5 ต.ค.64 - ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ , นางชุมาพร แต่งเกลี้ยง ตัวแทนกลุ่มเฟมินิสด์ปลดแอก และนายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ แนวร่วมม็อบคณะราษฎร เป็นโจทก์ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี , พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) , สำนักนายกรัฐมนตรี , กองบัญชาการกองทัพไทย , กระทรวงการคลัง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นจำเลยที่ 1-6 เรื่องละเมิด ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศข้อกำหนดในมาตรา 9 ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548 เรียกค่าเสียหายจำนวนทุนทรัพย์ 4,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 นับแต่วันฟ้อง รวมทั้งยังได้ยื่นคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วย
คำฟ้องสรุปได้ว่า โจทก์ทั้งสามถูกดำเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ จากการร่วมปราศรัยในการชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ซึ่งข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ที่ต้องได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศดังกล่าว ให้จำเลยที่ 3-6 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตามฟ้องและให้ สตช. จำเลยที่ 6 ลบล้างประวัติอาชญากรแก่โจทก์ทั้งสามด้วย
ศาลแพ่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีหมายเลขดำ พ.4639/2564 โดยนัด พิจารณาครั้งแรกวันที่ 31 มกราคม 2565 เวลา 09.00 น.
นายยิ่งชีพ กล่าวว่า ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 รัฐสามารถจำกัดสิทธิบางอย่างได้ แต่ไม่ใช่การสั่งห้ามชุมนุม และการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯก็เพื่อควบคุมโรคระบาด ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน แม้จะไม่ใช่สถานที่แออัด ไม่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ทุกครั้งที่จัดการชุมนุมทั้งคนจัดและผู้ปราศรัยการชุมนุมจะถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯตามมาตลอดขณะนี้มากกว่า 483 คดี มีผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีมากกว่า 1,171 คน เราเห็นว่าข้อจำกัดที่ห้ามชุมนุมตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นั้นกว้างขวางและจำกัดสิทธิเสรีภาพจนเกินไป จึงมาฟ้องศาล ขอให้เพิกถอนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หมายความว่า ให้ศาลมีคำสั่งว่า ข้อกำหนดและคำสั่งไม่เคยมีมาตั้งแต่แรกและให้มีผลย้อนหลัง ก็จะทำให้คดีความต่าง ๆ ของผู้ชุมนุมให้มีอันถูกยกเลิกไปด้วย ถ้าการชุมนุมผิดกฎหมายอย่างไรก็ให้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายได้ ทั้งประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะฯ ที่ควบคุมดูแลการชุมนุมได้อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาการชุมนุมของม็อบคณะราษฎร มีการใช้ความรุนแรงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีความคิดเห็นอย่างไร นายยิ่งชีพ กล่าวว่า คนละประเด็นกัน แต่ก็มีการชุมนุมที่ไม่สงบเกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็มีความผิดและสามารถใช้ประมวลกฎหมายอาญาควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมโรคมาดูแลการชุมนุมที่ไม่สงบ
ด้านนายสัญญา เอียดจงดี ทนายความ กล่าวว่า นอกจากนี้แล้ว เราจะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินให้ระงับการบังคับใช้ประกาศและข้อกำหนดทั้ง 2 ฉบับนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา หากมีการชุมนุม ก็จะถือว่าฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |