10 ต.ค. 2564 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ตามดูปัญหาปากท้องประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,100 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 9 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.0 กังวลมากถึงมากที่สุดเรื่องปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ หลังจากเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ ร้อยละ 20.9 กังวลปานกลาง ร้อยละ 6.1 กังวลน้อยถึงไม่กังวลเลย
เมื่อถามถึงความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 49.5 ระบุด้านค่าครองชีพ ของกินของใช้ และสาธารณูปโภค ต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุ ด้าน แหล่งเงินทุน และช่วยภาคธุรกิจ ในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าขนส่ง ต้นทุนการผลิต และการส่งออก เป็นต้น และร้อยละ 2.3 ระบุอื่น ๆ
ที่น่าพิจารณาคือ จากปัญหาน้ำท่วมประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยด้านต่าง ๆ มากที่สุด ได้แก่ ร้อยละ 45.6 ระบุ ช่วยเรื่องรายได้ ที่กระทบจากปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 25.5 ระบุ เรื่องที่อยู่อาศัยและพืชผลการเกษตรเสียหาย ร้อยละ 25.2 ระบุ เรื่อง อาหาร และถุงยังชีพ และร้อยละ 3.7 ระบุ อื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความพอใจต่อนโยบายของรัฐบาล เรื่อง แก้ปัญหาปากท้องและค่าครองชีพใน 3 อันดับแรก พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.2 พอใจโครงการ คนละครึ่ง ร้อยละ 83.6 พอใจโครงการ ช่วยเหลือเยียวยา ทุกกลุ่ม ผ่าน อบต. และการปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ และร้อยละ 65.4 พอใจ โครงการ เราเที่ยวไปด้วยกัน
นอกจากนี้ ความต้องการของประชาชนให้รัฐบาลช่วยหลังสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.6 ระบุ การพักชำระหนี้กับสถาบันการเงิน และธนาคาร ร้อยละ 91.3 ระบุ ช่วยลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และอื่น ๆ ไปถึงสิ้นปี ร้อยละ 88.5 ระบุ ลดหย่อนภาษี เว้นภาษีนิติบุคคล ตามเกณฑ์เหมาะสม และร้อยละ 79.2 ระบุ ช่วยธุรกิจขนาดกลางและย่อม ตามลำดับ
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่า หลังวิกฤตโควิดเริ่มคลี่คลาย ต่อด้วยปัญหาถาโถมจากอุทกภัยและน้ำมันขึ้นราคา ส่งผลกระทบความกังวลประชาชนตรงต่อปัญหาปากท้องและค่าครองชีพมากขึ้น ที่ต้องการให้รัฐบาลตอบสนองช่วยเหลือ เช่น การลดภาษี การพักชำระหนี้จากสถาบันการเงินและการเข้าถึงแหล่งทุน การลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันและค่าบริการอื่นๆไปถึงสิ้นปี และขณะเดียวกันพอใจระดับสูงและต้องการให้รัฐบาลสานต่อกับโครงการคนละครึ่ง การเที่ยวไปด้วยกันและโครงการริเริ่มอื่นๆมากขึ้น ส่งเสริมเยียวยาประชาชนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผ่านท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งเข้าช่วยเหลือการเข้าถึงแหล่งทุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น เพื่อการฟื้นตัวปัญหาเศรษฐกิจปากท้องไปพร้อมๆกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |