4 จว.ชายแดนใต้ ติดเชื้อพุ่งไม่หยุด-ลังเลฉีดวัคซีน 'จุฬาราชมนตรี' แจ้งปชช.ขอให้มั่นใจฉีดได้


เพิ่มเพื่อน    

6 ต.ค.64 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่  9,866 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ  9,805 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 8,797 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน  1,008 ราย จากเรือนจำและที่ต้องขัง 45 ราย และเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 16 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 1,667,097 ราย ผู้หายป่วยเพิ่ม 10,115 ราย ยอดรวมหายป่วยสะสม ตั้งแต่ปี 63 จำนวน1,541,770 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 108,022 ราย อาการหนัก 3,017 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 720 ราย

เสียชีวิตเพิ่ม 102 ราย เป็นชาย  51 ราย หญิง 51 ราย เป็นผู้อายุ 60 ปีขึ้นไป 73 ราย มีโรคเรื้อรัง22 ราย จังหวัดที่เสียชีวิตมากที่สุดคือ กทม. ทำให้ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตสะสม ตั้งแต่ปี 63 จำนวน 17,305 ราย ส่วนสถานการณ์โลกมีผู้ป่วยสะสม 236,593,653 ราย เสียชีวิตสะสม 4,831,604 ราย 

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า โดย 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 1,208 ราย สงขลา666 ราย สมุทรปราการ 602 ราย ชลบุรี 601 ราย นราธิวาส 501 ราย ยะลา 446 ราย ระยอง 379 รายปราจีนบุรี 313 ราย ปัตตานี 309 ราย และนครศรีธรรมราช 259 ราย

โดยภาพรวมของทั้งประเทศถือว่าลดลง แต่ในส่วนของจังหวัดชายแดนภาคใต้มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้น โดยวันนี้มีถึง 1,922 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 ของผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ โดยในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศปก.ศบค.) ผู้บริหารของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มาเรียนนำเสนอสถานการณ์ต่อที่ประชุมด้วยตัวเอง อาทิ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สงขลา ระบุว่าการติดเชื้อในพื้นที่ก่อนหน้านี้ 2 สัปดาห์กว่าๆผู้ติดเชื้อยังอยู่ที่ประมาณ 200 ราย แต่วันนี้ผู้ติดเชื้อ 666 ราย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรม วัฒนธรรม ของประชาชนที่นั่งคุยจิบน้ำชายามเช้าโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย รวมถึงกิจกรรมศาสนา ประเพณี ทำให้ช่วงนี้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังคงอยู่ในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกกำกับดูแลการควบคุมโรค

หลังจากนี้ทั้ง 4 จังหวัดจะประชุมร่วมกัน โดยเน้นย้ำหาผู้ป่วยได้เร็ว เพื่อคัดแยกออกจากชุมชนและครอบครัว ขณะที่การบริหารทรัพยากรในการดูแลประชาชนในพื้นที่ทำได้อย่างดีเยี่ยม หน่วยงานภาครัฐได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานเอกชนในพื้นที่อีกปัจจัยที่จะช่วยในการควบคุมโรคคือการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีการระดมเดินเท้าฉีดในชุมชน แต่มีประชาชนให้ข้อมูลกลับมาว่ามีการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนในชุมชน ทำให้เกิดการลังเลไม่กล้าฉีดวัคซีน ซึ่งล่าสุด นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ได้กรุณาแจ้งกับประชาชนว่าการฉีดวัคซีนสามารถฉีดได้ มีความจำเป็นขอให้ประชาชนเชื่อมั่น จึงขอสื่อมวลชนช่วยเป็นกระบอกเสียงทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"