‘หมอธีระ’เสนอ2งานวิจัยโควิดที่น่าสนใจ


เพิ่มเพื่อน    

6 ต.ค.2564 -  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 394,248 คน ตายเพิ่ม 7,191 คน รวมแล้วติดไปรวม 236,554,407 คน เสียชีวิตรวม 4,830,367 คน 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร ตุรกี รัสเซีย และบราซิล จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.8 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 91.05 

...สำหรับสถานการณ์ไทยเรา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 9,869 คน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แต่หากรวม ATK อีก 3,495 คน จะสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย เป็นรองเพียงตุรกีและอินเดีย แต่หากดูเฉพาะอาเซียน จะเป็นอันดับ 1 

...อัพเดตงานวิจัยที่น่าสนใจ หนึ่ง สำหรับคนที่อยากทบทวนว่าไวรัสโควิด-19 ติดเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง  Kristie MJ และคณะ จากออสเตรเลีย ได้ตีพิมพ์บทความวิชาการทบทวนเกี่ยวกับปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโควิด-19 (SARS-CoV-2 virus) กับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคน เปรียบเทียบกับค้างคาว บทความนี้เขียนได้ดีมาก เผยแพร่ใน Science Immunology ฉบับวันที่ 17 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เหมาะสำหรับน้องๆ ม.ปลาย ที่สนใจชีววิทยา นักเรียนแพทย์ทั้งปรีคลินิกและคลินิก รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ครับ จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นมาก 

สอง คำถามเกี่ยวกับระดับแอนติบอดี้ว่าจะสัมพันธ์กับระดับประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยจากโรคโควิด-19 หรือไม่ มีงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจ โดย Feng S และคณะ จากมหาวิทยาอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Nature Medicine ฉบับวันที่ 29 กันยายน 2564  ศึกษาในคนที่ฉีดวัคซีน ChAdOx1 (หรือ Astrazeneca vaccine นั่นเอง) ในช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์ Alpha (ที่ระบาดมากในสหราชอาณาจักรก่อน Delta)และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างระดับแอนติบอดี้กับระดับประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยจากโรคโควิด-19 

อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของงานวิจัยนี้คือ ทำในยุคสายพันธุ์อัลฟ่า ซึ่งความสัมพันธ์ของระดับแอนติบอดี้กับระดับประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอาจแตกต่างจากเดลต้าและอื่นๆ ในอนาคต นอกจากนี้ยังจำเพาะกับวัคซีน Astra ซึ่งอาจแตกต่างจากวัคซีนอื่นๆ ที่มีใช้อยู่ในโลกอีกมากมายหลายชนิด รวมถึงเรื่องการที่จะป้องกันโรคนั้น ในร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันหลักคือ ภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดหรือแอนติบอดี้ กับภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ ซึ่งการวิจัยนี้วัดเฉพาะเรื่องแรกและอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อระดับภูมิคุ้มกัน เช่น อายุ ฯลฯ ซึ่งงานวิจัยนี้มีคนสูงอายุในสัดส่วนที่น้อยมาก แต่อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นงานวิจัยที่มีความน่าสนใจมาก 

สำหรับประเทศไทย... ยังขอย้ำเตือนให้ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ การใส่หน้ากากสำคัญมาก ด้วยรักและห่วงใย 

อ้างอิง
Kristie MJ et al. Of bats and men: Immunomodulatory treatment options for COVID-19 guided by the immunopathology of SARS-CoV-2 infection. Science Immunology. 17 Sep 2021.
Feng S et al. Correlates of protection against symptomatic and asymptomatic SARS-CoV-2 infection. Nature Medicine. 29 Sep 2021.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"