6 ต.ค.2564 - สืบเนื่องจากมติมหาเถรสมาคม (มส.) ประชุมกันเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา โดยมีวาระจรเข้าที่ประชุมแจ้งเพื่อทราบ กรณีแต่งตั้งพระสังฆาธิการ จำนวน 30 รูป และมีการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัด 3 รูป คือ พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ฝ่ายมหานิกาย) พระเทพสารเมธี เจ้าคณะจังหวัด กาฬสินธุ์ (ฝ่ายธรรมยุต) และ 3 พระราชปรัยัติสุนทร เจ้าคณะจังหวัด ฉะเชิงเทรา (ฝ่ายมหานิกาย) และในวาระเดียวกัน ยังมีการแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดขึ้นมาแทน โดยไม่แจ้งสาเหตุที่สำคัญ ทั้งนี้ ในส่วนจังหวัดนครพนม ก็มีข่าวลือว่ามีมติแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดนครพนมซ้อนทับรูปเดิมด้วย
ล่าสุด วันที่ 6 กันยายน 2564 ว่าที่ร้อยตรี ดร.จุลสัน ทันอินทร์อาจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครพนม ออกมาสยบข่าวลือดังกล่าวโดยเปิดเผยรายละเอียดว่า “การแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดเป็นบทบาทหน้าที่ของการปกครองของฝ่ายสงฆ์ ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาของเรามิอาจจะก้าวล่วงได้ สำนักงานพระพุทธศาสนาเราตั้งขึ้นมาเพื่อสนองงานพระสงฆ์ ไม่มีบทบาทหน้าที่ที่จะเข้าไปกำกับดูแลหรือวิพากษ์วิจารณ์ แต่ในเคสที่มีการสั่งปลดอะไรต่างๆ 3 จังหวัด โดยมีจังหวัดฉะเชิงเทรา ปทุมธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์ ก็เป็นเรื่องบทบาทหน้าที่ของสงฆ์เอง
ในส่วนของนครพนมนั้นไม่มีปัญหาอะไร อย่างพระเทพวรมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมฯ ท่านก็อายุถึง 80 ครบ 81 แล้ว ก็จะต้องตั้งให้เป็นที่ปรึกษา ซึ่งท่านก็เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 ไม่ใช่ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด เพราะว่าประสบการณ์ในการทำงานมากกว่าระดับจังหวัดแล้ว จะต้องเป็นระดับภาคขึ้นไป จากนั้นเมื่อท่านได้ยกฐานะขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 ท่านก็จะต้องแต่งตั้งรักษาการทันที เพื่อไม่ให้งานคณะสงฆ์เกิดเกียร์ว่าง หรือเกิดช่องว่างในช่วงระหว่างของการแต่งตั้ง ดังนั้นในวันที่แต่งตั้งของวัดพระธาตุพนมฯ ที่ปรึกษาคณะภาค 10 ก็จะต้องมีการแต่งตั้งรักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดทันที ก็คือเจ้าคุณเพชรหรือพระราชสิริวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสว่างสุวรรณาราม เขตเทศบาลเมืองนครพนม เพราะว่าท่านก็เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเป็นรองก็จะต้องขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัด โดยเป็นรักษาการไว้ก่อนพอรักษาการเสร็จ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางมหาเถรสมาคมก็มีมติแต่งตั้งพระราชสิริวัฒน์ วัดสว่างสุวรรณาราม ขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ดังนั้นการแต่งตั้งไม่ได้เป็นอย่างที่ลือกันแต่อย่างใด” ผอ.สนง.พระพุทธศาสนาฯ กล่าว
นอกจากนี้ ผอ.สนง.พระพุทธศานาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภารกิจสำคัญในตอนนี้ที่ต้องลงมือทำทันที คือ การออกสำรวจวัดต่างๆในพื้นที่ว่ามีโฉนดที่ดินแล้วหรือยัง เนื่องจากก่อนมารับตำแหน่ง ผอ.สนง.พระพุทธศานาฯ ทราบว่ามีวัดทั้งที่ยังพระจำพรรษาและวัดร้างจำนวนมาก ไม่มีโฉนดที่ดินครอบครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้มีชาวบ้านบางคนเข้าไปรุกล้ำแล้วไปยื่นขอออกโฉนดยึดที่ดินวัดมาเป็นของตนเอง จนกลายเป็นเรื่องพิพาทกันมายาวนานหลายสิบปี ณ ขณะนี้ได้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม รังวัดออกโฉนดให้กับวัดไปแล้วประมาณ 30 กว่าแห่ง
ผอ.สนง.พระพุทธศาสนา กล่าวต่อว่า กรณีวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้รับการเสนอชื่อขึ้นเป็นมรดกโลก ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก ตนจึงได้ตรวจสอบแนวเขตที่ตั้งของวัดพระธาตุพนมฯ ในระบบแอปพลิเคชันของกรมที่ดิน ปรากฏว่าไม่พบแนวเขตที่ตั้งวัดพระธาตุพนมฯอยู่ในระบบดังกล่าว จึงประสานไปยังกรมที่ดินเพื่อให้ลงแนวเขตที่ตั้งวัดพระธาตุพนมฯจำนวน 100 กว่าไร่ด้วย เพราะหากคณะกรรมการมรดกโลกตรวจสอบแนวเขตที่ตั้งของวัดแล้วไม่พบอยู่ในระบบ อาจจะเป็นปัญหาในการขึ้นเป็นมรดกโลกได้ ซึ่งทางกรมที่ดินก็จะเร่งดำเนินการตามที่ตนร้องขอไว้เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ในจังหวัดนครพนม มีวัดฝ่ายมหานิกาย 706 แห่งและฝ่าย ธรรมยุต 90 แห่ง รวมทั้งสิ้น 796 แห่ง แยกเป็นอำเภอเมืองฯ 134 แห่ง,ธาตุพนม 81 แห่ง,ท่าอุเทน 89 แห่ง,นาแก 88 แห่ง,วังยาง 29 แห่ง,บ้านแพง 52 แห่ง,นาทม 21 แห่ง,ศรีสงคราม 66 แห่ง,ปลาปาก 62 แห่ง,เรณูนคร 66 แห่ง,นาหว้า 53 แห่ง, และอำเภอโพนสวรรค์ 55 แห่ง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |