ปรับตัวรับท่องเที่ยวมิติใหม่


เพิ่มเพื่อน    

วิกฤตโควิดที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ส่งผลกระทบไปทั่ว ทั้งภาคธุรกิจ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยี บริการดิจิทัลใหม่ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สะดวก ปลอดภัยด้านสุขอนามัย และผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไปสู่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ next normal หรือยุค “การเปลี่ยนแปลง” เพราะพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปที่จะเริ่มขยายตัวในวงกว้าง ดังนั้นทุกภาคส่วนทั้งภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ การดำเนินชีวิต ต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
    โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้ประเมินกันว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยจะฟื้นคืนกลับมาเป็นปกติได้เหมือนทุกครั้งที่เคยเกิดวิกฤตต่างๆ เพราะประเทศไทยมีเอกลักษณ์ที่เป็นแมกเน็ตสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมาย อาทิ วัฒนธรรมประเพณี ความงดงามของธรรมชาติ อาหารการกิน ค่าใช้จ่ายต่อการท่องเที่ยว เป็นต้น แต่สิ่งที่ตามหลังเมื่อวิกฤตโควิดคลี่คลายคือ พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป ดังนั้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องเร่งปรับตัวให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
    และจากผลการวิจัยของ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือซีเอ็มเอ็มยู พบว่า ปี 2565 ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวครั้งใหญ่ที่ต้องปรับตัวให้ทันยุค การเปลี่ยนแปลง หรือ Next normal โดยนักเดินทางที่พร้อมออกเดินทางหลังได้รับวัคซีนทันที คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ 45% และกลุ่มครอบครัว 61% ต้องการออกไปสัมผัสธรรมชาติเนื่องจากอยู่ที่บ้านมาเป็นระยะเวลานาน และการท่องเที่ยวในประเทศจะเป็นตัวเลือกที่นักเดินทางต้องการมากที่สุด     นอกจากนี้ยังพบว่าการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจะได้ความนิยมสูงสุด โดย 3 จังหวัดแรกในกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี และในกลุ่มครอบครัวได้แก่ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ตามลำดับ  
    อย่างไรก็ตาม บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังพบว่า ในการเดินทางท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ธุรกิจที่มงลงได้รับอานิสงส์ระหว่างทริปที่นักเดินทางโหยหาที่สุด คือ ธุรกิจกลุ่มร้านอาหารและคาเฟ่ ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่มักมีพฤติกรรมตระเวนหาอาหาร โดยจะเลือกร้านที่ไม่แออัด มีพื้นที่นั่งด้านนอก เหมาะแก่การเลี่ยงการนั่งทานอาหารที่ทุกคนต้องถอดหน้ากาก หรือเน้นแบบธรรมชาติ ชมวิวทิวทัศน์
    ขณะที่กลุ่มครอบครัวให้ความสำคัญกับการพักผ่อนในที่พักมากกว่า โดยเปลี่ยนเป็นทานอาหารในโรงแรมเป็นหลัก เพราะเชื่อมั่นในการรักษาความสะอาดของภาชนะในโรงแรม และจะเลือกทำกิจกรรมในโรงแรมมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทาง ซึ่งมาตรการรักษาความสะอาด บรรยากาศของสถานที่และบริการของพนักงาน จะเป็นสิ่งสำคัญที่นักเดินทางพิจารณามากขึ้นและพร้อมบอกต่อเมื่อรู้สึกประทับใจ อีกหนึ่งการค้นพบที่น่าสนใจคือ ธุรกิจประกันเดินทางเสริมเรื่องโควิด-19 อาจจะเป็นบริการที่มาแรง เพราะกลุ่มคนรุ่นใหม่สนใจซื้อประกันมากถึง 59.4% ขณะที่กลุ่มครอบครัวสนใจซื้อประกันพุ่งสูงถึง 71.7%  
    แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของการท่องเที่ยวมิติใหม่ หรือ นีโอทัวริสซึม (NEO TOURISM) ที่บรรดาผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงสูงสุดคือ ผู้บริโภคจะเน้นการท่องเที่ยวเชิงที่สอดคล้องกับธรรมชาติ, ผู้บริโภคจะพิจารณาความสะอาดเป็นสำคัญ และเงื่อนไขการให้บริการต้องมีความยืดหยุ่น
    นอกจากนี้ ธุรกิจการท่องเที่ยวนับจากนี้ควรเสริมทำ D2H หรือ Direct To Hotel (การติดต่อโรงแรมโดยตรง) เพิ่มมากขึ้น ให้สอดรับกับพฤติกรรมนักเดินทางที่เปลี่ยนไป โดยเลือกติดต่อการจองที่พักหรือสอบถามข้อมูลกับโรงแรมโดยตรงเพิ่มขึ้น อาทิ ข้อมูลมาตรการด้านสุขอนามัย การปรับเปลี่ยนวันเวลา และเงื่อนไขการจองต่างๆ ทดแทนการจองผ่านแอปพลิเคชันเอเยนต์ออนไลน์ที่อาจไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับนักเดินทางได้
    ดังนั้น กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวควรชูจุดขายด้านการสื่อสารกับนักเดินทางโดยตรงกับลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น LINE OA, Facebook, Instagram เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกรับพฤติกรรมดังกล่าวแบบไร้รอยต่อ.

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"