อัปเกรดตุ๊กๆไฟฟ้า


เพิ่มเพื่อน    

ปัจจุบันประเทศไทยที่กำลังมุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ให้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะเข้ามาผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ สนับสนุนทางด้านแรงงาน และความเป็นอยู่ของคนในชาติ รวมทั้งยังเสริมแกร่งให้กับผู้ประกอบการจนสามารถแข่งขันแบบทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ในตลาดโลกได้ ซึ่งก็มีอยู่หลายด้านที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพัฒนาจนกลายเป็นวาระแห่งชาติ หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยเฉพาะยานยนต์แห่งอนาคต หรือรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี)
    ที่ตอนนี้กำลังได้รับความนิยมในหลายๆ ประเทศทั้งฝั่งอเมริกา ยุโรป หรือในเอเชียเองด้วย ด้วยเหตุนี้การที่จะเร่งสนับสนุนให้อุตสาหกรรมรถอีวีเกิดขึ้นในประเทศก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนั่นหมายถึงการเพิ่มโอกาสให้กับการลงทุนของเอกชน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ และยังตอบสนองกับความต้องการของตลาดไปพร้อมๆ กัน โดยที่ผ่านมาจึงได้มีการกำหนดแนวทางการผลักดันเรื่องนี้ออกมาเป็นระยะ พร้อมกับความร่วมมือของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเริ่มจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นแล้ว
    และล่าสุดด้วยความที่ประเทศไทยเองมักจะเป็นประเทศที่มีแนวคิดไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมถึงการไม่ทิ้งอัตลักษณ์ของประเทศได้จึงเกิดการนำทั้ง 2 อย่างมารวมกัน จนเกิดการพัฒนารถตุ๊กๆ ไฟฟ้าขึ้นมา โดยมีการนำร่องมากว่า 2 ปีแล้ว และล่าสุดนี้ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกมาเปิดเผยว่า สถาบันยานยนต์ (สยย.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะผู้จัดทำร่างมาตรฐานรถตุ๊กๆ ไฟฟ้า 
    ได้ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำร่างมาตรฐานรถตุ๊กๆ ไฟฟ้า (มอก.3264-2564) และร่างมาตรฐานด้านยานยนต์อัจฉริยะอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ขึ้น โดยยึดหลักมาตรฐานอียู 168/2013 อ้างอิงในการจัดทำ เพื่อให้รถตุ๊กๆ ตามมาตรฐานนี้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสากล ส่งเสริมให้ไทยมุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตรถอีวีของโลก และยังเป็นการตอบโจทย์การใช้งานในประเทศในรูปแบบที่หลากหลาย และสร้างเอกลักษณ์ที่สำคัญให้กับประเทศอีกด้วย
    สำหรับมาตรฐานรถตุ๊กๆ ไฟฟ้ากำหนดคุณสมบัติที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านความปลอดภัย สมดุลการเข้าโค้ง ต้องไม่ลื่นไถลออกนอกโค้ง เมื่อขับขี่เข้าโค้งที่รัศมีโค้ง 3 เมตร ด้วยความเร็วเข้าโค้งที่ (20+1) กิโลเมตร/ชั่วโมง, ระบบเบรก ต้องมีระยะเบรกไม่เกิน 20.09 เมตร และไม่พลิกคว่ำหรือลื่นไถลออกนอกช่องทางที่กำหนด เมื่อขับขี่ด้วยความเร็ว 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้แรงเบรกที่เท้าไม่เกิน 500 นิวตัน, การเบรกขณะจอดบนพื้นลาดเอียงต้องหยุดนิ่งได้มากกว่า 60 วินาที โดยไม่ลื่นไถลลงบนพื้นลาดเอียงที่ 12% เมื่อใช้แรงดึงเบรกมือไม่เกิน 200 นิวตัน 
    ขณะที่ความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าต้องมีเกณฑ์การปล่อยสัญญาณรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และภูมิคุ้มกันต่อการรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นไปตามที่กำหนด ส่วนด้านลักษณะทั่วไป ขนาด ต้องมีความยาวไม่เกิน 4,000 มิลลิเมตร ความกว้างไม่เกิน 2,000 มิลลิเมตร ความสูงไม่เกิน 2,000 มิลลิเมตร และความสูงภายในไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร โครงสร้างต้องมั่งคงแข็งแรง ที่นั่งทุกที่นั่งต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย, มวลรถเปล่า ต้องไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม, มอเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีกำลังพิกัดมอเตอร์ไม่น้อยกว่า 4 กิโลวัตต์
    ส่วนสมรรถนะเสถียรภาพการใช้งาน ต้องขับขี่ได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 30 นาที ที่ความเร็วมากกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อการประจุพลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรี่ 1 ครั้ง, ความเร็วสูงสุด ต้องมีความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่าที่ผู้ทำกำหนด ระยะทางขับขี่ ต้องขับขี่ได้ไม่น้อยกว่าระยะทางที่ผู้ทำกำหนดต่อการประจุพลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรี่ 1 ครั้ง และจะต้องมีมาตรฐานที่ดีในด้านการป้องกันน้ำ เมื่อนำรถตุ๊กๆ ไปวิ่งฟรีอยู่กับที่ในน้ำที่ระดับความสูงของน้ำ 30 เซนติเมตรด้วย
    เชื่อว่าอีกไม่นานนี้การพัฒนารถตุ๊กๆ ไฟฟ้าก็น่าจะสมบูรณ์ 100% จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในสังคม ส่วนหนึ่งก็จะเป็นการตอบสนองนโยบายรถอีวีต่อไป อีกส่วนน่าจะเป็นการส่งเสริมการใช้งานรถตุ๊กๆ ในประเทศให้คงอยู่ แต่พัฒนารูปแบบไปเป็นไฟฟ้าที่มีคุณภาพเพื่อต่อยอดสู่ตลาดโลกตามนโยบายของประเทศ. 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"