22 มิ.ย.61-ที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการจัดงานวันสถาปนาครบรอบ 76 ปี โดยมีนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานในพิธี วางพานพุ่มสักการะพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อรำลึกถึงพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์พระบิดาผู้ให้กำเนิดกิจการอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย มีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิทัลฯ และกรมอุตุนิยมวิทยา เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
นายวันชัย ศักดิ์อุดมชัย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวเนื่องในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 76 ปี กรมอุตุนิยมวิทยา ว่า ในก้าวต่อไปกรมอุตุฯ ยังสามารถดึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้พัฒนาศักยภาพอุปกรณ์พยากรณ์อากาศของประเทศได้อีกมากในอนาคต เนื่องจากระบบคลังข้อมูลหรือดาต้าในปัจจุบันมีความรวดเร็วมากขึ้น และเชื่อมโยงข้อมูลด้านสภาพอากาศได้จากทั่วโลก ต่างจากในอดีตที่ยังล่าช้าอยู่ทำให้การพยากรณ์อาจจะล่าช้าตาม ตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( WMO) ในการสนับสนุนภาพถ่ายดาวเทียมจากญี่ปุ่น ช่วยให้ไทยสามารถพยากรณ์อากาศได้ทุก 10 นาที จากเดิมใช้เวลาพยากรณ์ทุกชั่วโมง โดยในอนาคตจะทำข้อตกลงเพิ่มเติมในช่วงเกิดวิกฤติ จะขอใช้ดาวเทียมถี่มากขึ้นเป็นทุก 2 นาที ซึ่งจะช่วยให้การพยากรณ์อากาศมีความแม่นยำมากขึ้น และเจาะจงพื้นที่ได้ชัดเจนมากขึ้น บอกรายละเอียดลงลึกถึงระดับตำบล
"ความคืบหน้า การพยากรณ์อากาศในระดับตำบล ได้เปิดให้ใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น TMD Smart sim บนโทรศัพท์ที่ต้องระบุพิกัดสถานที่ ท่านอยู่ที่ไหนก็ล็อคอินเข้าระบบ มันก็จะพยากรณ์ในตำบลที่ท่านอยู่ว่าเป็นยังไง ฝนจะตกเมื่อไหร่ มีพยากรณ์เป็นรายชั่วโมง พยากรณ์ล่วงหน้า 7 วัน ในอนาคตเราก็พยายามจะพัฒนาให้พยากรณ์ได้ล่วงหน้า 15 วัน ทำให้มันแม่นยำขึ้น ถ้ามีข้อมูลวิเคราะห์มากขึ้น ซึ่งการพยากรณ์อากาศลงมาถึงระดับตำบลเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะข้อมูลที่กรมมีอยู่ในสถานีต่างๆ มันไม่ถึงระดับตำบล มันเป็นรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นการลงระดับตำบลอาจต้องใช้ข้อมูล จากส่วนต่างๆ เช่น การประมาณการ จากดาวเทียม และอีกหลายอย่างฯลฯ ตรงนี้กำลังพยายามแก้เหมือนกัน” อธิบดี กล่าว
เมื่อถามถึงความแม่นยำในการพยากรณ์อากาศของไทย เทียบเท่ากับต่างประเทศได้มากน้อยแค่ไหน นายวันชัย กล่าวต่อว่า ในทุกประเทศไม่ว่าประเทศนั้นจะเจริญแล้วหรือยังไม่เจริญก็ตาม ถ้าอยู่ในประเทศเขตร้อนเหมือนไทย จะมีความแม่นยำที่ใกล้เคียงกัน เต็มที่ก็ประมาณ 75 – 78 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเทียบเท่าศักยภาพใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกาในเขตรัฐตอนล่าง แถวแคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา ที่มีความแม่นยำประมาณ 80กว่าเปอร์เซ็นต์ ยกเว้นในโซนเขตหนาว เราอาจจะด้อยกว่าเล็กน้อย เพราะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศน้อยกว่าโซนเขตร้อน
ทั้งนี้ในส่วนการสร้างความรู้กับประชาชนในเรื่องของการดูแลตนเองจากภัยธรรมชาติ อธิบดีกรมอุตุฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา อย่างกระทรวงศึกษาธิการ ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา หรืออังกฤษ เขาสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องอุตุฯ เบื้องต้น ตั้งแต่ประถม เช่น สึนามิคืออะไร ฝนตกแบบไหน พายุคืออะไร แต่ในไทย อุตุฯ เป็นวิชาเลือกในการศึกษา ซึ่งบางคนไม่เลือกเรียนด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นจึงมีความแตกต่างกับต่างประเทศ ก็อยากจะผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุวิชาอุตุฯ เข้าไปไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของเยาวชน เช่น วิชา สปช. เพื่อสร้างเสริมให้มวลชน หรือเด็กได้ความรู้ในการปรับตัวกับภัยธรรมชาติที่จะรุนแรงขึ้นทุกวัน
อธิบดี ยังเผยอีกว่า ในส่วนของสภาพอากาศช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝนอาจจะลดลง จากช่วง 2-3 วัน ที่ผ่านมา คาดว่าปลายเดือนนี้อาจจะมีลักษณะของฝนทิ้งช่วงในเวลาสั้นๆ ประมาณ 5-10 วัน หรือประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน- ตอนล่าง และอีสานตอนกลาง มีลักษณะของฝนทิ้งช่วง แต่ไม่รุนแรง เพราะช่วงที่ผ่านมาฝนตกค่อนข้างดีและต่อเนื่อง เหมาะกับคนที่จะซ่อมแซมหลังคาบ้าน หรือคนที่ผลิตพืชผลทางการเกษตรที่อยากจะหลีกเลี่ยงจากความชื้น แต่ถ้าฝนมา อาจจะต้องระวังลักษณะของฝนช่วงบ่าย และค่ำในบางพื้นที่ จากโมเดลที่เราคาดมา ในช่วงต้นฤดู ฝนจะมีปริมาณมาก ช่วงส.ค.-ก.ย. แต่พอครึ่งหลังฝนจะซาลงไปอีก ซึ่งปีนี้ฝนไม่มากเท่าปีก่อน มีตกบ้าง ไม่ตกบ้างสลับกัน แต่ก็ห่วงว่าอาจจะมีพายุเข้ามา ปีนี้น่าจะมีพายุ 1-2 ลูก
"ค่าเฉลี่ยปีนี้เป็นปีปกติ ไม่มีอะไรร้ายแรง พายุที่อาจจะมาไม่ได้เป็น เอลนีโญ ลานีญา แต่ถ้ามาต่อให้พื้นที่ที่ไม่มีพายุเข้า ก็จะดึงลมเข้ามาแรงขึ้น ฝนก็จะเพิ่มขึ้นในช่วงนั้นด้วย แต่เท่าที่ดูล่าสุดตอนนี้ยังไม่มีพายุไหนที่ก่อตัวใกล้เคียงในเขตบ้านเรา ส่วนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 21-22 มิ.ย.คลื่นลมทะเลในอันดามันลดลงเหลือประมาณ 2 เมตร ก็จะต้องรอระลอกใหม่ ถ้ามีเมื่อไหร่ก็จะประกาศให้ทราบ" อธิบดีกล่าวทิ้งท้าย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |