่คือปมคาใจของแม่นักเรียนชั้น ม.5 ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจน่าจะเป็นผู้ไขข้อข้องใจ  ไขปมสงสัยให้ครอบครัวเหยื่อสบายใจ
    แม้คดีจะผ่านมาแล้ว 5-6 ปี แต่เชื่อว่าหากตำรวจไทยตั้งใจทำกันจริงๆ ไม่น่าจะมีอะไรที่ทำไม่ได้  ยกเว้นไม่ทำมากกว่า
    คงไม่ต้องสาวย้อนไปถามว่าช่วงตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน แม้ตำรวจจะจับคนร้ายไปแล้ว 1 คน  ทำไมถึงไม่ไปจับกุมคนร้ายที่เหลืออีก เพราะพยานและผู้เห็นเหตุการณ์บอกไม่ได้มีผู้ต้องหาเพียงคนเดียว เพราะไม่มีประโยชน์โพดผลใดที่จะมานั่งฟื้นฝอยหาตะเข็บให้เสียความรู้สึกกันเปล่าๆ
    เอาเป็นว่าเมื่อ "เจ้าทุกข์" ยังเชื่อและมั่นใจมีผู้ร่วมก่อเหตุมากกว่านักโทษเด็ดขาดที่ถูกประหารชีวิตไปแล้ว รวมทั้งอายุความของคดีก็ยังไม่มีหมด "เจ้าหน้าที่ตำรวจ" ในฐานะผู้รักษากฎหมายบ้านเมือง ในฐานะต้นธารกระบวนการยุติธรรม 
    ลองสืบสวนสอบสวนกันอีกสักตั้ง ถ้ามีพยานหลักฐานชัดเจนก็จับผู้ต้องหามาดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือถ้าติดขัดประการใดหากทำเต็มที่แล้ว
    พ่อแม่ผู้เสียหายย่อมเข้าใจ.
    
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"